TY - JOUR AU - มหายศ, ณัฐวิโรจน์ AU - แจ้งโรจน์, วรินธร PY - 2022/10/16 Y2 - 2024/03/29 TI - การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง JF - วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร JA - ISSC VL - 5 IS - 4 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/issc.2022.23 UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/255616 SP - 36-45 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการสื่อสารที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง 2) ศึกษาความเป็นตัวตนของชาวปิล๊อกอีต่อง และ 3) ศึกษาผลกระทบของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและการสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งหมด 12 ท่าน</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะการสื่อสารที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่องส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว โดยมีเรื่องศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตลอดสร้างความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างกัน 2. ความเป็นตัวตนของชาวปิล๊อกอีต่องเป็นไปในลักษณะผสมกลมกลืนกันจนเป็นเอกลักษณ์ของชาวปิล๊อกอีต่องส่วนใหญ่จะมีตัวตนแบบไทยแต่ยังคงอัตลักษณ์ของตนเองเอาไว้ เช่น ภาษา การแตง่กาย อาหารการกิน บ้านเรือน จนกลายเป็นสถานที่ผสมผสานกกมกลืนทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัว และ 3. ผลกระทบของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่องนั้นไม่มีเลย เนื่องจากผู้คนในปิล๊อกอีต่องต่างเข้าใจ นับถือกันเป็นญาติมิตร อีกทั้งยังต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองให้เท่าเทียมและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์บนหุบเขาที่สวยงาม รวมถึงการยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายซึ่งกันและกันอย่างสันติวิธี</p> ER -