@article{วชิรญาโณ_2018, title={คุณค่าการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง}, volume={9}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/150160}, abstractNote={<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืนในเมืองเชียงตุง 2. เพื่อศึกษาสำนวนและทำนองการเทศน์ธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง  3. เพื่อศึกษาคุณค่าของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง ผลการศึกษาพบว่า การตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะไม่ปรากกฏหลักฐานที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแต่สันนิษฐานได้ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยพญาผายูได้บัญชาให้เจ้าเจ็ดพันตูราชบุตรมาปกครองเมืองเชียงตุง พ.ศ. 188 และพบหลักฐานจดบันทึกของคัมภีร์ธัมม์เวสสันตรชาตกะถูกแต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2365 – 2365 โดยเจ้าฟ้ามหาขนาน เจ้าฟ้าผู้ปกครองเมืองเชียงตุง มีการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะอย่างยิ่งใหญ่และถวายคัมภีร์ธัมม์มหาชาติ 110 ชุด ในด้านสำนวนและทำนอง แบ่งเป็น 2 สำนวน คือสำนวนร้อยแก้วและสำนวนร้อยกรอง สำนวนร้อยแก้วมีลักษณะเป็นความเรียงธรรมดา สำนวนร้อยกรองจะแต่งเป็นฉันทลักษณ์มีสัมผัสนอกและสัมผัสในอย่างสวยงาม ส่วนทำนองของการเทศน์มีอยู่ 2 วิธี คือการเทศน์แบบธรรมวัตร และทำนองการเทศน์ธัมม์มหาชาติ       </p> <p>ในด้านคุณค่าของการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ นักปราชญ์ผู้แต่งมหาชาติในเชียงตุงได้นำเอาหลักธรรมสอดแทรกในเนื้อธรรมมหาชาติมีการผสมผสานเชื่อมโยงกับสภาพวิถีชีวิต จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทขืนในเมืองเชียงตุงได้อย่างกลมกลืน จึงเกิดคุณค่ามากมายในการตั้งธัมม์เวสสันตรชาตกะ ของชาวไทขืน ในเมืองเชียงตุง</p> <p>               </p>}, number={2}, journal={วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา}, author={วชิรญาโณ พระมหาวชิระ}, year={2018}, month={ธ.ค.} }