วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC
<p><em>วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร</em> ISSN 2985-248X (Online) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ได้แก่ นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ทัศนศิลป์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และจิตวิทยา โดยตีพิมพ์ 4 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 [มกราคม-มีนาคม] ฉบับที่ 2 [เมษายน-มิถุนายน] ฉบับที่ 3 [กรกฎาคม-กันยายน] และฉบับที่ 4 [ตุลาคม-ธันวาคม] <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโ<em>ดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 - 3 คน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน</em></strong></p>
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
th-TH
วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
2985-248X
<blockquote> <p><strong><em>** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร</em></strong><strong><em>เป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบ</em></strong><strong><em>ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **</em></strong></p> </blockquote>
-
ความเป็นพลเมืองในการบริหารท้องถิ่น
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269842
<p>บทความนี้อธิบายการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะระดับพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการจัดทำบริการสาธารณะที่มีคุณภาพเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับพื้นที่ เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะบรรลุเป้าหมาย การบริหารท้องถิ่นในปัจจุบันต้องให้ความสำคัญกับประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เกิดความตระหนักถึงการร่วมดำเนินการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสร้างจิตสำนึกเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมรับผิดชอบภารกิจ พร้อมทั้งยกระดับการมีส่วนร่วมไปสู่การปรับลดบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำหน้าที่สนับสนุการดำเนินงานของพลเมือง อย่างไรก็ตามการให้อำนาจแก่พลเมืองไม่สามารถปรากฏขึ้นได้ชัดเจน เนื่องจากการบริหารท้องถิ่นต้องยึดอยู่กับกฎระเบียบที่มีการกำหนดจากส่วนกลาง ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถให้อำนาจแก่พลเมืองเพื่อเป็นผู้ตัดสินใจในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำบริการสาธารณะ การดำเนินงานจึงอยู่ในลักษณะการร่วมมือกันจัดบริการสาธารณะในฐานะภาคีหุ้นส่วนที่ยึดความต้องการและความคิดเห็นของพลเมืองเป็นหลักสำคัญ</p>
ศิเรมอร ยงพานิช
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
260
270
10.14456/issc.2025.95
-
FOMO AND ANTECEDENTS OF INTENTION TO PURCHASE NEW SMARTPHONES AMONG THAI TEENAGERS FROM THE PERSPECTIVE OF THE THEORY OF PLANNED BEHAVIOR: A SYSTEMATIC LITERATURE REVIEW
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/274016
<p>This academic article examines Thai adolescents' purchase intentions for new smartphones using the theory of planned behavior (TPB), which incorporates subjective norms, perceived behavioral control, and attitudes as key determinants of consumer behavior. Through a systematic literature review, this study identifies social media use, fear of missing out (FOMO), subjective norms, and perceived behavioral control as primary influences on attitudes and brand association, which in turn drive purchase intentions. Findings highlight that social media platforms reinforce brand loyalty and intensify FOMO, influencing purchasing behavior. These insights provide meaningful implications for businesses seeking to optimize digital marketing strategies and for policymakers aiming to promote responsible digital consumption among adolescents.</p>
Thanat Kornsupkit
Ampon Shoosanuk
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
271
290
10.14456/issc.2025.96
-
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/272553
<p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คือ ผู้เข้าชมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 20 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร การใช้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และความรอบรู้สุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีค่าความเชื่อมั่น .923, .927 และ .927 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า 1. ผลการศึกษาการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในงานมหกรรมฯ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.593) เมื่อพิจารณารายด้านอันดับแรก คือ การตลาดและการสื่อสาร/ออนไลน์ ส่วนผลการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในงานมหกรรมฯ พบว่า ปัจจัยทางการตลาด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.591) และความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.574) โดยอันดับแรก คือ การเข้าถึง 2. ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลของปัจจัยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร การใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล 2 ฟังก์ชัน โดยชุดตัวแปรปัจจัยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร และปัจจัยการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สามารถอธิบายชุดตัวแปรความรอบรู้ด้านสุขภาพของปร</p>
