@article{อุตสาหะ_กาซ่อน_อาการักษ์_ยืนยง_2016, title={กระบวนการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านสันโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย}, volume={1}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/244194}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการโปรแกรมสำเร็จรูป ทางการบัญชีของกลุ่มกองทุนหมู่บ้านและเพื่อสร้างกระบวนการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี โดยอาศัยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม การรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย การประชุมกลุ่ม (Focus Group) การให้ความรู้รายบุคคลและแบบกลุ่ม ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ของกองทุน หมู่บ้าน ตำบลสันโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์ในหัวข้อนี้เป็นการตรวจสอบ ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติพื้นฐาน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในตอนที่ 2 เป็นข้อมูล เกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวน การจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร และตอนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการฝึกปฏิบัติอบรม เป็นการหาค่า ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ทำการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 56 - 65 ปี การศึกษาอยู่ใน ระดับปริญญาตรี มีอาชีพหลักข้าราชการบำนาญ ส่วนกระบวนการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัญหาของการบันทึกบัญชีของกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มี ปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง บันทึกช้า ทำบัญชีไม่ทัน สมาชิกบางรายต้องการทราบ ข้อมูล ไม่สามารถรายงานได้ทันทีตามความต้องการของสมาชิก ไม่สามารถทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ได้ มีปัญหาในเรื่องการติดตามหนี้ การเก็บเงิน ออกใบเสร็จให้กับสมาชิก ปัจจุบันยังคงใช้แบบฟอร์มของธนาคารออมสิน กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ จึงมีความต้องการให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการบันทึกบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติงานเพื่อให้ก่อประโยชน์และประสิทธิภาพและนำความรู้ไปใช้ในการบันทึกบัญชีได้ 2. การสร้างกระบวนการจัดการฝึกอบรม ให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจการบันทึก บัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ได้ทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การเตรียมกระบวนการ ฝึกอบรม ดำเนินการฝึกอบรมและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุง กระบวนการอบรมโดยได้ผลประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละด้านดังนี้ 1) ด้านวิทยากร รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น รองลงมา ได้แก่ การตอบคำถามของวิทยากร 2) ด้านสถานที่ ระยะเวลา อาหาร รายการที่มีค่า เฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ อาหาร มีความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม 3) ด้านการนำความรู้ไปใช้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ ใช้ในการปฏิบัติงานได้ รองลงมา ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้หลังการอบรม 4) ด้าน โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีกองทุนหมู่บ้าน รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โปรแกรมฯ ใช้ภาษาถูกต้อง ชัดเจน และเข้าใจง่าย รองลงมา ได้แก่ โปรแกรมฯมีลำดับขั้นตอนในการทำ ให้สามารถเข้าใจได้ด้วยตนเองได้ จากการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้พัฒนากระบวนการอบรมโดย ดำเนินการดังนี้ 1. การสร้างความคุ้นเคยเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้วิจัยกับคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ 2. การให้ข้อมูลเพื่อให้มีความรู้ที่ถูกต้องนั้นควรดำเนินการโดยอาจารย์ที่มีความ เชี่ยวชาญ รวมทั้งการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) 3. การสร้างความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี</p>}, number={1}, journal={วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย}, author={อุตสาหะ เอกชัย and กาซ่อน กัสมา and อาการักษ์ ปานฉัตร and ยืนยง วัฒนา}, year={2016}, month={มิ.ย.}, pages={72–81} }