https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/feed วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร 2024-11-07T14:13:06+07:00 Sandusit Brorewongtrakhul sandusit.b@rbru.ac.th Open Journal Systems <p><em>วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร</em> ISSN 2985-248X (Online) รับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ได้แก่ นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ทัศนศิลป์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และจิตวิทยา โดยตีพิมพ์ 4 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 [มกราคม-มีนาคม] ฉบับที่ 2 [เมษายน-มิถุนายน] ฉบับที่ 3 [กรกฎาคม-กันยายน] และฉบับที่ 4 [ตุลาคม-ธันวาคม] <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโ<em>ดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 - 3 คน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน</em></strong></p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269800 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี หลังวิกฤติ COVID-19 ของประเทศไทย 2024-09-04T11:52:32+07:00 สมชาย โตศุกลวรรณ์ somchai.rbru@gmail.com ณรงค์ อนุพันธ์ somchai.rbru@gmail.com <p>การวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อประเมินระดับการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีหลังวิกฤติ COVID-19 วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของวิสาหกิจชุมชน และพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 100 คน และเลือกกลุ่มต้นแบบที่พร้อมในการพัฒนากลยุทธ์ คือ วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ จำนวน 24 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>ระดับการปฏิบัติงานโดยรวมของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับดี แต่ยังมีบางประเด็นที่ควรปรับปรุง เช่น การบริหารจัดการสวัสดิการสมาชิกและการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี การวิเคราะห์ SWOT ชี้ให้เห็นว่าจุดแข็งของวิสาหกิจชุมชนคือความสามารถในการปรับตัวและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ จุดอ่อนคือการขาดแคลนความรู้ด้านการตลาดและการเข้าถึงทรัพยากร โอกาสคือการใช้ช่องทางออนไลน์ในการขยายตลาด ขณะที่อุปสรรคคือสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและการแข่งขันสูง กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก (SO) ที่เน้นการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) ที่เน้นการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) ที่เน้นการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับสมาชิก และกลยุทธ์เชิงป้องกันตัว (WT) ที่เน้นการลดจุดอ่อนและเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความเสี่ยง การนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปปรับใช้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนในการรับมือกับสภาวะหลังวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/269559 การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 2024-05-13T22:03:11+07:00 สุรีย์พร พานิชอัตรา sureeporn.p@rbru.ac.th ธงชัย ศรีเบญจโชติ thongchai.s@rbru.ac.th <p>จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีสามารถผลิตทุเรียนได้มากที่สุดในประเทศ แต่เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น การรวมกลุ่มกันตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น การศึกษานี้<br />มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตของเกษตรกรกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และวิเคราะห์ต้นทุน<br />การผลิตของเกษตรกรกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์<br />เชิงลึก (In-depth interview) จากเกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 5 ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 25 รายเกี่ยวกับการผลิต และต้นทุนการผลิตทุเรียน ในปีการผลิต 2565/2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview)</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong></p> <p>การผลิตและการดูแลบำรุงรักษาทุเรียน เกษตรกรมีกิจกรรมหลักได้แก่ การให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชซึ่งเกษตรกรนิยมใช้วิธีการตัดหญ้า ส่วนการกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในกรณีที่มี<br />การระบาดของศัตรูพืช สำหรับทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเกษตรกรจะเน้นในเรื่องของการเตรียมต้นให้มีความสมบูรณ์ซึ่งเกษตรกร<br />แต่ละรายมีการดูแลทุเรียนที่แตกต่างกันไป โดยเกษตรกรมีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรายละ 1,303.28 กิโลกรัมต่อไร่</p> <p>เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตทุเรียนเท่ากับ 223,177.22 บาทต่อไร่ แบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่ 