ณัชชา พัฒนะนุกิจ
พิสิทธิ์ โสภณพงศพัฒน์
ขวัญใจ จริยาทัศน์กร
รัชนี จันทร์เกษ
ณัฐวิโรจน์ มหายศ
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-30
2025-03-30
8 1
1
20
10.14456/issc.2024.78
-
พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับทัศนคติที่มีต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัล ของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/266572
<p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาทัศนคติที่ส่งผลต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัลของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 69 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ แหล่งที่มาของรายได้มาจากตนเอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ส่วนมากพักอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ส่วนมากเปิดรับสื่อทาง ไลน์ เฟสบุ๊ค ติ๊กต็อก ในช่วงเวลาก่อน 8.00 น. วัตถุประสงค์ในการเปิดรับสื่อ คือ เพื่อเปิดรับข้อมูลข่าวสาร จำนวนครั้งในการเปิดรับสื่อคือ ต่อสัปดาห์ คือ 10 ครั้งขึ้นไป อุปกรณ์ที่ใช้งานในการเปิดรับสื่อคือโทรศัพท์มือถือ ทัศนคติที่มีต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัลของผู้สูงวัยในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านความรู้ความเข้าใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่าเพื่อสื่อสารกับเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจในเรื่องราวเดียวกัน ด้านความรู้สึก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่า การเปิดรับสื่อหลายช่องทางจะทำให้เป็น การเปิดโอกาสในการสร้างรายได้และด้านพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่า มีพฤติกรรมการวางแผนร่วมกับเพื่อนๆ หรือขอ คำแนะนำจากผู้มีรายได้สูงเพื่อเตรียมสร้างรายได้บน เครือข่ายดิจิทัล ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมว่าการเปิดรับสื่อหลายช่องทาง เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ค เป็นการเปิดโอกาสที่สำคัญอีกทางในการทำให้คนรู้จักและสามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้</p>
ขจรจิตร์ ธนะสาร
วรัญญา เดชพงษ์
นริศรา ไม้เรียง
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
21
35
10.14456/issc.2024.79
-
การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ในประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269433
<p>สภาพแวดล้อมของการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ในประเทศไทย และ 2. เพื่อทราบทิศทางและแนวโน้มของการสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept-Interview) กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1.) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ 2.) แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ 3.) อุปกรณ์บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา <strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า สภาพแวดล้อมของการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. นโยบายของภาครัฐ โดยนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และพิพิธภัณฑ์ของภาครัฐในประเทศไทยได้ดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย 2. สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนส่งเสริมตลาดงานทัศนศิลป์คือปัจจัยด้านเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดงานศิลปะในประเทศไทยคือทัศนคติของคนในประเทศที่มองว่างานศิลปะคือเรื่องฟุ่มเฟือย และ 3. การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ในประเทศไทย จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้บุคลากรในตลาดงานศิลปะต้องปรับตัว โดยใช้การสื่อสารตลาดและใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) รวมถึงภาครัฐ ที่หน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์แบบผสมผสานผ่านแนวทางการสร้างประสบการณ์ 4 มิติ ทั้งหมดนำไปสู่ทิศทางและแนวโน้มการสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ในประเทศไทยในที่อนาคตจะใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่านช่องทางออนไลน์ในรูปแบบคอนเทนต์ที่หลากหลาย โดยการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลและเทคนิคต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในวงการศิลปะจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและสื่อที่เป็นดิจิทัล ผลงานศิลปะจะ</p>
จิรัชญานันทน์ ผลัดรื่น
ไพโรจน์ วิไลนุช
อัญชลี พิเชษฐพันธ์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
36
49
10.14456/issc.2024.80
-
ความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/272000
<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความสุขในการทำงานโดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ใช้เครื่องมือมาใช้วัดความสุขทุก 2 ปี เพื่อวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรอย่างรอบด้าน <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>: </strong>1. เพื่อศึกษาระดับความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาว จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาว จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>ใช้การศึกษาเชิงปริมาณโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรโรงพยาบาลสอยดาว จำนวน 235 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยด้วยการใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง 149 คน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Independent Sample t-Test และ One-Way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>พบว่า ระดับความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาวในภาพรวมอยู่ในระดับมีความสุข เมื่อพิจารณาระดับความสุขของบุคลากรเป็นรายด้าน พบว่ามีความสุขอยู่ในระดับมีความสุข จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านน้ำใจดี 2) ด้านใฝ่รู้ดี 3) ด้านสังคมดี 4) ด้านครอบครัวดี 5) ด้านสุขภาพดี 6) ด้านผ่อนคลายดี และ 7) ด้านสุขภาพเงินดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสุขอยู่ในระดับมีความสุขมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจิตวิญญาณดี และ 2) ด้านการงานดี ผลการเปรียบเทียบความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาวจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ลักษณะงานที่ปฏิบัติ สายงานที่ปฏิบัติ ประเภทบุคลากร ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน พบว่าบุคลากรที่มีเพศ และสายงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความสุขแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ประเภทบุคลากร ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความสุขไม่แตกต่างกัน <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การศึกษาความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลสอยดาว พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับ "มีความสุข" โดยมีความแตกต่างด้านความสุขระหว่างกลุ่มที่มีเพศและสายงานต่างกัน แต่ปัจจัยอื่นๆ ไม่มีผลต่อระดับความสุข</p>
เพ็ชรประกาย เวศเกษม
ประภัสสร เจริญนาม
ชัชวาล โภโค
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
50
59
10.14456/issc.2024.81
-
การวิเคราะห์ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/270478
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> แก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นกลุ่มมิจฉาชีพที่มีการทำงานเป็นขบวนการ มีรูปแบบในการหลอกลวงผู้เสียหาย 2 ลักษณะ คือหลอกลวงด้วยความโลภและหลอกลวงด้วยความกลัว ผลกระทบจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและทราบถึงมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจและหาวิธีป้องกันภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อลดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) เพื่อศึกษาลักษณะความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 2) เพื่อประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชากรจังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 134 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยรับสายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 104 คน และมีผู้สูญเสียทรัพย์สิน 2 คน มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ประกอบด้วย 1). มูลค่าความสูญเสียของผู้ที่สูญเสียทรัพย์สิน 1,772.60 บาท เป็นส่วนของต้นทุนที่จ่ายจริง 1,548.20 บาท และต้นทุนที่ไม่จ่ายจริง 224.40 บาท และ 2) ความสูญเสียของคนที่รับสายแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีเฉพาะต้นทุนที่ไม่จ่ายจริง 6,069.13 บาท เมื่อนำมูลค่าความสูญเสียดังกล่าวมาคำนวณเทียบกับประชากรจังหวัดจันทบุรี มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ของจังหวัดจันทบุรีมีค่าเท่ากับ 25,111,293.07 บาท</p>
อมลวรรณ เพิ่มพูล
ธงชัย ศรีเบญจโชติ
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
60
74
10.14456/issc.2024.82
-
แรงจูงใจและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการรับชมและเชียร์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษผ่าน True ID ของกลุ่มผู้ชมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/273207
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> สโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เมื่อกล่าวถึงการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษในประเทศไทย ปัจจุบันบริษัททรู คอร์เปอเรชั่น เป็นบริษัทรายเดียวของประเทศไทย ที่ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษทุกคู่ ทุกสนาม และในประเทศไทยมีกลุ่มคนที่ชื่นชอบเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตลาดการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษในประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงอยากศึกษาแรงจูงใจและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการรับชมและเชียร์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษผ่าน True ID ของกลุ่มผู้ชมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาแรงจูงใจและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการรับชมและเชียร์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษผ่าน True ID ของกลุ่มผู้ชมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร<strong> ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่าแรงจูงใจทั้งในด้านความชื่นชอบในตัวนักฟุตบอล สโมสรที่ชื่นชอบ การรับชมและเชียร์ฟุตบอลร่วมกับกลุ่มเพื่อน และความรู้สึกยินดีของผลการแข่งขันที่ดี มีผลต่อการรับชมและเชียร์ฯ รวมถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) เป็นปัจจัยที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกรับชมและเชียร์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ผ่าน True ID ของกลุ่มผู้ชมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแฟนบอลหรือกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น เรื่องของอรรถรสจากการเข้าชมในสนาม ความสนุกสนานของการแข่งขัน </p>
บวรวิชย์ ศิริทรัพย์สมบัติ
สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
75
86
10.14456/issc.2024.83
-
มาตรการทางกฎหมายในการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาดในความผิดทุจริตและประพฤติมิชอบ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/276539
<p><strong>บทนำ:</strong> กฎหมายเกี่ยวกับการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาดในความผิดทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทยยังคงกำหนดให้ดำเนินการไปในรูปแบบเหมารวมกวาดกองโดยจัดเป็นนักโทษชั้นกลางในทุกกรณี แต่มิได้นำเอาข้อมูลปฐมภูมิ รวมถึงระดับความเสียหายจากการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบมาใช้พิจารณาในการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาด อันเป็น นิติวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟู และหลักการของข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ค.ศ. 1955 <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย:</strong> ศึกษาปัญหากฎหมายการกำหนดชั้นนักโทษเด็ดขาดในความผิดทุจริต และประพฤติมิชอบ <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> อาชญากรรมทุจริตและประพฤติมิชอบนับเป็นอาชญากรรมคอปกขาวที่ผู้กระทำความผิดเป็นชนชั้นนำในสังคม มิใช่โจรลักเล็กขโมยน้อย การแก้ไขฟื้นฟูจึงต้องกำหนดวิธีการในทางแตกต่างออกไป ในกรณีนี้ในสหรัฐอเมริกาได้นำเอาระบบการประเมิน ค่าคะแนนความเป็นอาชญากร และข้อมูลปฐมภูมิของผู้ต้องขัง อันได้แก่ ประวัติอาชญากรรม ระดับตำแหน่งหน้าที่ รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทุจริตและประพฤติมิชอบมาใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาด ส่งผลให้ การจัดชั้นนักโทษมีความสอดคล้องกับพฤติการณ์ของการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบในลักษณะเฉพาะราย ซึ่งเป็นความยุติธรรมของกระบวนการบังคับโทษ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ควรนำเอาตัวแบบการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาดของสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ เพื่อพัฒนากฎหมายการจัดชั้นนักโทษเด็ดขาดในความผิดทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทย</p>
นันทชัย รักษ์จินดา
สุรินทร์ ทองแท่น
จิรวัฒน์ แก้วภูมิแห่
หัสนัย บุญมา
สุนันทา พูลมาส
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
87
103
10.14456/issc.2024.84
-
ทำอย่างไรให้คน Gen Z ทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนได้นานและลดอัตราการลาออก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269724
<p><strong>บทนำ </strong>: ปัจจุบันองค์กรเอกชนหลายแห่งประสบปัญหาคน Gen Z ทำงานอยู่ในองค์กรไม่นานและทำให้เกิดปัญหาซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตขององค์กรหากไม่มีการแก้ไขที่เหมาะสม <strong>วัตถุประสงค์การศึกษา : </strong>เพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ไขเพื่อทำให้คน Gen Z ทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนได้ยาวนานมากขึ้นและลดอัตราการลาออกของคนกลุ่มนี้ <strong>วิธีการศึกษา </strong>: ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คนในหลากหลายธุรกิจ โดยเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งจดบันทึกด้วยตัวเองและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ <strong>ผลการศึกษา </strong>: การที่คน Gen Z ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในองค์กรไม่นานมีสาเหตุมาจากแนวคิดและพฤติกรรมการทำงานของคนกลุ่มนี้ไม่สอดคล้องกับระบบและวัฒนธรรมขององค์กร เขาต้องการค่าตอบแทนจากการทำงานเพิ่มขึ้น แนวคิดและพฤติกรรมการทำงานของเขาและผู้บังคับบัญชาไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งเขาต้องการรักษาความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว รวมทั้งเขาต้องการยกระดับความเจริญเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเองให้สูงขึ้น แนวทางการแก้ไขคือ องค์กรต้องมีการพิจารณาคัดเลือกพนักงาน Gen Z ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรและต้องมีการสร้างระบบการเจริญเติบโตภายในองค์กรให้แก่คนกลุ่มนี้ รวมทั้งต้องพยายามปรับระบบค่าตอบแทนของคนกลุ่มนี้ให้ใกล้เคียงกับธุรกิจประเภทเดียวกันและต้องจัดระบบสวัสดิการที่มีความยืดหยุ่น ตลอดจนพยายามปรับทัศนคติของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นให้เข้าใจถึงการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ <strong>สรุป</strong> : องค์กรเอกชนควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาเรื่องนี้รวมทั้งสร้างแนวทางในการรักษาและจูงใจให้พนักงาน Gen Z สามารถทำงานในองค์กรได้ยาวนานมากขึ้นโดยคำนึงถึงความสอดคล้องต่อบริบทและวัฒนธรรมขององค์กรแต่ละแห่งซึ่งควรจะมีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์กรนั้น รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงขององค์กรควรเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้เพื่อช่วยสนับสนุนให้การประยุกต์ใช้แนวทางดังกล่าวสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ.</p>
ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ
ปิยศักดิ์ สูตรนันท์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
104
115
10.14456/issc.2024.85
-
การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก: กรณีศึกษาเรือนจำกลางประจำ จังหวัดแห่งหนึ่ง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/275527
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> จากแนวคิดการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระบุว่าแม้บุคคลนั้นจะเป็นผู้กระทำความผิดและถูกจำกัดเสรีภาพอีกทั้งยังเป็นบุคคลที่เป็นกลุ่มเพศทางเลือกก็มิอาจถูกกระทำการใด ๆ อันเป็นการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงได้ <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในเรือนจำกลางประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง กำหนดคุณสมบัติเป็นผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก และ 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเรือนจำกลางประจำจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังในผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในเรือนจำกลางประจำจังหวัด ยังไม่เป็นไปตามหลักการสากลที่ต้องยึดถือปฏิบัติให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้ต้องขัง เริ่มตั้งแต่กระบวนการการระบุอัตลักษณ์ทางเพศ การตรวจค้นร่างกาย การจัดสถานที่คุมขัง รวมถึงการคำนึงถึงถึงความจำเป็นพิเศษอื่นๆ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในประเทศไทยควรจะมีบทบัญญัติเฉพาะเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิ ในแต่ละขั้นตอนที่สำคัญที่ใช้ปฏิบัติติต่อผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังในเรือนจำเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน</p>
อภิชาติ โกศล
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
116
129
10.14456/issc.2024.86
-
รูปแบบและวิธีการเล่าเรื่องของ Mockumentary Films ในประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269288
<p>งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะทั่วไปของ Mockumentary Films และวิเคราะห์วิธีการเล่าเรื่อง และโครงสร้างของ Mockumentary Films ในประเทศไทย ใช้การวิเคราะห์โดยการพรรณนา และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรวมทั้งหมด 5 คน โดยทำการศึกษาภาพยนตร์เรื่อง มือปราบสัมภเวสี - The Lost Case (2017) และร่างทรง - The Medium (2021) ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องมีการใช้รูปแบบหรือเทคนิคการถ่ายทำ คล้ายกับที่ใช้ในภาพยนตร์สารคดีทั่วไป ในส่วนของโครงสร้างการเล่าเรื่อง พบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องมี โครงเรื่อง, แก่นความคิด, ความขัดแย้ง, ตัวละคร, ฉาก, สัญลักษณ์พิเศษ และมุมมองการเล่าเรื่องที่ครบตามองค์ประกอบของภาพยนตร์บันเทิงที่ฉายตามโรงภาพยนตร์ โดยถ่ายทอดเรื่องราวความเชื่อเรื่องผีว่า ผีเป็นภาพแทนของความเป็นอื่น โดยมีความแตกต่างจากมนุษย์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในด้านรูปลักษณ์ภายนอกหรืออิทธิฤทธิ์ของผี รวมทั้งความเชื่อที่ว่าผี หรือวิญญาณ เป็นสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ มีความน่ากลัว ซึ่งผีมารับหน้าที่ในการดูแลจิตใจของผู้ป่วยที่ต้องการที่พึ่งและความอบอุ่นใจ เช่น การทรงเจ้า, การเข้าสิง โดยมีฤทธิ์หรืออำนาจ อยู่เหนือคนทั่วไปสามารถบันดาลให้ดีหรือร้าย ให้คุณหรือโทษได้ ความเชื่ออย่างนี้เรียกว่า ลัทธิผีสางเทวดา (Animism) อันเป็นคติศาสนามาตั้งแต่ดั้งเดิมของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็ยังมีการสร้าง ความหมายใหม่หรือตีความผีใหม่ไปตามกระแสความเชื่อของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย การนำเสนอผีตามตำนานความเชื่อพื้นบ้านโดยมีการปรับให้เข้ากับสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสะท้อนให้เห็นวิกฤติ ความวิตกกังวล ปัญหาของสังคมแต่ละยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุที่เรื่องผีและเหตุการณ์เหนือธรรมชาติยังคงดำรงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ Mockumentary ในประเทศไทย ก็คงเป็นเพราะประสบการณ์ของมนุษย์ ในการจัดวางสิ่งเหล่านี้ ในฐานะเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมนั่นเอง</p>
อรรถพล วิมสิกกมล
บรรจง โกศัลวัฒน์
ปัทมวดี จารุวร
สุชาติ โอทัยวิเทศ
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
130
146
10.14456/issc.2025.87
-
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ PTRU ของครูในยุคดิจิทัล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/275439
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสริมสมรรถนะ PTRU (Professionalism, Technology, Research, Unity) ของครูในยุคดิจิทัล และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการสอนคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในบริบทของครูยุคดิจิทัล โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมงานวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2558–2567 จากฐานข้อมูล ThaiJo และ Google Scholar ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการสอนที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะการวิจัย และการสร้างความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียนส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การอบรมและพัฒนาทักษะของครูในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม รวมถึงการสนับสนุนจากองค์กรการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะ PTRU ทั้งนี้ การพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน แต่ยังส่งผลต่อการสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะด้านดิจิทัลซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในบริบทของตนเอง</p>
ศิรภัสสร์ อินทรพาณิชย์
ดนัย ศิริบุรี
ลักขณา สุกใส
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
147
162
10.14456/issc.2025.88
-
ความภักดีในตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวของกลุ่มวัยทำงานในร้านเพ็ทช้อปในกรุงเทพมหานคร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/273306
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> จากพฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขและแมวที่เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวและบางตัวยังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย ยิ่งทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้น ส่งผลทำให้ตลาดอาหารสัตว์เติบโตตามไปด้วย และไลฟ์สไตล์ของคนหลังจากโควิดที่เริ่มออกมาซื้อของในร้านเพ็ทช้อปมากขึ้น งานวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร้านเพ็ทช้อปและผู้ผลิตอาหารสัตว์ <strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>ความภักดีในตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมวของกลุ่มวัยทำงาน ในร้านเพ็ทช็อป ในกรุงเทพมหานคร <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามจากกลุ่มวัยทำงานอายุ 25-55 ปี ที่เลี้ยงสุนัขและแมวในกรุงเทพมหานคร และมีประสบการณ์การซื้ออาหารสุนัขและแมวในร้านเพ็ทช้อป จำนวน 408 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่าความจงรักภักดีในตราสินค้ามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้า อาหารสุนัขและแมวของกลุ่มวัยทำงาน ในร้านเพ็ทช็อป ในกรุงเทพมหานคร สำหรับด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขและแมว จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย (Place) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotions) และด้านกระบวนการ (Process) ที่มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <strong>สรุป</strong><strong>:</strong>งานวิจัยนี้สามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการธุรกิจสัตว์เลี้ยงทั้งในด้านการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความภักดีในตราสินค้าในระยะยาว</p>
กุลธิดา ทรงประศาสน์
สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
163
177
10.14456/issc.2025.89
-
รสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลาง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/271278
<p>วัตถุประสงคการวิจัย: 1) เพื่อบรรยายและประเมินรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการนันทนาการ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทั้งทางตรง (Direct effect) ทางอ้อม (Indirect effect) หรือระหว่างกลาง (Mediation) และแบบกำกับ (Moderation) และผลรวม (Total effect)ระหว่างตัวแปรลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมการนันทนาการ การรับรู้ข่าวสาร และรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้ารวมทั้งการอนุมานผลการวิจัยในเชิงความสัมพันธ์ เหตุ-ผล สำหรับการกำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโส วิธีวิจัย: วิธีการวิจัยเอกสาร (documentary research) และการวิจัยเชิงสำรวจจากตัวอย่าง (sample survey research) จำนวน 200 ตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Intercorrelation) ด้วยการทดสอบ Chi-square และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลระหว่างตัวแปรต้น (Independent Variable) ตัวแปรแทรกกลาง (Mediator variables) ตัวแปรกำกับ (Moderator variables) และตัวแปรตาม (Dependent Variables) โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพลเมืองอาวุโสเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และสมรสแล้วมากที่สุด มีรายได้เฉลี่ย 59,653 บาท ต่อเดือน และส่วนใหญ่มีสุขภาพดี ส่วนตัวแปรสุขภาพมีความสัมพันธ์กับรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ผู้ที่มีสุขภาพที่ดีมีแนวโน้มมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้ามากกว่าผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี อีกทั้งพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางที่มีสุขภาพที่ดีรายได้สูงได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก (Facebook) ชอบทำกิจกรรมนันทนาการนอกบ้านกับคู่สมรส มีแนวโน้มในการมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: พลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางที่มีรายได้สูงและสุขภาพดีได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ชอบทำกิจกรรมนันทนาการนอกบ้านมีแนวโน้มมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า</p>
ทิพนาถ ชารีรักษ์
ณัฐพล ขันธไชย
วรรณนภา วามานนท์
ฉนวน เอื้อการณ์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
178
198
10.14456/issc.2025.90
-
การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อทักษะการจัดการความเครียด ในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/275732
<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>นักศึกษาพยาบาลขึ้นฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชจะมีความเครียดระดับสูง <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อสร้างรูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อทักษะการจัดการความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นแบบกึ่งทดลองโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย ระยะที่ 2 สร้างและทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 นำโปรแกรมไปใช้และประเมินผลใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี ภาคการศึกษาที่ 2/2566 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบวัดพฤติกรรมของทักษะการจัดการความเครียด คุณภาพเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบ เนื้อหา ความตรงตามโครงสร้างและตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบวัดใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha co-efficient) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ 0.82, 0.82 และ 0.84 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (paired-t-test) <strong> </strong><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>1) รูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองที่พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura(1997) ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์จากผู้อื่น การสร้างสัมพันธภาพ เทคนิคกระบวนการกลุ่ม การพูดชักจูงโน้มน้าวด้วยคำพูด การให้กำลังใจ การสร้างแรงจูงใจ การฝึก การให้ความรู้ เรื่องโรคจิตเภท อารมณ์สองขั้ว สารเสพติด สมองติดสารเสพติด การเสริมแรงโดยการชื่นชม ให้รางวัล และนำไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ 8 ครั้ง ละ 3 ชั่วโมง รวมระยะเวลา เข้าโปรแกรม 8 ครั้ง 24 ชั่วโมง 2. ) ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรม พบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตร์กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 นักศึกษาพยาบาลศาสตร์กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของทักษะการจัดการความเครียด หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท อารมณ์สองขั้ว สารเสพติด หลังการฝึกอบรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองทำให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะการจัดการความเครียดได้ดีขึ้น</p>
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
บรรจง เจนจัดการ
กัลยพัทย์ นิยมวิทย์
เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์
ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย
สิรินทร เลิศคูพินิจ
ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
199
211
10.14456/issc.2025.91
-
การบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/273945
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา โดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) ระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถม 2) ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก จำนวน 5 สถานศึกษา และดำเนินการ 3 กิจกรรมย่อย คือ (1) ศึกษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารฯ การพัฒนาค่านิยมหลักฯ (2) สังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมของครูผู้สอน (3) สัมภาษณ์ระดับลึกผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 1 คือ ฉบับที่ 1–4 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) สังเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และการพัฒนาค่านิยมหลักฯ 2) ยกร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ คือ คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 3) สนทนากลุ่ม เพื่อพิจารณาร่าง การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ 4) ตรวจสอบคุณภาพร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ 5) ทดลองใช้ (Try Out) ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ กลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 2 คือ ฉบับที่ 5–10 ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) ศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบฯ ดำเนินการ 2 กิจกรรมย่อย (1) ศึกษาผลการพัฒนาค่านิยมหลัก (2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 2) ศึกษาผลการเผยแพร่การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ กลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 3 คือ ฉบับที่ 9–10 สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย ตามขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักฯ พบว่า 1) ความคิดเห็นส่วนใหญ่ว่าผู้เรียนขาดการพัฒนาค่านิยมหลักจากการจัดกิจกรรมที่ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ขาดความต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาไม่หลากหลาย 2) ผลการศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) พบว่า แนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ผลการศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การร่วมวางแผน (2) การร่วมปฏิบัติ (3) การร่วมติดตาม (4) การร่วมสะท้อนผล และการพัฒนาค่านิยมหลักฯ ของผู้เรียน กลุ่มแรก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 ค่านิยมหลักข้อ 1, 3, 8 กลุ่มที่สอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ค่านิยมหลักข้อ 2, 4, 11 ใช้วิธีการพัฒนา 4 กิจกรรม 2) ได้ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ และเอกสารประกอบร่าง คือ คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 3) ผลการสนทนากลุ่ม พิจารณาร่างการบริหารฯ และเอกสารประกอบร่างฯ มีการรับรอง 4) ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ 5) ผลทดลองใช้ร่างฯ มีคุณภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 ขั้นตอนที่ 3 ผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ และเอกสารประกอบฯ พบว่า 1) ผลการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ ผู้เรียนมีผลการพัฒนาค่านิยมหลักหลังการพัฒนา เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้สูงสุด (เชิงพัฒนา) คือ ระดับดีเยี่ยม 2) ผลความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดสวนแตง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
พีระ รัตนวิจิตร
กัณยกร อัครรัตนากร
นัทกาญจน์ รัตนวิจิตร
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
212
225
10.14456/issc.2025.92
-
การสังเคราะห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/276084
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การสังเคราะห์ภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทยนั้น <strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางด้านภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย และ 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร จำนวน 41 เรื่อง จากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมเนื้อหางานวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ และวิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูลโครงการ TDC หรือ Thai Digital Collection และฐานข้อมูลห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในระบบ OPAC หรือ Online Public Access Catalog โดยคัดเลือกงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2545-2561 <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่าผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 41 เรื่อง สรุปได้ 11 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่ง 2) ภูมิปัญญาด้านภาษาลาวครั่ง 3) การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาลาวครั่ง 4) ภูมิปัญญาด้านโหราศาสตร์ 5) ประเพณีขึ้นหอเจ้านาย 6) ความเชื่อและพิธีกรรมการนับถือผี 7) ภูมิปัญญาด้านเรือนลาวครั่ง 8) ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม 9) วิถีชีวิตและความเป็นมาของชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย 10) ภูมิปัญญาด้านอาหารลาวครั่ง และ 11) อัตลักษณ์และการรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาวครั่ง ภูมิปัญญาที่มีผู้ศึกษามากที่สุด คือ ภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่ง รองลงมา คือ การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาลาวครั่ง และภูมิปัญญาภาษาลาวครั่ง ผู้วิจัยนำข้อมูลมาสังเคราะห์ พบประเด็นที่คล้ายคลึงกันในการดำเนินการวิจัย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย 2) เนื้อหาตามขอบเขตงานวิจัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย 4) ผลการวิจัย และ 5) การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์</p>
จิรศุภา ปล่องทอง
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
226
241
10.14456/issc.2025.93
-
CONCEPTS OF SOCIAL RESPONSIBILITY AND KNOWLEDGE MANAGEMENT ON SOCIAL RESPONSIBILITY IN HIGHER EDUCATION FOR SUSTAINABILITY
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/275909
<p><strong>Introduction: </strong>Digital transformation has revolutionized healthcare, with artificial intelligence (AI) and machine learning (ML) enhancing diagnosis, patient management, and efficiency. Despite these advancements, concerns regarding data security, ethics, and system integration persist. This study examines the effectiveness of AI-driven decision support systems in improving diagnostic accuracy and reducing healthcare costs.<strong> Objectives: </strong>This research evaluates AI-based decision support tools in medical diagnosis, focusing on accuracy, efficiency, and cost reduction while identifying challenges in clinical implementation. <strong>Methods: </strong>A systematic review of AI applications in healthcare was conducted, alongside a case study of three hospitals. Data from patient records, diagnostic outcomes, and clinician feedback were analyzed. AI performance was assessed using sensitivity, specificity, and accuracy metrics, compared to traditional diagnostic methods.<strong> Results: </strong>AI-driven systems improved diagnostic accuracy by 15% and reduced diagnostic time by 30%. Cost savings of 20% in operational expenses were observed. However, challenges such as data privacy concerns and physician trust in AI recommendations emerged.<strong> Conclusion: </strong>AI-powered diagnostic tools enhance accuracy and efficiency while lowering costs. Addressing security issues and fostering AI-human collaboration is crucial for broader adoption. Future research should focus on transparent and ethical AI frameworks to ensure trust and regulatory compliance.</p>
Lertlak Jaroensombut
Akkakorn Chaiyapong
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-31
2025-03-31
8 1
242
259
10.14456/issc.2025.94