วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC <p><em>วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร</em> ISSN 2985-248X (Online) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการโรงแรม จิตวิทยา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยตีพิมพ์ 4 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 [มกราคม-มีนาคม] ฉบับที่ 2 [เมษายน-มิถุนายน] ฉบับที่ 3 [กรกฎาคม-กันยายน] และฉบับที่ 4 [ตุลาคม-ธันวาคม] <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโ<em>ดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 - 3 คน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) </em></strong></p> th-TH <blockquote> <p><strong><em>** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร</em></strong><strong><em>เป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบ</em></strong><strong><em>ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **</em></strong></p> </blockquote> [email protected] (Sandusit Brorewongtrakhul) [email protected] (Ratchanok Patnimit) Mon, 25 Mar 2024 16:12:29 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 THE ANTECEDENCE OF TOURIST’S BEHAVIOR: A LITERATURE REVIEW https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/263235 <p>This academic article aims to present the antecedence variables of tourist behavior. Tourism is an important driver of the service industry; it has a lot of benefits for the economy of any country, including the net income of related stakeholders. Positive word-of-mouth and the revisit intention of tourist result in keeping existing tourist; and result in attracting new tourists. From the relevant literature reviews, we can conclude that travel motivation, novelty seeking and image of tourist attractions at the destination have effects on tourist behavior, resulting in behavior through the good experience and tourist satisfaction, as a result travel agencies, tourism businesses and communities surrounding tourist attractions must pay attention to create the willingness to return to explore new attractions and boost the image of the destination, which will lead to positive word-of-mouth and willingness to return.</p> Thanat Kornsuphkit, Sarana Photchanachan Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/263235 Wed, 27 Mar 2024 00:00:00 +0700 นโยบายสาธารณะ : ศึกษากรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล พ.ศ. 2554 - 2557 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267345 <p>การวิจัยรั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายรับจำนำข้าวที่เป็นนโยบายประชานิยมของนโยบายหนึ่งในหลายนโยบายประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยนำมารณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สาระสำคัญของนโยบายรับจำนำข้าวคือ การรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาตันละ 15,000 บาท และจากนโยบายนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งและนำมาปฏิบัติทันทีเมื่อเข้ามาบริหารประเทศ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากนโยบาย 3) เพื่อหาแนวการแก้ปัญหาของรัฐบาล การศึกษาเรื่องนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และศึกษาเอกสารเป็นหลักในการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากนโยบาย</p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>เมื่อรัฐบาลนำนโยบายรับจำนำข้าวไปปฏิบัติในรอบการผลิต พ.ศ. 2554/2555 และ 2555/2556 ได้ใช้เงินหมุนเวียนประมาณ 500,000 ล้านบาท แต่ในปีการผลิต 2556/2557 ไม่สามารถจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนาได้ เพราะเงินที่ใช้ในการหมุนเวียนรับจำนำข้าวไม่เพียงพอและรัฐบาลระบายข้าวได้น้อยมากทำให้มีจำนวนเงินค้างจ่ายให้ชาวนาประมาณ 130,000 ล้านบาท</li> <li>ผลกระทบจากนโยบาย จากการศึกษายังพบว่าโครงการนี้ได้มีปัญหาตามมาหลายประการที่ทำให้ชาวนาไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว ได้แก่ ปัญหาการทุจริตระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบาย ปัญหาแจ้งจำนวนข้าวเข้าโครงการเกินความจริง ปัญหาข้าวจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์ ปัญหาการหมุนเวียนข้าวจำนำในประเทศ ปัญหาการผลิตข้าวคุณภาพต่ำปัญหาการล่มสลายของตลาดการค้าข้าวเสรีในประเทศจากปัญหาดังกล่าวเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายจำนำข้าวอย่างเร่งด่วนต่อไป</li> <li>รัฐบาลได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพียงเฉพาะหน้าแต่ก็มีปัญหาตามมาอีกเป็นจำนวนมาก</li> </ol> ณัชพล นิลนพคุณ, วุทธิเมธว์ เกื้อกอบ, ฐิติพร ขีระจิตร Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267345 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมชุมชนบ้านตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/266705 <p><strong>&nbsp;</strong><strong>&nbsp;</strong>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;และปัญหาอุปสรรคการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์จากเอกสารลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีระดมความคิดเห็นกับผู้ให้ ข้อมูลสำคัญได้แก่ กลุ่มแกนนำ และคณะกรรมการชุมชนตะปอน กลุ่มสมาชิกเครือข่ายของชุมชนตะปอน พบว่า &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนท้องถิ่น ต้องเริ่มต้นจาก “การมีส่วนร่วม” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มทั้งคนในชุมชนและคนภายนอกชุมชนจากการใช้มรดกทางวัฒนธรรมเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวผ่านแกนนำสมาชิกจนเกิดเป็นเครือข่ายความสำเร็จร่วมกัน ใช้การเจรจา พูดคุยสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย เป็นการทำงานในลักษณะการบูรณาการในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสร้างความรัก ความสามัคคี การสืบสาน อนุรักษ์ของคนในชุมชนแห่งนี้ โดยสื่อความหมายจากเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชน โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 2 ประการ คือ การขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารที่มุ่งเฉพาะกลุ่มผู้นำชุมชนและนักขับเคลื่อนทางสังคม และการบริหารจัดการชุมชน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือ ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอเพื่อให้เกิดความยั่งยืน<strong>&nbsp;&nbsp; </strong></p> อภิวรรณ ศิรินันทนา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/266705 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/261566 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุ</p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong><strong> </strong></p> <p> ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายได้ร้อยละ 46.80 เมื่อทดสอบตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ผู้วิจัยอธิบายในรูปแบบของคะแนนดิบ พบว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้มากที่สุดคือ ปัจจัยการวัดผลและการประเมินผล (ค่า B = .378, Sig. = .000) รองลงมาคือ ปัจจัยโครงสร้างองค์กร (ค่า B = .217, Sig. = .000) ปัจจัยการสนับสนุนของผู้นำองค์กร (ค่า B = .177, Sig. = .000) ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ค่า B = .115, Sig. = .000) และปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร (ค่า B =.088, Sig. = .017) ในขณะที่ตัวแปรที่ไม่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (ค่า B = -.048, Sig. = .081)<strong> </strong></p> ยัซมี เจ๊ะเต๊ะ, ปรเมษฐ์ แสงอ่อน, วิไลลักษณ์ รักบำรุง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/261566 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์กับการสร้างอัตลักษณ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262492 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2) เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์กับการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 396 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 25,753 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิด สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมปสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong><strong> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> <ol> <li class="show">ช่องทางที่มีการเปิดรับมากที่สุดคือ ช่องทาง Facebook เพจข่าวบันเทิง/ส่วนตัวของนักแสดง</li> <li class="show">ระดับความรู้สึกต่อการสร้างอัตลักษณ์ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.57) และ</li> </ol> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3. การสร้างอัตลักษณ์ภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์ในระดับมาก (r = .600) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าการสร้างอัตลักษณ์นั้นมีผลมาจากการรับรู้หรือพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์นั่นเอง</p> กิรษา หอมเสียง, สุกัญญา บูรณเดชาชัย Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262492 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 EARLY CHILDHOOD EDUCATION EXPLORATION IN THE PERSPECTIVE OF "INTANGIBLE CULTURAL HERITAGE" INHERITANCE TAKING THE HAIMEN FOLK SONG PERFORMANCE IN WANNIAN KINDERGARTEN IN HAIMEN DISTRICT, NANTONG CITY AS AN EXAMPLE https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262338 <p>Objectives of this study: To study the inheritance of Haimen folk songs in Wannian Kindergarten, a representative project of the national intangible cultural heritage; Research methods:1. Orff music teaching method (Orff method); 2. questionnaire survey method;3. interview method; 4. Method of observation of teaching activity. This article examines the current situation regarding the use of Haimen folk songs in kindergarten music lessons. Based on the analysis of the current situation and problem orientation.</p> <p><strong>The research finds that:</strong></p> <p>preschool teachers do not have sufficient awareness of Haimen folk song music teaching; comparison of the orientation of the Haimen kindergarten folk song music pedagogy fuzzy; the method of teaching activities is relatively simple; the content selected in the activities is monotonous and repetitive; support from the external environment is insufficient and other issues become more prominent. The research results show that incorporating Haimen folk song performance activities into kindergarten activities using Orff's theory resulted in enriched lesson plans for educators and increased children's satisfaction with the activities.</p> Yanrong Wang, Rungkiat Siriwongsuwan Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262338 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ตัวแบบการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ของความเป็นชอง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262820 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองในมิติทางสังคม และมิติทางเศรษฐกิจ 2. เพื่อนำเสนอการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ความเป็นชอง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณา ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง รวมถึงการสัมภาษณ์ทั้งการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นที่เป็นชาวชองในเขตตำบลตะเคียนทอง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองมีลักษณะเป็นอัตลักษณ์ในความหมายที่เป็นเนื้อหาแบบองค์รวมคือเป็นอัตลักษณ์ที่ครอบคลุมทั้งมิติทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ คือ อัตลักษณ์การเกิด อัตลักษณ์การแต่งงาน อัตลักษณ์การตาย อัตลักษณ์ทางด้านศาสนา อัตลักษณ์ทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ อัตลักษณ์การแต่งกาย อัตลักษณ์ความเป็นอยู่ อัตลักษณ์ทางด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์เกี่ยวกับอาหารของชอง และอัตลักษณ์ด้านสุขภาพ ข้อเสนอแนะที่จะเป็นการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ชอง ได้แก่ อนุรักษ์ภาษาชองให้เป็นภาษาที่สองของชุมชนในเขตเขาคิชฌกูฏ, การเผยแพร่อัตลักษณ์ชอง โดยอาศัยเงื่อนไขการเปิดประชาคมอาเซียน, การจัดท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ชาติพันธุ์ชอง และการฟื้นฟูสมุนไพร และการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง</p> สุธางศุ์รัตน์ สายสุวรรณ, พรทิวา อาชีวะ, ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262820 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีทางภาษาในโฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/261753 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ปรากฏในโฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์จากแค็ตตาล็อกออนไลน์ ปี 2022 จากเว็บไซต์ทางการของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทย จำกัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 80 ข้อความ บริษัทละ 40 ข้อความโฆษณา ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดของ Levinson (1983), Fowler (1991), Jank (1997), Panpothong (2013), Sawasdee (2015), Kaewjunkate (2015), Angkapanichkit (2019) และ Rao (2021)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>โฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์พบกลวิธีทางภาษา 2 กลวิธี คือ 1) กลวิธีทางอรรถศาสตร์ ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ โดยกลวิธีการเลือกใช้ศัพท์พบกลวิธีย่อย ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์บ่งคุณภาพ การเลือกใช้ศัพท์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้ศัพท์ที่สื่อถึงความสมบูรณ์แบบ และ 2) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ การใช้มูลบทและการกล่าวอ้าง โดยกลวิธีการกล่าวอ้างพบกลวิธีย่อย ได้แก่ การกล่าวอ้างเหตุผลและการกล่าวอ้างด้วยสถิติ กลวิธีทางภาษาที่พบนี้ทำหน้าที่สำคัญในการสื่อสาร คือ การโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารหันมาเลือกใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกรูปแบบไฮบริดซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหามลพิษจากการใช้รถยนต์ทางหนึ่ง</p> กันติทัต การเจริญ, สิริวรรณ นันทจันทูล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/261753 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาบทเพลงในพิธีศีลล้างบาป ของวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267108 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามูลบท กระบวนการสืบทอด การบรรเลงดนตรีในพิธีศีลล้างบาป 2) วิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบบทเพลงในพิธีศีลล้างบาป ของวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตผู้ที่เกี่ยวข้องหลักของวัดพระหฤทัยแห่ง พระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี แบ่งออกเป็นบาทหลวงจำนวน 3 ท่าน นักดนตรีและนักขับร้องจำนวน 5 ท่าน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์บทเพลง จำนวน 3 ท่าน</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> 1) วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทุบรี เกิดขึ้นจากการอพยพของชาวเวียดนามและจันทบูร ที่ย้ายเข้ามาในตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีเป็นจำนวนมาก และมีการสร้างวัด ขยายวัฒนธรรมและความเชื่อ มาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบของพิธีกรรมและวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเรียนหลักธรรมคำสอนจากพระคัมภีร์ การเรียนทฤษฎีดนตรีสากล การบันทึกโน้ตและการถ่ายทอดด้วยปากเปล่า ซึ่งบทเพลงที่ใช้ในพิธีศีลล้างบาป ประกอบด้วย 3 บทเพลง ได้แก่ เพลงบทพรมน้ำเสก เพลงพรมน้ำเสก และเพลงเชิญพระจิต บทเพลงมีความหมายสื่อถึงสัญลักษณ์ของพิธีกรรม คือ น้ำและการเชิญพระจิตเจ้า</p> <p><strong> </strong>2) การวิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบบทเพลงในพิธีศีลล้างบาปทั้ง 3 บทเพลง จำนวน 10 ประเด็น เพลงที่ <strong>1 </strong>บทพรมน้ำเสก มีลักษณะเด่นในการใช้ขั้นคู่ที่แตกต่างจากเพลงอื่น คือ M6<sup>th</sup>, min6<sup>th</sup> และ P8<sup>th</sup> มีช่วงเสียงกว้างเป็นระยะขั้นคู่ผสม P12<sup>th</sup> ใช้อัตราจังหวะธรรมดา และไม่มีการสัมผัสระหว่างวรรคของบทเพลง เพลงที่ <strong>2 </strong>พรมน้ำเสก มีลักษณะเด่น คือ บทเพลงใช้อัตราจังหวะธรรมดา <strong> </strong>อยู่ในกุญแจเสียง D Major และมีการสัมผัสระหว่างวรรคในบางท่อนของบทเพลง และเพลงที่ <strong>3 </strong>เชิญพระจิต มีการใช้ขั้นคู่ที่แตกต่างจากเพลงอื่น คือ min2<sup>nd</sup> และ P4<sup>th</sup><strong> </strong>เป็นบทเพลงที่ใช้อัตราจังหวะธรรมดา <strong> </strong> และมีการใช้กลอน 8 คำร้องโดยรวมประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 9 คำ โดยมีความคล้ายคลึงกันในการใช้ขั้นคู่เป็นขั้นคู่ P1<sup>st</sup>, M2<sup>nd</sup>, M3<sup>rd</sup>, min3<sup>rd</sup> มีช่วงเสียงกว้างเป็นขั้นคู่ผสมประกอบด้วย M9<sup>th</sup> และ M12<sup>th</sup> มีการเคลื่อนทำนองแบบตามขั้นผสมการเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น และการซ้ำเสียง มีการดำเนินคอร์ดเป็นไปตามไดอาทอนิกคอร์ดของกุญแจเสียงเมเจอร์ การจบคอร์ดในแต่ละประโยคเพลงมีจุดพักแบบสมบูรณ์ คีตลักษณ์ มีการใช้เพลงสามท่อนประกอบด้วยท่อนที่ 1 (A) ท่อนที่ 2 (B) ท่อนที่ 3 (A’ หรือ C) <strong> </strong></p> กัณฐิกา ทองมี, พลภัทร ตั๋นบี๊, ศักรินทร์ ทวีผล, สุวรรณา แกล้วเกษตรกรณ์, ไพศาล ศรีชัยทุ่ง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267108 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น แบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262532 <p>การศึกษาวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น แบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์เอชแอนด์เอ็มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและเพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม ศึกษาปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น แบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 415 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสมการโครงสร้าง ทดสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงเชิงจำแนก ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกาย และด้านกระบวนการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ เอชแอนด์เอ็ม ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กฤษดา เชียรวัฒนสุข, อัจริยาพร นิลคุณ, ภาวิณี หวังจิตร์, ณ.ชนม์ ประยูรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262532 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของโควิด–19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจบริการที่เปลี่ยนแปลงไป และแนวทางในการรับมือของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/265261 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบโควิด-19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบโควิด-19 ในส่วนของการรับรู้ความเสี่ยง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการรับมือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน แบบขั้นตอนเชิงอธิบาย กลุ่มตัวอย่างเป็น ประชากรทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย หญิง และกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจบริการจำนวน 10 ธุรกิจ เก็บข้อมูลพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยเชิงเส้น</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong></p> <p>กลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามเป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 36–45 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส สมมติฐานงานวิจัย พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ในด้านอาชีพ และการศึกษา ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ในส่วนของผลกระทบโควิด-19 ในส่วนของการรับรู้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย การเงิน สังคม และการประชาสัมพันธ์ และในส่วนของการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงด้านข้อมูลจากสังคม และในส่วนของทัศนคติในทุกด้าน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่า การใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น ลดการใช้บริการที่สามารถทำเองได้ ลดความถี่ในการเข้าใช้บริการ เลือกใช้บริการไปที่บ้านแบบส่วนตัว หาข้อมูลเพิ่มขึ้นก่อนรับบริการ และเมื่อวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง คือ เป็นเจ้าของสถานที่ มีสินค้าจำหน่ายในช่วงที่ปิดกิจการ จุดอ่อน คือ ไม่มีเงินทุนเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โอกาส คือ มีบริการบางส่วนผลตอบรับเพิ่มขึ้น จากพฤติกรรมการอยู่บ้าน และอุปสรรค คือ นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ และในอนาคตผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ช่องทางการจัดหน่าย โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ที่คาดว่ามีบทบาทในอนาคต และผู้ประกอบการมีแนวทางในการรับมือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้ราคา และโปรโมชั่นเข้ามาจูงใจ สร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภครู้สึกว่าบริการสามารถจับต้องได้ เพิ่มตัวเลือกบริการให้หลากหลาย และค่อย ๆ ปรับธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค</p> ขจรจิตร์ ธนะสาร, สรวงภรณ์ สัจภาพพิชิต Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/265261 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262764 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ข้อกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรร 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรรของประเทศไทยกับต่างประเทศ 3) วิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรร 4) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรร ใช้รูปแบบการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก(Documentary Research) ในการค้นคว้าโดยทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจบ้านจัดสรร</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>การบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ที่ส่งผลต่อผู้ซื้อบ้านจัดสรร</p> <p>1) มาตรา 29 เกี่ยวกับการโฆษณาโครงการจัดสรรที่ดินไม่สามารถให้การคุ้มครองผู้ซื้อบ้านจัดสรรได้ อีกทั้งบทลงโทษตามมาตรา 61 ไม่เหมาะสมในการบังคับใช้</p> <p>2) มาตรา 53 ขาดกระบวนการในการจัดเก็บค่าส่วนกลางที่เป็นระบบส่งผลให้เงินที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่อการบริหารหมู่บ้านจัดสรร</p> <p>3) กฎหมายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในหมู่บ้านจัดสรรที่ต้องมีใบปลอดหนี้ ทำให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรไม่ทราบว่ามียอดหนี้ที่ค้างกับนิติบุคคล</p> จักรวัฒน์ เร่งถนอมทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262764 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/263063 <p>การวิจัยปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุเรื่องการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเชิงความสำเร็จและล้มเหลวของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของหน่วยงานราชการอื่น ๆ การวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) ทราบวิธีการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และความล้มเหลว ในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพความสำเร็จ และแนวทางการแก้ไขความล้มเหลว ของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ผู้สูงอายุที่ได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลโดยที่หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong></p> <p>ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบาย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้านการดูแลเรื่องความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ด้านจำนวนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และอยู่ในระดับปานกลางในด้านโครงสร้างการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ</p> วรวุฒิ วีระวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/263063 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์แบบฝึกตะโพนขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/266630 <p>การวิเคราะห์แบบฝึกตะโพนขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบฝึกการตีตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) วิเคราะห์กลวิธีการตีตะโพนตามแบบฝึกตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>แบบฝึกตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) มีจำนวน 6 บท บันทึกด้วยระบบโน้ตสากล บรรทัด 3 เส้น ในแต่ละบทจะมีแบบฝึกที่มีกลวิธีการตีตะโพน ซึ่งเริ่มจากจังหวะหน้าทับที่ดำเนินไปในอัตราจังหวะแบบช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอ รูปแบบลีลาราบเรียบ จากนั้นจะเพิ่มอัตราจังหวะที่มีความเร็วมากขึ้น มีลีลาที่กระชับ ประกอบด้วย การตีหน้าทับแบบตรงจังหวะ ตีลักจังหวะ ตีย้อยจังหวะ การตีส่ายโดยมีรูปแบบการตีมือเดียวเสียงเดียว การตีมือเดียวสลับเสียง การตีสองมือเสียงเดียว การตีสองมือสลับเสียง ตลอดทั้งการตีแบบฝึกในอัตราจังหวะช้า เร็วสลับกัน มีรูปแบบการเรียบเรียงแบบฝึกตะโพนจากขั้นพื้นฐานสู่ขั้นสูง ได้แก่ การนั่งตี การฝึกการวางตำแหน่งของมือ การฝึกทำเสียง การประสมเสียง การบังคับมือ การฝึกความจำ ความแม่นยำ การใช้พละกำลังและกล้ามเนื้อให้มีการสอดประสานและสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการตีตะโพนกับการบรรเลง การขับร้องและการแสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์</p> สมเกียรติ ภูมิภักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/266630 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาตัวชี้วัดระดับความสุขขององค์กรสุขภาวะ กรณีศึกษา : จังหวัดกำแพงเพชร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/257058 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานขององค์กรภาคเครือข่ายองค์กรสุขภาวะจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาองค์กรสุขภาวะในจังหวัดกำแพงเพชร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขององค์กรภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะแบ่งเป็นองค์กรภาครัฐ จำนวน 7 องค์กร และองค์กรภาคเอกชน จำนวน 3 องค์กร ได้มาจากการองค์กรที่มีความสมัครใจให้ทำการวิจัยในครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลความหมายค่าเฉลี่ยเป็นระดับความสุข 5 ระดับ</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>1) ระดับความสุขในการทำงานขององค์กรภาคเครือข่ายองค์กรสุขภาวะจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าระดับความพึงพอใจของบุคลากรเกี่ยวกับระดับความสุขค่าเฉลี่ยรวม (=3.58) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อตามลำดับ ได้แก่ ด้านการมีน้ำใจงาม (= 4.17) รองลงมาเป็นด้านการมีครอบครัวที่ดี (= 3.98) และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านการผ่อนคลาย (= 3.12)</p> <p>2) การเสนอแนวทางพัฒนาองค์กรสุขภาวะในจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการผ่อนคลายพนักงานยังไม่มีวิธีลดความเครียดจากการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น บริษัทฯ ควรสร้างกิจกรรมหรือพื้นที่คลายความเครียด อาจเป็นมุมฟังเพลง มุมหนังสือ นิตยสารต่างๆ ที่สร้างความบันเทิง ห้องคาราโอเกะ เป็นต้น และด้านการมีสุขภาพดีพนักงานควรมีการแบ่งเวลาในการใช้เวลากับการออกกำลังกายทุกสัปดาห์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพร้อมกับการทำงาน เช่น กิจกรรมเต้นออกกำลัง</p> ตรรกพร สุขเกษม Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/257058 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการให้บริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้ระบบราชการ 4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262009 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน 2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยระบบราชการ 4.0 และการให้บริการสาธารณะมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหินและ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยเลือกใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>1) ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก</p> <p>2) ลักษณะส่วนบุคคลอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> <p>3) ปัจจัยของระบบราชการ 4.0 ด้านการสานพลังทุกภาคส่วน ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ด้านการสร้างนวัตกรรม และด้านการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>4) การให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองหัวหิน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพชีวิตผู้มาใช้บริการสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> ณัฐฐาพร พุ่มไสว, พิเศษ ชัยดิเรก Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/262009 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของกระบวนการฝึกอบรมที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจโรงแรมของกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267875 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการฝึกอบรม ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน ปัจจัยความพึงพอใจในการงาน ปัจจัยค่าตอบแทน และปัจจัยผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของค่าตอบแทนที่กำกับความเชื่อมโยงการฝึกอบรม แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโรงแรม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือพนักงานในธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาว จำนวน 23 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 9,306 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม จำนวน 384 คน โดยใช้ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิจัย คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>กระบวนการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ใน ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงานมีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ปัจจัยค่าตอบแทนพนักงานมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และปัจจัยผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29</li> <li>ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า การฝึกอบรมและค่าตอบแทนของพนักงาน มีอิทธิพลทางตรงกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 และการฝึกอบรม ความพึงพอใจในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลทางอ้อมกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน</li> </ol> อภิรัตน์ ชื่นกลิ่น, นภาพร ขันธนภา, พุฒิธร จิรายุส Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267875 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 บทบาทการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ในภาวะวิกฤต COVID-19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/251097 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครในการรับมือกับสถานการณ์ภาวะวิกฤต COVID-19 และ 2) แนวทางการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครในภาวะวิกฤต COVID-19 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายระดับชำนาญการพิเศษ ตลอดจนพนักงานระดับปฏิบัติการ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 47 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการตีความแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า</strong></p> <p>ผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร มีบทบาทการบริหารในภารกิจหลัก 5 ประการ คือ 1) บทบาทในการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ได้แก่การสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 2) บทบาทในการตัดสินใจในภาวะวิกฤต สู่การทำงานเชิงบูรณาการและเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการจากส่วนกลาง 3) บทบาทในการสร้างความหมาย ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต่อสาธารณชน 4) บทบาทในการยุติวิกฤต เป็นการจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตเพื่อกลับคืนสู่สภาวะปกติ 5) บทบาทในการเรียนรู้ เป็นการนำประสบการณ์ที่ได้จากการระบาดทั้ง 3 ระลอกมาเป็นบทเรียนและเรียนรู้ในการค้นหาแนวทางควบคุมการแพร่ระบาดในอนาคต การจัดการภาวะวิกฤตมีแนวทางการจัดการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ การจัดเตรียมแผนงาน จัดระบบโครงสร้างการทำงาน การนำ การควบคุมกำกับดูแล การเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ 2) การป้องกัน โดยจัดทำแผนการป้องกันภาวะวิกฤต และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) การตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤต เป็นการรับมืออย่างรวดเร็ว และระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด 4) การฟื้นฟู เป็นการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ </p> อภิวัฒน์ ผ่านเสนา, สุวรรณี แสงมหาชัย Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/251097 Wed, 27 Mar 2024 00:00:00 +0700 THE IMPACT OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP ON LECTURER PERFORMANCE: A CASE STUDY OF UNIVERSITY IN BEIJING, CHINA https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/259319 <p>The objective of this research was to study the impact of transformational leadership on lecturer performance at a university in Beijing, China. This study adopts a quantitative research approach. The selected population for this investigation comprised 385 lecturers from the university. The data collection process involved a purposive sampling method, targeting a sample size of 196 individuals through a questionnaire. The hypotheses were tested utilizing the enter method of multiple regression analysis, complemented by descriptive statistical analyses that encompassed frequency, percentage, mean, and standard deviation. The predetermined level of statistical significance was set at 0.05.</p> <p>The findings of the study indicated that the opinions of the respondents regarding transformational leadership and lecturer performance were situated at a moderate level. Furthermore, the hypothesis testing outcomes revealed that transformational leadership, encompassing idealized influence, intellectual stimulation, and individualized consideration, significantly influenced lecturer performance at the university. The predictive ability of these factors reached a substantial level at 0.000, with a predictive power of 34.8 percent.</p> Yanying Lyn, Natthapol Nuengchompoo Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/259319 Wed, 27 Mar 2024 00:00:00 +0700