142,254.79 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.76 โดยมีค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดินในสัดส่วนสูงที่สุด และเป็นต้นทุนผันแปร 80,862.44 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.24 โดยมีค่าเสียโอกาสของตัวเกษตรกรในสัดส่วนสูงที่สุด ซึ่งต้นทุนการผลิตทุเรียนส่วนใหญ่เป็นต้นทุน<br />ที่มองไม่เห็น ซึ่งมีค่าเท่ากับ 186,303.84 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 83.50 เป็นต้นทุนที่มองเห็นเท่ากับ 36,813.38 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.50</p> 2024-12-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267405 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจจะซื้อรถยนต์เอเชียของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-02-18T12:36:57+07:00 พรชนก อรุณศิริ 6414992038@rumail.ru.ac.th สนิทนุช นิยมศิลป์ 6414992038@rumail.ru.ac.th <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของราคาที่รับรู้ คุณภาพที่รับรู้ ความปลอดภัยที่รับรู้ การออกแบบ ความน่าเชื่อถือ ความประหยัดพลังงาน ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ และแบรนด์ที่มีผลต่อความตั้งใจจะซื้อรถยนต์เอเชีย ตัวอย่างคือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่กำลังจะซื้อรถยนต์คันใหม่ใน 1 - 3 ปีข้างหน้า จำนวน 407 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล โดยมีการเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก (convenience sampling) และแบบอาสาสมัคร (voluntary response sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>ผู้ตอบส่วนใหญ่คือผู้หญิง อายุ 26 – 35 ปี สถานะภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้ต่อเดือน 20,001 - 60,000 บาท มีสมาชิกที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน 3 – 4 คน มีประสบการณ์ในการขับรถยนต์ 4 – 7 ปี รถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือรถยนต์เอเชีย มีค่าใช้จ่ายพลังงาน 1,501 - 3,000 บาทต่อเดือน รถยนต์คันใหม่ที่ตั้งใจจะซื้อคือรถยนต์มือหนึ่ง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ราคารับรู้มีผลต่อความตั้งใจจะซื้อรถยนต์เอเชียมากที่สุด (β = .280, p &lt; .001) ตามด้วย ความประหยัดพลังงาน (β = -.201, p = .004) ความน่าเชื่อถือ (β = .144, p = .013) คุณภาพรับรู้ (β = .141, p &lt; .001) และ ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ (β = .123, p = .029) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านความปลอดภัยรับรู้ การออกแบบ และแบรนด์ ไม่พบว่ามีผลต่อความตั้งใจจะซื้อรถยนต์เอเชียอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถพยากรณ์ความตั้งใจจะซื้อรถยนต์เอเชียของผู้บริโภคได้ร้อยละ 14.5</p> 2024-12-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/273091 การพัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code ในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-09-10T21:44:02+07:00 กรรณิการ์ มาระโภชน์ kannika.mar@rru.ac.th ดวงฤดี จำรัสธนสาร duangrudee.jum@rru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย 2) ศึกษาความต้องการระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของเกษตรกร<br />ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย 3) สำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ของเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 4) พัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์และประเมินความเหมาะสมของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ <br />1) ผู้บริโภคที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย จำนวน 400 ราย 2) เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จำนวน 10 ราย และ 3) ผู้บริโภคที่ใช้งานระบบฯ ที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสำรวจพฤติกรรม ความต้องการใช้งานของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ 2) แบบสัมภาษณ์ <br />3) แบบสำรวจผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม และ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมต่อการใช้ระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยผลการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะพบว่า</p> <p> ระยะที่ 1 ผลการสำรวจความต้องการใช้งานของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการใช้งานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 ส่วนเบี่ยงเบน<br />มาตรฐาน .42 ระดับความต้องการมาก</p> <p> ระยะที่ 2 ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่และเกษตรกรพบว่าข้อมูลในปัจจุบันที่มีการจัดเก็บยังไม่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐาน และต้องการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ข้อมูลพื้นฐานเกษตรกร บรรยากาศ กิจกรรม