TY - JOUR AU - พูลสวัสดิ์, อนพัทย์ AU - รักธรรม, อรุณ AU - ฉิรินัง, เพ็ญศรี AU - ธาระวาส, ชาญ PY - 2022/05/22 Y2 - 2024/03/29 TI - ตัวแบบวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย JF - วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร JA - ISSC VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/246300 SP - 86-102 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน และวัฒนธรรมองค์การ ขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ และกระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย และ 3) เพื่อเสนอตัวแบบวัฒนธรรมองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานองค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายชั้นโดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 196 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 15 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ระดับของวัฒนธรรมองค์การ กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืนและความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่า วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน ผ่านกระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน จากการบูรณาการผลการศึกษาทั้งหมดที่ได้เข้าด้วยกัน ผู้วิจัยสามารถนำมาสังเคราะห์เป็นตัวแบบโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตัวแบบวัฒนธรรมองค์การแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นบริบทภายในองค์การล้อมรอบด้วยบริบทภายนอกองค์การที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยบริบทภายในที่มีผลต่อความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน มีองค์ประกอบ 3 มิติ คือ (1) วัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วย วัฒนธรรมด้านพันธกิจ วัฒนธรรมด้านการปรับตัว วัฒนธรรมด้านเอกภาพ และวัฒนธรรมด้านการมีส่วนร่วม (2) กระบวนการขับเคลื่อนองค์การสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน โครงสร้างการกำกับดูแล และกระบวนการการกำกับดูแล (3) ตัวชี้วัดความเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม</p><p><strong>&nbsp;</strong></p><p>&nbsp;</p><p>&nbsp;</p> ER -