วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU <p>วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ เริ่มจัดพิมพ์วารสารฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เม.ย. – ก.ย. 49) ต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงชื่อวารสารเป็น<strong> อินทนิลทักษิณสาร (Inthaninthaksin Journal) ตั้งแต่ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน</strong> โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทรรศน์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ หรือสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ มานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ นิติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา เป็นต้น โดยมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 มกราคม – กันยายน และ ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม และได้ประกาศเปลี่ยนแปลงจำนวนฉบับในการตีพิมพ์เป็นปีละ 3 ฉบับ เมื่อเดือนตุลาคม 2565 เป็น ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน), ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) และ ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> <h3>วารสารอินทนิลทักษิณสาร</h3> <p><strong>ISSN 3027-6403 (Online)</strong></p> <p>Online ISSN 2672-9660 <strong>(ยกเลิก)</strong><br />Print ISSN 2672-9652 <strong>(ยกเลิก)</strong></p> <p>ปัจจุบัน วารสารอินทนิลทักษิณสาร (INTHANINTHAKSIN JOURNAL) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI ให้เป็นวารสาร "TCI กลุ่มที่ 2" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2567</p> <h3>อัตราการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์ผลงาน</h3> <p>อัตราการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ จะจัดเก็บในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าบริหารจัดการ ทั้งนี้ตั้งแต่ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565) เป็นต้นไป ในอัตราดังนี้<br /><strong>1. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ / บุคลากรและนิสิตภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ</strong> บทความละ 3,000 บาท (-สามพันบาทถ้วน-) กรณีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมให้จัดเก็บในอัตรา 1,000 บาท/ท่าน (-หนึ่งพันบาทถ้วน-)<br /><strong>2. บุคลากร และนิสิต สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ</strong> จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์<br />โดยทางวารสารจะเก็บค่าตีพิมพ์ดังกล่าวหลังจากบรรณาธิการตอบรับการพิจารณาเบื้องต้นและตรวจสอบรูปแบบการเขียนตามแนวทางที่วารสารกำหนดเรียบร้อยแล้ว หลังจากการชำค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทางกองจัดการฯ จะดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความต่อไป</p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ th-TH วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ 2672-9652 บทบรรณาธิการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/273084 <p>เข้าสู่วัสสานะแห่งแดนทักษิณสยาม วารสารอินทนิลทักษิณสาร ฉบับที่ 19 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2567 ได้ฤกษ์เผยแพร่อีกครั้ง โดยยังคงมีผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเฉกเช่นเดิม จากการคัดเลือกของกองบรรณาธิการ ทำให้ได้บทความวิชาการ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) บทความเรื่อง มหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18: กิจกรรมรำลึกสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน&nbsp; 2) บทความเรื่อง นิราศหวยเลิก: เรื่องเล่าเกี่ยวกับคนเล่นหวย ในปลายศตวรรษ 2495 และ 3) บทความเรื่อง กลอนนิราสปากพนังของหลวงประคองคดี: ลักษณะเด่นและความสัมพันธ์กับท่วงทำนองการแต่งของสุนทรภู่ และบทความวิจัย จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) บทความเรื่อง ความเชื่อมั่นและการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 2) บทความเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3) บทความเรื่อง การศึกษาการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรรายย่อย ในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) บทความเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 5) บทความเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในภาวะวิกฤตของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเกษตรศาสตร์ : กรณีศึกษา “แฟนเพจเฟซบุ๊ก เกษตรแฟร์ ออนไลน์” ในช่วงโรคระบาดโควิด-19</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ทางกองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ประพันธ์ทุกท่านที่ต่างเลือกให้วารสารของเราได้มีส่วนในการช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ดีๆ ของท่านเหล่านั้น แม้ว่าบางบทความอาจจะถูกปฏิเสธไปด้วยเหตุผลบางประการก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามทางกองบรรณาธิการ จะพยายามปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้วารสารที่มีคุณภาพที่ดียิ่งๆ ขึ้น หากการดำเนินงานใดของวารสารมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ท่านสามารถให้ข้อเสนอแนะหรือท้วงติงมายังวารสารได้ &nbsp;และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางวารสารของเราจะได้รับความไว้วางใจจากนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิอย่างต่อเนื่องในวาระถัดไป</p> เสริมศักดิ์ ขุนพล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 5 6 การศึกษาการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรรายย่อย ในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/267220 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรรายย่อยในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยง กุ้งขาวแวนนาไม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม ตลอดจนศึกษาปัญหาในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจากเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 170 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ได้รับผลตอบแทนสุทธิต่อไร่สูงกว่าต้นทุนต่อไร่อยู่ไร่ละ 127,191.67 บาท/ไร่/รอบ (2 เดือน) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ได้แก่ อัตราการปล่อยลูกกุ้ง ค่าอาหารกุ้ง และจำนวนแรงงานจ้าง ส่วนปัญหาของเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม พบว่า เกษตรกรมีปัญหา ในด้านการผลิตและการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>This research aims to study the Vannamei shrimp production of smallholder farmers in Koh Phet Subdistrict, Hua Sai District, Nakhon Si Thammarat Province. The objectives are to: (1) study costs and returns of Vannamei shrimp, (2) study the factors influencing the production of Vannamei shrimp, and (3)study problems in Vannamei shrimp farming by collecting their data with a systematic sampling method, totaling 170 households. It was found that the net returns per rai are higher than the costs per rai at 127,191.67 baht /rai/cycle (2 months). The factors influencing the yield of Vannamei shrimp farmers were rate of releasing baby shrimp, cost of shrimp feed, and number of hired labours respectively. In the study of problems of Vannamei shrimp farmers, it was found that farmers had problems in production and marketing at the highest level.</p> สุธรรม ขนาบศักดิ์ เสาวลักษณ์ พรหมศร Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 127 156 ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/268953 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาการพัฒนาศักยภาพพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง และเพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจบ้านปลายคลอง ตำบลตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีประชากรศึกษาจำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มองค์กรชุมชนบ้านปลายคลอง กลุ่มผู้นำประธานชุมชนบ้านปลายคลอง และกลุ่มประชาชน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและกระบวนการเทคนิค SWOT Analysis ผลการวิจัย พบว่า บริบทชุมชนเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน พื้นที่เหมาะแก่การเกษตร เช่น สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปัญหาการพัฒนาศักยภาพพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ ชุมชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการตนเอง การประชาสัมพันธ์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ชุมชนจึงขาดความสามารถในการคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ การพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ พบว่ามี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้วยการพึ่งตนเอง เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกิจกรรมพัฒนาอาชีพที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง 2) ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข เป็นการฝึกอบรมนี้ให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน 3) ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน สร้างเครือข่ายกลุ่มองค์กรในชุมชนภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐและการเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ 4) ยุทธศาสตร์เชิงวิกฤต มีการวางแผนพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการนำยุทธศาสตร์ชาติหรือยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ มาประยุกต์กับชุมชนเน้นการพึ่งพาตนเองโดยให้ประชาชนในชุมชนปฏิบัติด้วยตนเอง</p> <p>The objectives of this research are to study context and problems of potential development of self-reliant economy community and to study the potential development of Ban Plai Khlong self-reliant economy community in Tapan Subdistrict, Phun Phin District, Surat Thani Province. Thirty specified samples are representatives of organizations at Ban Plai Khlong community groups, which are leaders, community's presidents, and also members of the community. Materials are in in-depth interviews, focus group discussion, workshop stages, and SWOT analysis. The results indicated that certain areas of Ban Plai Khlong are plains, with the Tapee River flowing through The results indicated that certain areas of Ban Plai Khlong are plains, with the Tapee River flowing through them, which is appropriate for agriculture such as rubber and oil palm plantations. The community faces challenges in developing a self-reliant economy due to inadequate management knowledge and understanding, as well as a deficiency in public relations. The government does not give any importance to potential development, which has resulted in the missing ability for new creations. There are four potential strategies for developing a self-reliant economic community: 1) SO Strategy: Community development to develop their self-reliant economy. The members can plan the development plan and create activities to develop their occupations, 2) WO Strategy: An academic knowledge training for the members to have a sustainable, self-reliant community and to develop the infrastructure, 3) ST Strategy: Synergize a network of groups in the community under government cooperation and cooperation to develop their self-reliant community, and 4) WT Strategy: There should be a plan for developing the potential of a self-reliant economy community and the community's infrastructure.</p> เมธิกา เมฆฉาย Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 157 181 ความเชื่อมั่นและการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/269543 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่น การยอมรับ เปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่น และศึกษาเปรียบเทียบระดับการยอมรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเอฟ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการยอมรับอยู่ในระดับมาก ข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเพศ และความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับการยอมรับในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> <p>This study aimed to investigate and compare levels of confidence and acceptance the performance appraisal system for local government official under the subdistrict administrative organizations in Mueang District, Trang Province, classified by personal factors. This research was a quantitative study. The sample group consisted of 160 local government officials under the subdistrict administrative organizations in Mueang District, Trang Province. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for differences between means, and F-test for differences between means.</p> <p>The research results revealed that the overall level of confidence in the performance appraisal system for local government officials under the subdistrict administrative organizations was high. The level of acceptance was also high. Local government officials under the subdistrict administrative organizations with different ages, average monthly incomes, and understanding of the performance appraisal system had significantly different levels of confidence in the performance appraisal system at the 0.05 level. Additionally, local government officials under the subdistrict administrative organizations with different genders and understanding of the performance appraisal system had significantly different levels of acceptance of the performance appraisal system at the 0.05 level.</p> ปรารถนา หลีกภัย Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 81 100 กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในภาวะวิกฤตของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเกษตรศาสตร์ : กรณีศึกษา “แฟนเพจเฟซบุ๊ก เกษตรแฟร์ ออนไลน์” ในช่วงโรคระบาดโควิด-19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/269925 <p>งานวิจัยนี้เป็นการผสานรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา <em>1) ความเป็นมาและการดำเนินการ</em> 2) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในภาวะวิกฤตโควิด-19 และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อความนิยมในการสั่งซื้อสินค้าเกษตร <em>ของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเกษตรศาสตร์บนพื้นที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก เกษตรแฟร์ ออนไลน์</em> สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง<em>โดยใช้เกณฑ์พิจารณาเลือกเฉพาะผู้ขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร</em> <em>ในที่นี้แบ่งเป็น</em>ผู้ขายสินค้าเกษตร 3 กลุ่ม คือ ผู้จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ผู้จำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาล และผู้จำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์การเกษตร รวมจำนวน 100 ตัวอย่าง ร่วมกับ<em>การวิเคราะห์ตัวบท</em>รายการโพสต์ในช่วงเดือน เมษายน 2563 ถึง มิถุนายน 2563</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาและการดำเนินการของ “แฟนเพจเฟซบุ๊ก เกษตรแฟร์ ออนไลน์” เกิดจาก “สำนึกความเป็นพวกเดียวกัน” ภายใต้ “ตราสถาบันเกษตรศาสตร์” โดยมีรูปแบบการดำเนินการโดยใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์แฟนเพจเฟซบุ๊กเป็นพื้นที่เชิงเสมือน เพื่อรวมกลุ่มและสื่อสารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีผู้ประกอบการสินค้าเกษตรที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ลูกค้างานเกษตรแฟร์ และเกษตรกร เป็นกลุ่มหลักในการสื่อสาร 2) พบกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้ขายสินค้า ได้แก่ <em>การใช้สื่อออนไลน์เพื่อสื่อสารการตลาด โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ การสื่อสารคุณค่าเชิงความหมาย และคุณค่าเชิงประโยชน์ใช้สอย ส่วนกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤตพบกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อระดมทรัพยากร และ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟู</em> 3) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่สำคัญซึ่งมีผลต่อความนิยมในการสั่งซื้อสินค้าเกษตรไม่เพียงแค่กลยุทธ์การสื่อสารที่ว่าด้วยคุณค่าเชิงประโยชน์ใช้สอย แต่ยังรวมถึงการสื่อสารคุณค่าเชิงความหมายที่<em>ให้คุณค่าทางจิตใจ</em>จำเพาะสำหรับกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเกษตรศาสตร์ในรูปแบบของอาณาจักรแฟน</p> <p>This research study was conducted by utilizing a combination of quantitative and qualitative research formats to study 1) the history, operations, 2) marketing communication strategies during the COVID-19 pandemic, <em>of the Kasetsart subculture group through the “Kaset Fair Online” Facebook page, </em>and 3) its effect on the popularity of agricultural product purchasing behavior. In this regard, purposive sampling was conducted on 3 groups of agricultural product vendors comprising a total of 100 samplings, namely: agricultural product distributors, seasonal fruit vendors, and distributors of trees and agricultural equipment. Additionally, the sampling was conducted collaboratively with the <em>textual analysis</em> of posts during the period of April-June 2020.</p> <p> Consequently, the results of the research revealed that 1) Facebook pages and communication strategies were the result of the “We-Feeling” under the “Kasetsart banding,” which utilized the Facebook online social media network as a virtual space to foster group gatherings and facilitate communication in times of crisis. The core communication group of the virtual gathering consisted of agricultural product entrepreneurs former users, current students, agricultural fair customers, as well as farmers, 2) employed the following marketing communication strategies during the COVID-19 pandemic; applying the strategies in the group of communicating through <em>signs and using values, </em><em>while in the section on crisis communication strategies, communication strategies for mobilization and recovery are found</em>, and 3) The important marketing communication strategies that affect the popularity of procuring agricultural products are not only strategies regarding use value, <em>but also sign value that gives mentality value, </em>which specifically for the “Kasetsart Subculture” in the form of the Fandom territory.</p> สุชีรา มาตยภูธร สุเมธ ชัยไธสง Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 183 206 แนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/270954 <p>การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ประเภทใกล้เคียง เป็นที่รู้จักในระดับประเทศของไทย และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ จำนวน 8 แห่ง จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์สามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การบริหารจัดการโดยรัฐ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายไม่มุ่งเน้นเก็บค่าบริการเข้าชม แต่รัฐต้องแบกรับค่าใช้จ่ายซึ่งมีความเสี่ยงในการไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 2) การบริหารจัดการโดยเอกชน ประชาชนเข้าถึงได้โดยต้องเสียค่าบริการ มุ่งเน้นความบันเทิงและสนุกสนานมากกว่าการให้ความรู้ทางวิชาการ และ 3) การบริหารจัดการแบบกึ่ง (ตนเอง + Outsource) มีแนวทางจัดหารายได้สนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ด้วยการจัดสรรพื้นที่หรือเลือกเนื้องานบางส่วนให้เอกชนเช่าหรือรับดำเนินการเพื่อหารายได้และลดค่าใช้จ่าย โดยสามารถเสนอแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่เหมาะสม คือ การบริหารจัดการแบบกึ่ง เพราะมหาวิทยาลัยสามารถจัดหารายได้จากการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดรายได้ และกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ การลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เพื่อผู้ใช้บริการไม่ต้องแบกรับค่าบริการเข้าชมที่สูงจนเกินไป ส่งผลต่อการลดทอนโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้</p> <p>The study on management guidelines for MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University has the following objectives 1)to conduct a comparative study of the management of similar types of museums that are well- known at the national level <span style="text-decoration: line-through;">of</span> in Thailand and 2) to propose effective management guidelines for the MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University. Effective Walailak University. The research employed qualitative research methods using in-depth interviews with selected groups of executives and officials from eight museum, who have authority, duties. and knowledge and understanding related to museum formats and management and be aware of various problems in managing museums well.</p> <p> The study found that museum management can be categorized into 3 models: 1) state management, in which public access is easy with minimum entrance fees, but the state must bear the costs, risking a lack of continuous budget support, 2) private management: public access is granted through paid services, with a focus on entertainment and enjoyment rather than academic knowledge, 3) Semi-management (self+outsource) involving generating income to support the museum's operations by allocating space or selecting certain works to be rented or received by the private sector to generate income and reduce costs.The recommended management approach for the MAHA CHAKRI SIRINDHORN Natural History Museum, Walailak University is the semi-managed model because the university can generate income by managing the area. Revenue and academic service activities to increase income as well as reducing utility costs, ensuring that visitors are not burdened with excessively high entrance fees, which could limit access to this valuable educational resource.</p> สายฝน จิตนุพงศ์ รุ่งรวี จิตภักดี พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 101 125 มหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18: กิจกรรมรำลึกสู่การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/268503 <p>การจัดงานรำลึกถึงกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ จัดมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ปัจจุบันกิจกรรมรำลึกยังคงอยู่และมีกิจกรรมอื่นๆ มากมาย จากกิจกรรมรำลึกสู่งานมหกรรม บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมที่จัดในมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 กับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสาร ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตีความ จำแนกองค์ประกอบ จัดระบบข้อมูล เชื่อมโยง เปรียบเทียบเนื้อหาและสรุปข้อมูลเขียนเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า กิจกรรมของมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่18 มี 10 กิจกรรมคือ กิจกรรมค่ายนักเขียน กิจกรรมค่ายศิลปะ “ศิลป์สร้างสุข” กิจกรรมค่ายเพลงดนตรีเยาวชน “ศิลป์สร้างสุข” กิจกรรมการเสวนาปาฐกถางานวรรณกรรม กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม ปักษ์ใต้ กิจกรรมรำลึกการจากไปของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ กิจกรรมมอบรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ครั้งที่ 8 กิจกรรมคอนเสิร์ตหุบเขาฝนโปรยไพร ครั้งที่ 18 กิจกรรมประทับมือศิลปินแห่งชาติ และกิจกรรมการเที่ยวชมหลาดใต้โหนด ในด้านความสัมพันธ์ของมหกรรมศิลปวัฒนธรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 กับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน 3 มิติคือ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจและมิติสิ่งแวดล้อม ทำให้กิจกรรมรำลึกกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในชื่องานมหกรรมหุบเขาฝนโปรยไพรครั้งที่ 18 มีส่วนช่วยเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน มีการบูรณาการกระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม</p> <p>The commemorative activities for Kanokpong Songsomphan have been continuously organized for a long time. Currently, the commemorative activities still exist and have many other activities, from commemorative activities to fairs. The purpose of this article is to study the activities organized at the 18<sup>th</sup> Arts and Culture Hoobkhoa Festival and to investigate the relationship between the 18<sup>th</sup> Arts and Cultural Hoobkhoa Festival and the sustainable development of the community economy using qualitative research methods. Data were collected through field visits, non-participant observation, and further study of documents using techniques to analyze document data related to the 18<sup>th</sup> Arts and Culture Hoobkhoa Festival; then use the obtained data to analyze, interpret, and classify elements, organize information, link, compare content, and summarize information in descriptive writing. From the study, it was found that there are 10 activities organized at the 18<sup>th</sup> Arts and Cultural Hoobkhoa Festival: writer camp, activities art camp activities “Art creates happiness,” youth music camp activities “Art creates happiness,” literary lecture discussion activity Southern arts and cultural activities, activities to remember the passing of Kanokpong Songsompan, activities to present 8<sup>th</sup> Kanokpong Songsomphan Award activity, 18<sup>th</sup> Rain Valley Concert activity, national artist hand-stamping activity, and activities for visiting Lard Tai Nod In terms of the relationship of the 18<sup>th</sup> Arts and Cultural Hoobkhoa Festival with the sustainable community economic driving 3 dimensions: social dimension, economic dimension, and environmental dimension, which make the activity to remember Kanokpong Songsomphan, named the 18th Rainmaking Valley Expo, help sustainably contribute to the community economy, create unity in the community, create income for people in the community, and integrate the process of creating environmental awareness.</p> ชญาน์ทัต เอี่ยวเรืองสุรัติ นธี เหมมันต์ Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 9 33 กลอนนิราสปากพนังของหลวงประคองคดี: ลักษณะเด่นและความสัมพันธ์กับท่วงทำนองการแต่งของสุนทรภู่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/261314 <p> วรรณกรรมร้อยกรองเรื่องกลอนนิราสปากพนังเป็นผลงานของหลวงประคองคดี แต่งช่วงพ.ศ. 2482 กวีบันทึกการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปราชการที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะเด่นของเรื่องนี้คือการดำเนินเรื่องตามขนบของนิราศ ด้วยการพรรณนาความรักความอาลัยที่มีต่อนางอันเป็นที่รัก การเชื่อมโยงสถานที่กับความรู้สึกนึกคิดของกวี การบรรยายธรรมชาติหรือบรรยายสภาพการเดินทาง การบันทึกสภาพสังคม เน้นไปที่ท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งด้านศาสนสถานสำคัญ ด่านและสถานที่ต่าง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องเล่าท้องถิ่น การประกอบอาชีพ กลุ่มประชากร ย่านที่พักนักท่องเที่ยวหรือแหล่งบันเทิงเริงรมย์ สำเนียงภาษา ระบบการขนส่งและสิ่งก่อสร้าง ปัญหาชุมชน และการบริหารจัดการของรัฐท้องถิ่น กวียังแสดงแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ กวีถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านท่วงทำนองการแต่งที่หลากหลาย ได้แก่ การเล่นคำ การหลากคำ การใช้ภาษาเปรียบเทียบ การกล่าวเท้าความ การใช้คำสร้อย และการใช้คำแสดงอารมณ์ โดยพบว่า ท่วงทำนองการแต่งในเรื่องคล้ายกับผลงานของสุนทรภู่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ผลงานประเภทนิราศ ทำให้เห็นอิทธิพลของสุนทรภู่ที่ส่งผลต่อกวีรุ่นหลังอย่างชัดเจน กระนั้น กวีก็สร้างสรรค์ความโดดเด่นของเรื่องเล่าด้วยการบันทึกสภาพสังคมภาคใต้ในทศวรรษ 2480 อย่างลุ่มลึก ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นพลวัตสังคมภาคใต้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้เห็นการสืบสานวรรณคดีประเภทนิราศที่มีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้ขยายขอบเขตวรรณกรรมร้อยกรองประเภทนิราศในสมัยรัตนโกสินทร์ให้กว้างขวางออกไปด้วย</p> <p>The literal work “Klon Niras Pak Phanang” was written by Luang Prakhongkhadee in 1937. It was a record of the poet’s official journey from Bangkok to Pak Phanang district in Nakon Si Thammarat province in the South of Thailand. The outstanding characteristic of this literal work was the poet’s style of writing of which the traditional style of Niras was followed by describing his love and longing for the lady he loved. Also, there were the connections between places he passed and the poet’s feelings, descriptions of the nature or travel conditions, and records of social conditions focusing on those of the Southern areas such as important religious places, checkpoints, and other places as well as the natural resources, folktales, occupations, population, tourist accommodations, or entertainment places, people’s accents, transportation system, buildings, community problems, and local government administration. Moreover, the poet also presented his ideas on various issues which could be adapted for everyday life. The story was narrated via various poetic styles such as puns, diversification, comparison, allusion, suffix, and emotional words. It was also found that Luang Prakhongkhadee’s style of writing was very similar to that of Sunthorn Phu (one of Thai outstanding poets), especially on Niras. This clearly signified the influence of Sunthorn Phu’s works on the poets of later generations. The poet’s narration was prominent because of his deep record on the Southern society conditions in 1937. Apart from more learning the dynamic of Southern societies, the study of this Niras also reflected the continuous inheritance of Niras as a kind of literary work as well as a broader expansion of the horizon of Rattanakosin’s Niras.</p> พัชลินจ์ จีนนุ่น Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 53 80 นิราศหวยเลิก: เรื่องเล่าเกี่ยวกับคนเล่นหวย ในปลายศตวรรษ 2549 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/266009 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมเรื่องนิราศหวยเลิกของนายเฟื่องด้านความคิดความเชื่อ และผลกระทบในการเล่นหวยคนไทย ปรากฏผลการศึกษา ได้แก่ 1) หวย: จากโรงหวยสู่สลากกินแบ่งรัฐบาล แสดงให้เห็นถึงที่มาการเล่นหวยในไทย วิธีการเล่นหวย และการยกเลิกโรงหวย 2) คนเล่นหวย: พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความคิดความเชื่อของคนในสังคมแสดงให้เห็นว่า คนเล่นหวยมีความคิดความเชื่อเรื่องความฝัน มีความคิดความเชื่อเรื่องบุญกรรม รวมไปถึงความคิดความเชื่อเรื่องภพชาติ 3) ผลกระทบของการเล่นหวย ปรากฏว่าคนเล่นหวยจะมีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ ผลกระทบในเชิงสังคม อีกทั้งยังส่งผลกระทบในเชิงจิตใจ และ 4) กลวิธีการโน้มน้าวใจผ่านเนื้อหา แสดงให้เห็นการเน้นย้ำให้เห็นปัญหาทางอารมณ์ และการอ้างแนวคิดในพระพุทธศาสนา ขณะที่กลวิธีการโน้มน้าวใจผ่านการใช้ภาษา มีการใช้คำสองแง่สองง่าม การใช้บุคคลวัต และการใช้ภาษาแบบเป็นกันเอง นิราศหวยเลิก เป็นวรรณกรรมชาวบ้านที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของชาวบ้านที่โศกเศร้าในช่วงที่มีการยกเลิกโรงหวย</p> <p>This research article aims to investigate thoughts, beliefs, and impacts of lottery gambling on Thai people in Nai Fueang’s Nirat Huai Lerk. The findings revealed that: 1) lottery (from lottery factory to government legal lottery) presents the origin of lottery ticket purchase, lottery playing instructions, and the cancellation of the lottery factory; 2) lottery gamblers:behaviors related to thoughts and beliefs of the locals that indicate that the gamblers have superstitious beliefs about dreams, destiny, and previous life; 3) effects of playing lottery clarifies impacts on lottery gambling, including economic aspect, social aspect, and psychological aspect; and 4) persuasive strategies through content reveals the emphasis on emotional problems and citing notions of Buddhism while the persuasive strategies through language use shows the use of ambiguity, personification, and informal language. All in all, Nirat Huai Lerk is folk literature that denotes the grief of villagers for the cancellation of the lottery factory.</p> ศิวกร แรกรุ่น Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 19 2 35 52