จุดเด่น และช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสื่อออนไลน์ ผ่านการใช้งาน QR Code เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานข้อมูล</p> <p> ระยะที่ 3 ผลการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 พบว่ามีเกษตรกรที่ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จำนวน 54 ราย จากทั้งหมด 5 ตำบลในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา</p> <p> ระยะที่ 4 ผลการพัฒนาและศึกษาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศ ตามกระบวนการขั้นตอนการพัฒนาระบบพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน (System Development Life Cycle: SDLC) พัฒนาโดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลบนเว็บ ภาษา<br />ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์นี้ได้แก่ HTML5, PHP และ Bootstrap เพื่อรองรับการปรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น เผยแพร่ระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บนโดเมนเนมชื่อ www.pak8riew.com ผลการประเมินความเหมาะสมพบว่ามีความเหมาะสมของการใช้งานระบบโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ระดับความเหมาะสมมากที่สุด</p> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/271441 หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิต 2024-11-07T14:13:06+07:00 ภูมิพงษ์ ดวงตั้ง pumipong@crru.ac.th อธิคม ศิริ pumipong@crru.ac.th อัญชลี ทิพย์โยธิน pumipong@crru.ac.th <p>หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิตเป็นการสื่อดิจิทัลนวัตกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่เพื่อการเข้าเยี่ยมชมสถานที่ในรูปแบบของโลกเสมือนจริงโดยผ่านแพลตฟอร์ม Metaverse spatial โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาหอปรัชญารัชกาลที่ 9 บนโลกจักรวาลนฤมิต โดยขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเริ่มจากการสร้างโครงสร้างอาคาร 3 มิติ โดยออกแบบจากแบบแปลนอาคารจริงทั้งภายในและภายนอกหลังจากนั้นทำการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อเก็บสำรองข้อมูลโครงสร้าง 3 มิติของอาคารหอปรัชญารัชกาลที่ 9 และออกแบบระบบเพื่อรองรับการอับโหลดข้อมูลขนาดใหญ่เข้าสู่แพลตฟอร์ม Metaverse spatial เพื่อเผยแพร่ให้สามารถเข้าใช้งานเพื่อเข้าเยี่ยมชมผ่านแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ เมื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาเรียบร้อยได้นำไปให้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่าง 50 พบว่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุดอยู่ 4 ด้าน คือด้านการออกแบบและความสวยงาม ด้านการใช้งานและความทันสมัย ด้านความพร้อมของระบบ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.66 4.7 4.76 และ 4.72 ตามลำดับ และความพึงพอใจในด้านการความสมบูรณ์ครบองค์ประกอบของสถานที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก จากการประเมินความพึงพอใจหอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิตโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66</p> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/268101 การเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของผ้าลายขิดเพื่อสร้างสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน และเสริมสร้างเศรษฐกิจ รากหญ้า บ้านโปร่งเขนง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 2024-08-20T20:07:58+07:00 เกศินี บัวดิศ kesinee.b@cpu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบลวดลายผ้าขิดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญการทอผ้าจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มแบบสอบถามแบบเจาะลึกของกลุ่มทอผ้าสตรีบ้านโปร่งเขน่ง แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการออกแบบของสีและลวดลายผ้าด้วยแนวคิดในการออกแบบการใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการออกแบบลวดลายผ้าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>1) ลวดลายขิดไม้รอด ของกลุ่มทอผ้าสตรีบ้านโปร่งเขนงที่ผ่านการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษแม่ ยาย และการเรียนรู้ ได้แก่ การสังเกตจากผู้ทอผ้าการบอกกล่าวหรือการเรียนด้วยตนเองรวมทั้งได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานของรัฐการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างการสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องของลวดลายผ้าประสบการณ์ในการทอผ้า 5-30 ปี และลวดลายที่มีความชำนาญ คือ ลายขิด ลายมัดหมี่ การทอผ้ามีเทคนิค มาจาก ยายและแม่ ปัญหาที่พบในระหว่างการทอผ้า คือ ระยะเวลาเร่งรีบในการทอจำกัดมากหรือมีงานเข้ามาต้องเร่งทอให้ทันตามนัด</p> <p> 2) ผู้วิจัยได้ออกแบบลวดลายผ้าด้วยโปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 10 ลาย ได้แก่ 1) ลายข้าวหลามตัดใจร้อยดวง 2) ลายหัวใจสอง 