TY - JOUR AU - นาทะพันธ์, สรายุทธ์ AU - วัฒนาธร, วรพนธ์ AU - มิ่งขวัญ, รัฐชาติ AU - เตมัยสมิธิ, วรัมพา PY - 2020/12/07 Y2 - 2024/03/29 TI - นวัตกรรมทางการเงินสำหรับผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย JF - วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร JA - ISSC VL - 3 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/245620 SP - 222 - 243 AB - <p>งานวิจัยนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยด้วยนวัตกรรมทางการเงิน ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีผู้มาลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 14.1 ล้านคน แต่ผ่านคุณสมบัติผู้มีรายได้น้อยเพียง 11.4 ล้านคน กำหนดโดยกระทรวงการคลังซึ่งระบุว่า ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ในปี 2559 ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน หรือมีแต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method Research) แบ่งเป็น การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อจำแนกผู้มีรายได้น้อยออกเป็น 3 กลุ่ม และนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผลจากการวิจัยจำแนกกลุ่มผู้มีรายได้น้อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ 2. กลุ่มที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 3. กลุ่มที่มีศักยภาพและยกระดับให้พ้นจากการเป็นผู้มีรายได้น้อย นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือคือ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะเวลา 5 ปี และโครงการพัฒนาขีดความสามารถผ่านหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คือ 1. โครงการสินเชื่อสวัสดิการแห่งรัฐระยะยาว 90 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปีตลอดโครงการ จะต้องผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเดือนละ 1,000 บาท และภาระหนี้จะเป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน ด้วยแนวคิดที่ว่า ผ่อนชำระหนี้เหมือนจ่ายค่าเช่าแต่ได้ที่ดินเป็นมรดกสู่ลูกหลาน และ 2. โครงการ Agricultural Platform 4.0 โดยหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับเอกชน พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทย โดยให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าร่วมเป็นสมาชิกและใช้แพลตฟอร์มเพื่อการซื้อขายสินค้าเกษตรโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม นวัตกรรมทางการเงินสำหรับกลุ่มที่มีศักยภาพละยกระดับให้พ้นจากการเป็นผู้มีรายได้น้อยคือ 1. โครงการสินเชื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเงินลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรกลการเกษตร และพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรด้วยแพลตฟอร์มการเกษตร ระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และ 2. โครงการ Agricultural Platform 4.0 โดยหน่วยงานภาครัฐ</p> ER -