@article{วรรณโล_2016, title={วิธีการจัดทำบัญชี ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา}, volume={1}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/244203}, abstractNote={<p>วิธีการจัดทำบัญชี ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม กรณีศึกษากลุ่มผู้ ผลิตปลาส้ม ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัด ทำบัญชี ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม โดยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลาส้มในเขตตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยการแบ่งประชากรออกเป็น 2 ขนาด ตามวัตถุดิบที่ใช้ พบว่า ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม ขนาดที่ 1 มีค่าใช้จ่ายลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 53,300.00 บาท และค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน เท่ากับ 1,102,199.44 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 26,880.00 บาท มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 5,428.21 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตปลาส้มตลอด ระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนหรือรายได้ทั้งหมดเท่ากับ 1,275,680.00 บาท พบว่า จุดคุ้ม ทุนของการจำหน่ายปลาส้ม คือถุงใหญ่ ขนาด 1 กิโลกรัมเท่ากับ 441 ถุง ขนาดที่ 2 มีค่าใช้จ่ายลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 256,000.00 บาท และค่าใช้จ่ายใน การดำเนินงาน เท่ากับ 32,979,878.61 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 311,400.00 บาท มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 40,147.50 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนผลิต ปลาส้มตลอด ระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนหรือรายได้ทั้งหมดเท่ากับ 50,196,160.00 บาท พบว่า จุดคุ้มทุนของการจำหน่ายปลาส้ม คือจำหน่ายถุงเล็กขนาด 200 กรัมเท่ากับ 1,165 ถุง ถุงใหญ่ขนาด 500 กรัมเท่ากับ 1,770 ถุง แบบแผ่นขนาด 500 กรัม เท่ากับ 933 ถุง วิธีการจัดทำบัญชีของกลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม กลุ่มที่มีทั้งกิจการที่จัดทำบัญชีและกิจการที่ไม่ได้จัดทำบัญชี เรื่องเอกสารประกอบ การลงบัญชีทุกรายไม่มีเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชี ส่วนความต้องการทางด้าน บัญชีที่กลุ่มหวังให้ผู้วิจัยดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแบบฟอร์มง่าย ๆ เพื่อให้กลุ่มหาต้นทุน การผลิตปลาส้มแต่ละครั้ง และสามารถรู้กำไรที่แท้จริงของกิจการได้</p>}, number={2}, journal={วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย}, author={วรรณโล วรลักษณ์}, year={2016}, month={ธ.ค.}, pages={81–104} }