https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JADeR/issue/feed วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย 2021-01-17T08:09:03+07:00 Thanasit Chantaree [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการทางการออกแบบเชิงประยุกต์ศิลป์&nbsp; แหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านการออกแบบเชิงประยุกต์ศิลป์&nbsp; เป็นสื่อกลางสาหรับนักวิชาการอาจารย์&nbsp; นิสิต&nbsp; นักศึกษา และบุคคลทั่วไปได้นำผลงานทางวิชาการมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาในศาสตร์ทางการออกแบบเชิงประยุกต์ศิลป์</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JADeR/article/view/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99 การศึกษาเทคนิคการนำไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมประดับตกแต่งภายใน 2020-06-30T06:18:37+07:00 เนตรนภา หวานเหนือ [email protected] ชนัษฎา จุลลัษเฐียร [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัสดุและคุณสมบัติทางกายภาพเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาทดลองกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากเส้นด้ายจากไจคล้า และเพื่อประเมินความพึงพอใจพรมทอมือประดับตกแต่งจากเส้นด้ายจากไจคล้า โดยผู้วิจัยได้ทำการทดลองแยกเส้นใยจากคล้า นำเส้นใยที่ได้มาสางแล้วปั่นเป็นเส้นด้ายคล้าและทอเป็นผืนพรม</p> <p>จากผลการศึกษาพบว่า ส่วนของไจคล้าที่ทดลองแยกเส้นใยโดยการต้มและแช่ในสารละลายที่มีความแตกต่างกันนั้น มีผลทำให้สีของเส้นใยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ความนุ่มของผิวสัมผัสขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการต้ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้ไม่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนผสมของสารเคมีในการแยกเส้นใยที่สามารถสางเส้นใยได้ง่ายที่สุดคือ การต้มด้วยโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ด้วยอัตราส่วน 30 g และ เกล็ดสบู่(soap)&nbsp; ต่อ น้ำ 1,500 ml เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้คล้าจำนวน 100 g จะได้เส้นใยมีสีครีมอ่อน ผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้เท่ากับ 30 g และเมื่อนำเส้นใยที่ได้จากกระบวนการสางเส้นใยจนฟูนุ่มแล้ว นำเส้นใยคล้ามาผสมกับเส้นใยฝ้ายได้ในอัตราส่วน 50 : 50 ผ่านกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้าย ด้วยการเข็นเส้นด้ายแบบโบราณ เส้นด้ายคล้าที่ได้ มีจะมีเส้นใหญ่และหนา มีผิวสัมผัส ที่ไม่เรียบเนียน มีสีน้ำตาลอ่อนสวยงาม มีความเหนียวพอสมควร สามารถนำมาใช้ในงานออกแบบพรมประดับตกแต่งได้ และสามารถทอเป็นผืนพรมได้ จากการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ชื้อที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 6 ด้านนั้น&nbsp; ผลการนำเส้นด้ายจากไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมทอมือประดับตกแต่งด้านความสวยงาม (Aesthetic) ด้านประโยชน์ใช้สอย (Function) ด้านรูปแบบและโครงสร้าง (Structure) ด้านวัสดุ (Material) และด้านการดูแลรักษา (Care) ระดับความพึงพอใจมาก จากคุณสมบัติทางด้านกายภาพดังกล่าว เส้นด้ายคล้าจึงถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอีกแนวทางหนึ่งเลือกด้านวัสดุสิ่งทอที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไปได้</p> 2020-04-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JADeR/article/view/240691 การพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า : กรณีศึกษาบานาน่ามอส จังหวัดมหาสารคาม 2020-07-14T14:10:25+07:00 สุวัฒน์ แถลงศรี [email protected] สุรกานต์ รวยสูงเนิน [email protected] <p>บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษาบานาน่ามอส โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาตราสินค้าเดิมให้ดีขึ้น มีการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของตราสินค้าในด้านผลิตภัณฑ์และด้านการออกแบบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าตราสินค้าบานาน่ามอส มีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลาย โดยมีจุดเด่นคือกล้วยตากเสียบตอก โดยได้รับการสนับสนุนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ไม่สามารถสร้างการจดจำในกลุ่มผู้บริโภคได้ ด้านบรรจุภัณฑ์ต้องการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจในรูปแบบของฝาก กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นการนำเรขศิลป์และบรรจุภัณฑ์กล้วยตากเสียบตอกมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้กับบรรจุภัณฑ์สินค้าอื่น ๆ รวมถึงนำไปใช้กับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายเพื่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของตราสินค้า โดยการออกแบบเลือกใช้สีที่สื่อถึงกล้วยและความเป็นธรรมชาติ ได้แก่ สีเหลือง เขียว และน้ำตาล รวมถึงเรขศิลป์รูปกล้วยและใบตอง</p> 2020-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JADeR/article/view/240735 การออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2020-10-19T00:49:05+07:00 Kulanit Sangkatak [email protected] สุรกานต์ รวยสูงเนิน [email protected] <p>บทความนี้เกิดจากการศึกษางานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาผู้ป่วยการใช้งานเตียงที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่วิจัย 3) เพื่อการประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานเตียงของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเตียงในพื้นที่วิจัย มีวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่น เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คะแนน&nbsp; ADL อยู่ระหว่าง 5-13 คะแนน ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบได้มากในพื้นที่ โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลใน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยจำนวน 15 ราย นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในข้อกำหนดในการออกแบบ โดยใช้เครื่องมือในที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์, แบบสังเกตและแบบสำรวจ &nbsp;ใช้วัสดุในท้องถิ่นมาผลิต ไม้เนื้อแข็ง ผสานกับเทคนิคภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตเตียงให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ข้อสรุปในการออกแบบเตียงต้องเป็นเตียงที่สามารถปรับระดับได้สามารถขนย้ายได้สะดวกเหมาะกับการขนส่งและยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย</p> 2020-10-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JADeR/article/view/240745 การออกแบบที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรุนแรง 2021-01-17T08:09:03+07:00 สุรกานต์ รวยสูงเนิน, จตุรพิธ พิมพ์แสง [email protected] สุรกานต์ รวยสูงเนิน [email protected] <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีผู้สูงอายุมากขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพของผู้สูงอายุก็จะเริ่มทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ส่งผลให้เหนื่อยง่ายและเรี่ยวแรงของผู้สูงอายุก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ดูแลและบริหารร่างกาย อาจจะทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในสภาวะผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรุนแรง และอาจจะส่งผลร้ายในด้านอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะแผลกดทับ ที่อาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้คุณภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรุนแรงดีขึ้น นั่นก็คือ ที่นอนลม ที่มีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดทับได้ดี ระบายอากาศ อีกทั้งยังใช้ถุงน้ำยาล้างไตในการทำที่นอนซึ่งเป้นวัสดุหลัก ทำให้มีความยืดหยุ่นและนอนสบาย ส่งผลให้สุขภาพกายและใจดีควบคู่กันไปด้วย โดยได้มีการออกแบบรูปแบบของที่นอนลมให้เหมาะสมกับการนอนของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรุนแรงโดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่จุดสำคัญนั่นก็คือ หัว ท้ายทอย ไหล่ หลัง ก้น ต้นขา น่องขา แล้เท้า ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่สามารถเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยคำนึงถึงขนาดของที่นอนเป็นสำคัญ โดยออกแบบให้มีขนาดที่พอเหมาะกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรุนแรง นั่นก็คือ กว้าง 105 ซม. ยาว 200 ซม. และหนา 10 ซม. โดยการประเมินด้านคุณภาพการออกแบบเพื่อการใช้งานอยู่ในเกณฑ์ ดี</p> 2021-01-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย