TY - JOUR AU - สุขสีดา, ธวัชชัย AU - Korcharoen, Mon PY - 2022/05/22 Y2 - 2024/03/29 TI - การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal) JF - วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร JA - ISSC VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/249341 SP - 63-74 AB - <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีการดำเนินงานวิจัยเป็น 2 ระยะ เริ่มต้นด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการศึกษาผู้ส่งสารและตามด้วยวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการศึกษาผู้รับสาร 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal) 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal) โดยมีการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) บุคลากรฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนนโยบายการเผยแพร่ข้อมูลทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มียอดนักศึกษาเข้าใหม่สูงสุด 5 อันดับแรก (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2563)&nbsp; จำนวน 5 ท่าน และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถาม (Questionnaire) นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มียอดนักศึกษาเข้าใหม่สูงสุด 5 อันดับแรก จำนวน 400 ชุด ตามสัดส่วนประชากรของมหาวิทยาลัยเอกชนในแต่ละแห่ง ผลการวิจัยพบว่า ในสถานการณ์ COVID-19 ในยุควิถีใหม่ (New Normal) ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความต่อเนื่องทางธุรกิจในยุคดิจิทัลใหม่ (Business Continuity in a New Digital Era) การนำเสนอข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ เป็นการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านรูปแบบการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขายและการตลาดเชิงกิจกรรม โดยส่งผลต่อผู้รับสารในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มาจากการรับรู้คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ของทางสถาบันในด้านตระหนักรู้ในตราสินค้า (Brand Awareness) ด้านการรับรู้คุณภาพ (Perceived Quality) และการเชื่อมโยงต่อตราสินค้า (Brand Associations) ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่มีการหาข้อมูลและถามตอบในรูปแบบดิจิทัลตลอดช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distancing&nbsp; ในยุควิถีใหม่ (New Normal) นั้นได้จุดประกายให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสื่อสารทางธุรกิจโดยสิ้นเชิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการศึกษา โดยมีการปรับสมดุลไปสู่กลยุทธ์การตลาดแบบบูรณาการแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มตลอดจนการดำเนินการจากระยะไกลและเครื่องมือเสมือนจริงจนเกิดเป็น "การตลาดตัวต่อตัวแบบดิจิทัลเสมือนจริง "Virtual Digital Marketing Face to Face” ในการสร้างการรับรู้คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ในยุควิถีใหม่ (New Normal)</p><p>&nbsp;</p> ER -