@article{วสิษฐ์พลพงศ์_2019, title={ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ ในการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่}, volume={7}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/209324}, abstractNote={<p class="p1">บทความนี้ เป็นบทความจากงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดและหลักการสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องตรงกับหลักสิกขา 3 ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ และหลักภาวนา 4 หมายถึง การพัฒนา ซึ่งหลักการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 3 และหลักภาวนา 4 นั้น เป็นกระบวนการเดียวกัน สามารถสังเคราะห์เข้าด้วยกันได้ เป็นกายภาวนา และสีลภาวนา จัดเข้าในอธิสีลสิกขา ส่วนจิตภาวนาจัดเข้าในอธิจิตสิกขา และปัญญาภาวนา จัดเข้าในอธิปัญญาสิกขา</p> <p class="p1"> จากผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ มีกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการ<span class="Apple-converted-space">  </span>3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักอิทธิบาท 4 รูปแบบที่ 2 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักวุฑฒิธรรม 4 และรูปแบบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักอริยสัจจ์ 4 กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ เมื่อศึกษาสังเคราะห์และประยุกต์เข้ากับการพัฒนาผู้เรียน ทำให้ได้กระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ปลุกใจใฝ่รู้ ขั้นที่ 2 เพียรรู้บากบั่น ขั้นที่ 3 ตั้งมั่นใส่ใจ ขั้นที่ 4 ใช้ดุลยพินิจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขั้นที่ 5 เน้นลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 6 วัดผลประเมินงาน</p> <p class="p1">ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการที่ใช้กับนักเรียนกลุ่มทดลอง พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และจากผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของกลุ่มทดลองหลังเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากผลการจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียนในชื่อว่า ìโครงการหอมคุณธรรม วิถีพุทธ วิถีพอเพียง วิถีเวียงสวนดอกî ได้นำไปสู่การจัดส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงงานคุณธรรม ป.4 - ป.6 ของกระทรวงศึกษาธิการ</p> <p class="p1">จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มทดลอง พบว่า นักเรียนมีคะแนนสอบครั้งสุดท้ายสูงกว่าครั้งแรก หลังการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม</p>}, number={2}, journal={วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา}, author={วสิษฐ์พลพงศ์ ฐิติรัตน์}, year={2019}, month={ส.ค.} }