@article{วรปัญโญ (สุขแดง)_ยุภาศ_2021, title={การประยุกต์ใช้ธรรมะกับการเมืองเพื่อความสุขของประชาชนบนวิถีแห่งธรรมาธิปไตย}, volume={12}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/245086}, abstractNote={<p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมะกับการเมืองเพื่อความสุขของประชาชนบนวิถีแห่งธรรมาธิปไตย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาชีวิตด้วยธรรมะเพื่อความสุขของประชาชนบนวิถีแห่งธรรมาธิปไตย ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 2.1) การพัฒนาร่างกาย 2.2) การพัฒนาศีลธรรม                  2.3) การพัฒนาจิตใจ และ 2.4) การพัฒนาปัญญา 3) ประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมะเพื่อความสุขของประชาชนภายใต้ธรรมาธิปไตย ประกอบด้วยธรรมะ 10 ประการ ได้แก่ 1. ทานัง (การให้ทานหรือแบ่งปัน) 2. สีลัง (การรักษาศีล) 3. ปะริจาคัง (การบริจาคหรือเสียสละ) 4. อาชชะวัง (ความซื่อตรง) 5. มัททะวัง (ความอ่อนโยน) 6. ตะปัง (ความเพียรเผาผลาญกิเลส) 7. อักโกธัง (ความไม่โกรธ) 8. อะวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)                9. ขันติ (ความอดทน) และ 10. อะวิโรธะนัง (ความไม่มีอะไรพิรุธ) นอกจากนี้ ยังรวมถึงหน้าที่ตามกฎหมาย กติกาสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เข้ามาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินชีวิต และปฏิบัติหน้าที่โดยธรรม ของนักการเมืองที่ต้องใช้อำนาจและดุลยพินิจเพื่อบริหารรัฐกิจและจัดระเบียบสังคม ให้ถูกต้องตามกฎหมายและกฎเกณฑ์แห่งศีลธรรม เพื่อให้บรรลุประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม สามารถควบคุมตนเองได้ และการมีความเผื่อแผ่ด้วยจิตเมตตา ประชาชนทุกหน่วยของสังคม อยู่ดี กินดี มีความสุข สงบ สันติ ปรองดอง เกิดความเชื่อมั่นศรัทธา ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้</p>}, number={1}, journal={วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา}, author={วรปัญโญ (สุขแดง) พระมหาอำคา and ยุภาศ ยุภาพร}, year={2021}, month={เม.ย.} }