TY - JOUR AU - นิโรจน์, รินระดา AU - บูรณะวิทยาภรณ์, สุพิชา PY - 2022/10/16 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และคุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ JF - วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร JA - ISSC VL - 5 IS - 4 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/issc.2022.27 UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/253201 SP - 81-92 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการในการท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 4) ศึกษาปัจจัยภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ 5) ศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ</p><p>กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยคือ นักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ‘Silver age tourist’ &nbsp;จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; และทำการทดสอบสมมติฐานด้วย F-test (One-way ANOVA) และ Multiple regression analysis</p><p>ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและความคิดเห็นด้านคุณภาพการบริการที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านบริการที่พัก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการเสริม และด้านสิ่งดึงดูดใจ และยังพบว่าปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น ด้านการตอบสนอง ด้านความมั่นใจได้ ด้านรูปธรรมการบริการ และด้านความเชื่อถือได้ ซึ่งหน่วยงานและผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการสามารถนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ ไปใช้ในการแบ่งกลุ่มการตลาด หรือนำไปปรับปรุงต่อยอดปัจจัยภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยคุณภาพการบริการเพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยในการท่องเที่ยวในประเทศต่อไป</p> ER -