วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU <p><strong><u>Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)</u></strong></p> <p><em>วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ ที่จะรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในสาขา บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย</em></p> <p><strong><u>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</u></strong></p> <p><em>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญจำนวน </em><em><strong><u>3 ท่าน</u></strong></em><em> แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (</em><em>Double-Blind Review)</em></p> <p><strong><u>Types of Articles (ประเภทของบทความ) </u></strong></p> <ul> <li><em>บทความวิจัย (</em><em>Research Article) </em></li> <li><em>บทความวิชาการ (</em><em>Academic Article)</em></li> </ul> <p><strong><u>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</u></strong></p> <ul> <li><em>ภาษาไทย</em></li> <li><em>ภาษาอังกฤษ</em></li> </ul> <p><strong><u>Publication Frequency (กำหนดออก)</u></strong></p> <ul> <li><em>ฉบับที่ </em><em>1 มกราคม – มิถุนายน</em></li> <li><em>ฉบับที่ </em><em>2 กรกฎาคม – ธันวาคม</em></li> </ul> <p><strong><u>Publisher (เจ้าของวารสาร)</u></strong></p> <ul> <li><em>คณะบัญชี</em><em>มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย</em></li> </ul> th-TH <p>ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร</p> management.jar@gmail.com (Faculty of Accounting, Chiang Rai Rajabhat University) management.jar@gmail.com (Faculty of Accounting, Chiang Rai Rajabhat University) Wed, 04 Sep 2024 09:05:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/270504 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การท่องเที่ยวชุมชนในการพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวในตำบลกะบกเตี้ย ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในอ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง และกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนกะบกเตี้ย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในการพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท การมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.37, S.D. = 0.61) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ( x ̅= 4.31, S.D. = 0.68) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( x ̅= 4.26, S.D.= 0.63) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( x ̅= 4.26, S.D.= 0.72) ตามลำดับ และ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน พบว่า ชุมชนกะบกเตี้ยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมกันพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวทะเลชัยนาท พัฒนาขึ้นมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในส่วนของการปฏิบัติการ ชาวบ้านชุมชนกะบกเตี้ย ร่วมกันเข้าไปเปิดกิจการค้าขายอาหาร และบริการเครื่องเล่นให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินเข้ามาท่องเที่ยว ในส่วนของผลประโยชน์นั้น ผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลประโยชน์เป็นกำไรจากการค้าขายสินค้าและบริการ เครื่องเล่นให้กับนักท่องเที่ยว และในส่วนของการประเมินผลทาง อบต. กะบกเตี้ยได้ทำการจัดการประชุม ติดตามผลประจำทุกปี</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตาภา บำรุงศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสมัย จตุรัส, นริศรา พลาหก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/270504 Fri, 06 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบริษัทกับการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/271920 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างบริษัทจำนวน 27 แห่ง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมจากรายงานประจำปีและข้อมูลทางการเงินของบริษัทในช่วงเวลาที่กำหนด สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด รวมถึงการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและ ตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า ขนาดของบริษัท มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 437,565.87 ล้านบาท โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 681,011.56 ล้านบาท อัตราการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 69.45% โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.71% อัตราส่วนของกรรมการอิสระ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 45.75% โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.53% นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีค่าอยู่ระหว่าง -0.688 ถึง 0.793 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01</p> <p> จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า คุณลักษณะของบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่มาก จะมีความสัมพันธ์กับการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเปิดเผยข้อมูลและทฤษฎีตัวแทน ที่ระบุว่าการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและลดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร</p> วรรณภา ธรรมรักษา, เนตรนภา รักษายศ, สารภี ชนะทัพ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/271920 Thu, 19 Sep 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยาของประชาชนเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269205 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความต้องการข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยาของประชาชนเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากร ที่อาศัยอยู่ในเมืองพัทยาและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ Chi-Square F-Test/One-Way ANOVA และ Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเขตเมืองพัทยา เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,000 - 20,000 บาท อาศัยอยู่ในเมืองพัทยา 5 ปีขึ้นไป มีความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับเมืองพัทยาประเภทสื่อออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook ต้องการเนื้อหาด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเกี่ยวกับกิจกรรม ตามประเพณี ในส่วนการรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยา ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับและความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับเมืองพัทยา แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเมืองพัทยา โดยรวม ไม่แตกต่างกัน</p> พวัสส์ หิรัญเลิศธีรธร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง, รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ธนวุฒิ นัยโกวิท Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269205 Wed, 04 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/272838 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเก็บข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ SETSMART ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2563 ถึงปี พ.ศ.2565 ตลอดทั้ง 3 ปี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 475 บริษัท รวม 1,473 ข้อมูลสถิติ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ ขนาดของบริษัท ความสามารถในการทำกำไร ผลประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ใช่หนี้สินและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา ตันมณี, นัฐกานต์ ทิพยโสตถิ, มัชฌิมา มะบุตร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/272838 Fri, 08 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบริหารประสบการณ์ลูกค้า ความคาดหวัง และความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด: กรณีศึกษาบริษัทพีค ฟาซิลิตี้ส์ แมเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269214 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารประสบการณ์ลูกค้า ความคาดหวัง และความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ โดยศึกษากับลูกค้าที่ใช้บริการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดของบริษัทพีค ฟาซิลิตี้ส์ แมเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ อยู่ในพื้น 2 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ และชลบุรี จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบขั้นตอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นต่อการบริหารประสบการณ์ลูกค้า อยู่ในระดับเห็นด้วย ส่วนความคาดหวังต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด และมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า 1) สถานที่ตั้งในการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารประสบการณ์ลูกค้าของนิติบุคคลอาคารชุด แตกต่างกัน 2) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพการพักอาศัยที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด แตกต่างกัน 3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจต่อการบริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด ได้แก่ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นและความชื่อสัตย์ ความเข้าใจลูกค้ารายบุคคล และหลักฐานทางกายภาพ</p> ดวงรัตน์ วงโสภา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269214 Wed, 04 Sep 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มเช่าพระเครื่องผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/274693 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเช่าพระเครื่องของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบเว็บไซต์ของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล 3) ระดับการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มเช่าพระเครื่องผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล และ 4) ปัจจัยองค์ประกอบเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แพลตฟอร์ม เช่าพระเครื่องผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือสมาชิกของนิติบุคคลที่มีการให้บริการเช่าพระเครื่องออนไลน์จำนวน 4 บริษัท ได้แก่ (1) บริษัท ยูอมูเลทดอทคอม จำกัด (2) บริษัท การันตีพระ จำกัด (3) บริษัท พระเครื่องรางสยาม จำกัด และ (4) บริษัทท่าพระจันทร์ ดอทคอม จำกัด กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถามให้กับสมาชิกทางเว็บไซต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน One Way Anova และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่สนใจเช่าพระสมเด็จเพื่อเก็งกำไร เกจิอาจารย์มีผลต่อการตัดสินใจ ช่วงเวลาในการเช่าหรือประมูลพระคือ ช่วงเย็น ระหว่าง 16.01-18.00 น. ผ่านเว็บไซต์ยูอมูเลท และเลือกเช่าพระเครื่องที่มีการรับประกัน 2) ปัจจัยองค์ประกอบเว็บไซต์ (7C’s) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวแปรที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านส่วนประกอบเนื้อหา รองลงมา คือ ด้านการเชื่อมโยง 3) การตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวแปรที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านการตระหนักปัญหารองลงมา คือ ด้านการประเมินทางเลือก และ 4) ด้านปัจจัยองค์ประกอบเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แพลตฟอร์มพบว่า ด้านส่วนประกอบการปฏิบัติ ด้านการเชื่อมโยงด้านติดต่อค้าขายมีความสัมพันธ์เชิงบวกส่วนด้านการติดต่อค้าขายมีตวามสัมพันธ์เชิงลบต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มเช่าพระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล</p> วศินี บุญเอิบ, อาจารย์ ดร.สารภี ชนะทัพ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/274693 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ภาพลักษณ์ แรงจูงใจ และกระบวนการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269216 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงเรียนสอนดนตรีที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรดนตรีกับโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติ สถิติ F-test/One-Way ANOVA และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 45,000 บาทขึ้นไป มีการรับรู้ภาพลักษณ์ โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในระดับมาก มีแรงจูงใจและมีกระบวนการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนสอนดนตรี โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ได้แก่ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวิชาที่เรียน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวิชาที่เรียน มีแรงจูงใจ แตกต่างกัน</p> อรอนงค์ อ่อนยั่งยืน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269216 Wed, 04 Sep 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของโครงสร้างความเป็นเจ้าของส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/275009 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างความเป็นเจ้าของต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและผลการดำเนินงานของกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมบริการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีพ.ศ. 2566 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานและการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างความเป็นเจ้าของแบบสถาบัน (IO) แบบการบริหาร (MO) และแบบชาวต่างชาติ (For O) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ที่ดีขึ้น ในขณะที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของกิจการโดยภาพรวม มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ซึ่งอาจมาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) แต่ส่งผลเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และผลการศึกษายังพบว่า โครงสร้างความเป็นเจ้าของกิจการโดยรวมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของกิจการโดยผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) โดยเฉพาะโครงสร้างความเป็นเจ้าของแบบครอบครัว (FO) แบบสถาบัน (IO) ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) จะเห็นว่าโครงสร้างการความเป็นเจ้าของถือหุ้นจากทั้งภายในและจากต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของกิจการโดยผ่านการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) ซึ่งบ่งชี้ว่าการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืน (ESG) อาจต้องใช้เวลาในการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว</p> เจนจิรา สดใส, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อเนก พุทธิเดช Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/275009 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการใช้ และทัศนคติ ที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269234 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้ และ ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากรเพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เคยใช้แอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 คน อยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มเฟสบุค โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ Chi-Square F-test/One-Way ANOVA และ สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง รองลงมาคือ เพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี รายต่อเดือนได้ 20,001-30,000 บาท เลือกใช้บริการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และมีการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อด้านความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้มีการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ แตกต่างกัน และทัศนคติต่อการใช้แอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ</p> วลัยลัคน์ ห่านทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง, ศิริพงศ์ เตียวพิพิธพร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/269234 Wed, 04 Sep 2024 00:00:00 +0700 เศรษฐศาสตร์แห่งสุขภาพและความงาม: การดูแลสุขภาพและการนวดสปาในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/271081 <p> การดูแลสุขภาพและความงามด้วยการนวดสปา เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย และในทางเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพด้วยการนวดสปา ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากอาการเจ็บปวดเมื่อยล้าจากการทำงาน และช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น เลือดไหลเวียนดี งดงามจากภายในสู่ภายนอก บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนวรรณกรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์แห่งสุขภาพและความงาม: การดูแลสุขภาพและการนวดสปาในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ผลจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นมีปัญหาทางสุขภาพ ผ่อนคลายภาวะความเครียดทางร่างกายและจิตใจ</p> <p> อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อสร้างกลยุทธ์การควบคุมต้นทุน โดยเน้นด้านโปรโมชั่น และความคุ้มค่าของการบริการกับเงินที่จ่าย เพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภค และควบคุมต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการประกอบการธุรกิจการนวดสปา นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ เชิงพฤติกรรมมีความยืดหยุ่นสูง ยังผลให้สามารถสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมบริการด้านการดูแลสุขภาพและความงาม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี รวมถึงการมีผิวพรรณที่ดีจากการนวดสปาด้วยตนเองหรือบริการจากสถานประกอบการต่างๆ ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บป่วย เพราะได้ดูแลสุขภาพและความงามของร่างกายและจิตใจตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริงทั้งภายในและภายนอก</p> อาจารย์ ดร.ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/271081 Thu, 19 Sep 2024 00:00:00 +0700