@article{พงศ์สะอาด_เลาหวิเชียร_2022, place={Bangkok,Thailand}, title={ปรีดี พนมยงค์กับแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทย}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/article/view/252839}, DOI={10.14456/issc.2022.31}, abstractNote={<p>การศึกษาเรื่องปรีดี พนมยงค์กับแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวคิดและผลงานของนายปรีดี พนมยงค์ ในการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทยในด้านรายได้และภาษีอากร ด้านการเงินการคลังและด้านวินัยทางการคลังและงบประมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คนซึ่งเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า นายปรีดี พนมยงค์มีแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เน้นบทบาทรัฐในการจัดการทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปการบริหารงานคลัง ด้านรายได้และภาษีอากร ได้แก่ การออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีใหม่ การลดและยกเลิกเงินรัชชูปการ ฯลฯ และสถาปนาประมวลรัษฎากร  ด้านการเงินการคลังได้แก่การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเรือจนสำเร็จนำไปสู่การยกเลิกภาษีร้อยชักสาม จัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย และปรับปรุงทุนสำรองของประเทศรวมถึงดำเนินนโยบายผูกหูทองคำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้านการสร้างวินัยทางการคลังและเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐสภาในการงบประมาณ ได้ปรับปรุงระบบงบประมาณและออกพระราชบัญญัติอนุญาตให้รัฐบาลจ่ายเป็นไปพลางก่อน พ.ศ. 2489 เป็นที่มาของพระราชบัญญัติเงินคงคลังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เป็นการนำแนวคิดการบริหารงานคลังมาใช้ในการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475  จึงมีคุณูปการต่อองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการบริหารงานคลังสาธารณะที่เป็นการปูพื้นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน</p>}, number={4}, journal={วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร}, author={พงศ์สะอาด อรัญญา and เลาหวิเชียร อุทัย}, year={2022}, month={ต.ค.}, pages={119–129} }