3) ลายช่อดอกบุษบา 4) ลายมณีหัตถเกศ 5) ลายก้านมงกุฎช่อม่วง 6) ลายลูกข่าง 7) ลายขิดประยุกต์ 8) ลายกำแพงเมือง 9) ลายกลีบดอกไม้ และ 10) ลายใบชบา และ 2) ภาพรวมผลการประเมินคุณภาพของลายผ้าทอที่ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ย ( =3.81) อยู่ในระดับมาก มีลายลูกข่าง ลายก้านมงกุฎช่อม่วงและลายสองหัวใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.3) เป็น 3 ลำดับแรกที่ผู้ทอผ้าเกิดความพึงพอใจในลวดลายและนำลายผ้ามาทอจนได้ผ้าตัวอย่าง จำนวน 3 ลาย รวมทั้งได้เก็บข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจากประธานกลุ่มทอผ้าสตรีบ้านโปร่งเขนงและช่างทอผ้าจำนวน 4 ท่านมีความคิดเห็นด้วยกับคุณภาพของลายทอผ้าทอมือที่ออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/273079 ชนรุ่นกับความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล 2024-09-17T22:04:51+07:00 ครรชิต ทรรศนะวิเทศ Joincheon1988@gmail.com อุทัย เลาหวิเชียร Joincheon1988@gmail.com สุวรรณี แสงมหาชัย Joincheon1988@gmail.com โสภิน โพยมรัตนสิน Joincheon1988@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการรับรู้ของพนักงานภาครัฐในแต่ละชนรุ่นเกี่ยวกับบทบาทความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารระดับกลาง คำถามการวิจัยคือ (1) ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลในความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานแต่ละชนรุ่นเป็นอย่างไร (2) ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลในความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานแต่ละชนรุ่นมีความแตกต่างกันหรือไม่? การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับบทบาทความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลตามกรอบการแข่งขันค่านิยม Competing Values ​​Framework (CVF) ของ Quinn โดยสุ่มตัวอย่างจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 227 คน</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> มุมมองของบทบาทความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานแต่ละชนรุ่น โดยระดับคะแนนที่ 1 และ 2 ที่คาดหวังสำหรับทั้งชนรุ่น X และชนรุ่น Y คือบทบาทผู้อำนวยการ และผู้ผลิต นอกจากนี้ คะแนนลำดับที่ 3-5 ซึ่งเหมือนกันในแต่ละชนรุ่น เป็นบทบาทของผู้อำนวยความสะดวก, ผู้ประสานงาน และผู้สร้างนวัตกรรม แต่ชนรุ่น X ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 5 เป็นเป็นนักประดิษฐ์ ส่วนชนรุ่น Y ผู้สร้างนวัตกรรมจะเลื่อนขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 3 และกลุ่มสุดท้ายในลำดับที่ 6-8 จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ตรวจตรา และนายหน้าเช่นเดียวกัน โดยทั้งสองชนรุ่นมีความคาดหวังต่อนายหน้าเป็นลำดับที่ 8 อันเป็นลำดับสุดท้ายเหมือนกัน ผลการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลที่ใช้ช่วยในการสร้างยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลองค์การ และช่วยในการวางแผนงานด้านการฝึกอบรมผู้บริหารระดับกลางในองค์การ</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/267208 THE CRITICAL THINKING STATUS OF DANCE MAJOR STUDENTS IN UNIVERSITIES IN INNER MONGOLIA 2024-01-07T15:10:31+07:00 Bo Yang sunisa.du@ssru.ac.th Manissa Vasinarom manissa.va@ssru.ac.th Jianxing Shi sunisa.du@ssru.ac.th <p>This study aims to study the current status of critical thinking among dance major students in universities in Inner Mongolia. Adopting quantitative research methods, 308 dance major students from three universities in Inner Mongolia are selected as research samples. Data is collected through questionnaire survey and analyzed by SPSS 26.0 statistical software. Through descriptive statistical analysis and dimensional analysis, the demographic characteristics of students, the overall level of critical thinking, and the performance of critical thinking ability in different dimensions are discussed.</p> <p><strong>The results of the research found that:</strong></p> <p> 1) The average score of 308 dance major students is 114.19 points, indicating that their overall critical thinking ability is at a medium level.</p> <p> 2) Students still have room for improvement in aspects such as maturity (average 14.56), openness (average 14.78), and truth-seeking (average 15.92), but they show strong critical thinking ability in dimensions such as analysis (mean = 17.75), confidence (mean = 17.38), and curiosity (mean = 17.19).</p> <p> 3) The results of this study are partially different from related studies, which also reflects the effectiveness of dance major education in cultivating students' critical thinking.</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร