https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/issue/feed
วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ
2024-11-11T16:28:14+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ ขุนพล
sermsak.k@tsu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ เริ่มจัดพิมพ์วารสารฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เม.ย. – ก.ย. 49) ต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงชื่อวารสารเป็น<strong> อินทนิลทักษิณสาร (Inthaninthaksin Journal) ตั้งแต่ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน</strong> โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทรรศน์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ หรือสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ มานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ นิติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา เป็นต้น โดยมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 มกราคม – กันยายน และ ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม และได้ประกาศเปลี่ยนแปลงจำนวนฉบับในการตีพิมพ์เป็นปีละ 3 ฉบับ เมื่อเดือนตุลาคม 2565 เป็น ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน), ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) และ ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> <h3>วารสารอินทนิลทักษิณสาร</h3> <p><strong>ISSN 3027-6403 (Online)</strong></p> <p>Online ISSN 2672-9660 <strong>(ยกเลิก)</strong><br />Print ISSN 2672-9652 <strong>(ยกเลิก)</strong></p> <p>ปัจจุบัน วารสารอินทนิลทักษิณสาร (INTHANINTHAKSIN JOURNAL) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI ให้เป็นวารสาร "TCI กลุ่มที่ 2" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2567</p> <h3>อัตราการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์ผลงาน</h3> <p>อัตราการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ จะจัดเก็บในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าบริหารจัดการ ทั้งนี้ตั้งแต่ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565) เป็นต้นไป ในอัตราดังนี้<br /><strong>1. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ / บุคลากรและนิสิตภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ</strong> บทความละ 3,000 บาท (-สามพันบาทถ้วน-) กรณีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมให้จัดเก็บในอัตรา 1,000 บาท/ท่าน (-หนึ่งพันบาทถ้วน-)<br /><strong>2. บุคลากร และนิสิต สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ</strong> จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บค่าลงตีพิมพ์<br />โดยทางวารสารจะเก็บค่าตีพิมพ์ดังกล่าวหลังจากบรรณาธิการตอบรับการพิจารณาเบื้องต้นและตรวจสอบรูปแบบการเขียนตามแนวทางที่วารสารกำหนดเรียบร้อยแล้ว หลังจากการชำค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทางกองจัดการฯ จะดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความต่อไป</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/268955
การดูแลตนเองของผู้สูงอายุและครอบครัวชุมชนบ้านห้วยแห้ง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
2024-04-05T20:40:43+07:00
ปรัศณีย์ สุริฉาย
lionnoiz2541@gmail.com
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุของสมาชิกในครอบครัวชุมชนบ้านห้วยแห้ง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งหมด 30 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุ 15 คน และกลุ่มสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ 15 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Deep Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านห้วยแห้งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองได้ดี ทั้งในด้านโภชนาการ การขับถ่าย การออกกำลังกาย การพักผ่อน การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการจัดการความเครียดซึ่งข้อสังเกตที่เห็นสำคัญ คือ ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวและเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ช่วงวัยชราได้ดี อีกทั้งยังคงใช้วิถีชีวิตตามสังคมชนบทแบบเรียบง่าย และ 2) การดูแลจากครอบครัวของผู้สูงอายุ พบว่า ครอบครัวให้การดูแลที่สำคัญในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในภาวะปกติทั่วไป คือ การรับประทานอาหาร การดูแลสุขภาพ การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และสถานภาพการเงินของผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลในภาวะเจ็บป่วย คือ การดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยทั่วไป และการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว นอกจากนี้การไปพบแพทย์ตามนัดของผู้สูงอายุครอบครัวก็ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อสังเกตที่เห็นสำคัญคือ ครอบครัวให้การเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/273786
การจัดการเรียนรู้แบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2024-11-04T15:30:19+07:00
จิตราพร เพื่อนละภา
jitraporn262209@gmail.com
มนตรี เด่นดวง
montree.de@skru.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนหวังดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.13 และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDLอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/265515
การสร้างเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตปริญญาตรี ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ
2024-02-01T14:45:19+07:00
Jureeporn Malelohit
mjureeporn@tsu.ac.th
<p> การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21 การศึกษานี้เป็นการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจของนิสิตปริญญาตรีโดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 จํานวน 30 คน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบ (QAR) และ 2) แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตปริญญาตรีที่เรียนโดยใช้ QAR หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นิสิตมีการตอบคำถามบทอ่านบรรยายได้ดีขึ้น กลวิธีความสัมพันธ์ระหว่างคำถามและคำตอบนี้ยังเป็นวิธีการสอนที่มีส่งเสริมให้นิสิตตั้งใจเรียนในรายวิชาการหลักการอ่านและเสริมความมั่นใจในการตอบคำถามและสามารถแยกแยะคำถามที่นิสิตอ่านได้อีกด้วย</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/268089
การศึกษาเนื้อหาทางวัฒนธรรมที่ปรากฎในหนังสือเรียนภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติเล่ม1-1
2024-02-27T08:41:13+07:00
จิตติกานต์ หลักอาริยะ
tatar_chan@hotmail.com
<p> งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอเนื้อหาด้านวัฒนธรรมที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตหนังสือเรียนภาษาเกาหลีแก่ผู้เรียนชาวไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาด้านวัฒนธรรมในหนังสือเรียนภาษาเกาหลีเบื้องต้นของสถาบันสอนภาษาในประเทศเกาหลีใต้จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ 1) 서강 한국어1A (Sogang Korean New Series 1A) 2) 연세 한국어 1-1 (Yonsei Korean 1-1) 3) 서울대 한국어 1A (Seoul University Korean Student’s book 1A) 4) 이화 한국어 1-1 (Ehwa Korean1-1) และ 5) 세종한국어1 (Sejong Korean1) ผลการวิจัยพบว่า หนังสือเรียนภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติทุกเล่มมีการนำเสนอเนื้อหาด้านวัฒนธรรมไปในทิศทางเดียวกัน และเชื่อมโยงกับเนื้อหาหลักทางด้านภาษาในแต่ละบทเรียน มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้านวัฒนธรรมใน 2 มิติหลัก คือ มิติด้านวิถีการดำเนินชีวิตและมิติด้านผลผลิตที่บุคคลในวัฒนธรรมนั้นสร้างประดิษฐ์ขึ้นมา แบ่งเป็นประเด็นทางวัฒนธรรมในหนังสือ ได้แก่เรื่อง มารยาทและวิธีการทักทาย, อาหาร, สถานที่ท่องเที่ยว, ฤดูกาล และกิจกรรมวันหยุดของคนเกาหลี เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีให้กับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/272751
ถอดบทเรียนความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการขยะของ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศเยอรมนี
2024-08-29T13:46:12+07:00
วรัชญา เผือกเดช
bella_2633@hotmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อถอดบทเรียนการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการขยะ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักของความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการขยะของประเทศออสเตรเลีย และประเทศเยอรมนี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยคือ เอกสาร ตำรา เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และบทความวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ใช้วิธีการวิเคราะห์หาแก่นสาระ (Thematic Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลในเอกสาร (Document Analysis) </p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ประเทศ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการที่ภาครัฐได้มีส่วนร่วมกับภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร ได้แก่ เทคโนโลยีของศูนย์ SMART (UNSW Centre for Sustainable Material Research and Technology) การใช้เทคโนโลยีผ่านโครงการ Smarter, Cleaner Sydney Harbour โครงการ Emerging Technology Testbed ในประเทศออสเตรเลีย รวมไปถึงระบบการมัดจำคืนเงินบรรจุภัณฑ์ หรือ Pfand ในประเทศเยอรมนี เป็นการอำนวยความสะดวกในการคัดแยกขยะมูลฝอยได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขยะในทุกรูปแบบทำให้สามารถจัดสรรขยะที่เหมาะสมในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม เป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขององค์กร เพราะฉะนั้นการบริหารงานในการจัดการขยะจึงเป็นหน้าที่สำคัญของหน่วยงานภาครัฐ หากมีการวางแผนการดำเนินงานที่ดีเป้าหมายที่วางไว้จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ประชาชนเป็นผู้สร้างขยะและเป็นผู้ที่สามารถมีบทบาทสำคัญในการลดปริมาณขยะและส่งเสริมการรีไซเคิล ช่วยให้การจัดการขยะเป็นไปอย่างรวดเร็วผ่านวิธีการส่งเสริมที่หลากหลายวิธี ได้แก่ การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก การจัดตั้งระบบการคัดแยกขยะในชุมชน<strong> </strong>การสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชน และการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/272536
อัตลักษณ์วิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้ในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “ลูกยางกลางห้วย” และ “ลูกนกจากคอน” ของ คามิน คมนีย์
2024-08-29T14:22:55+07:00
ปริยาภัทร เพ็ชรจรูญ
priyapat.p@yru.ac.th
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์วิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้ในวรรณกรรมเยาวชนเรื่องลูกยางกลางห้วย และลูกนกจากคอน ของ คามิน คมนีย์ ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏอัตลักษณ์ชาวใต้ที่โดดเด่น 5 ด้าน คือ 1) อัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวใต้ มีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชุมชน ทั้งการประกอบอาชีพ อาหารการกิน การสร้างที่อยู่อาศัย และการละเล่นของเด็ก 2) อัตลักษณ์ด้านความสัมพันธ์ของคนในสังคมภาคใต้ สังคมภาคใต้มีลักษณะการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และความสัมพันธ์จากการพึ่งพาอาศัยและการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน 3) อัตลักษณ์ด้านค่านิยมและความเชื่อของชาวใต้ มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ผู้คนจึงนิยมเชื่อเรื่องเวรกรรม ความเชื่อเรื่องกุศลผลบุญ ความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามหรือสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ และการนิยมเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 4) อัตลักษณ์ด้านประเพณีและวัฒนธรรมของชาวใต้ มีความแตกต่างไปจากประเพณีและวัฒนธรรมในภาคอื่น ๆ ทำให้ชาวไทยภาคใต้มีประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่น และ 5) อัตลักษณ์ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาของชาวใต้ ซึ่งชาวใต้มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เรียกว่าภาษาใต้</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/268135
การเปรียบเทียบภาพสะท้อนสังคมไทยในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)และหลวงพัฒนพงศ์ภักดี
2024-02-23T13:25:06+07:00
ปัทมา ดีลิ่น
dpatthama@tsu.ac.th
<p> บทละครรำของไทยมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีพัฒนาการทางสังคมที่สำคัญและมีปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยุคนี้เกิดการนำวรรณกรรมต่างประเทศมาประพันธ์ใหม่ในรูปแบบบทละครรำ หนึ่งในวรรณกรรมต่างประเทศที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่คนไทย และนำมาประพันธ์เป็นบทละครคือวรรณกรรมสามก๊ก บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปรียบเทียบภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฎในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)และหลวงพัฒนพงศ์ภักดี โดยผ่านวิธีการวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างกันของภาพสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฎในบทละครรำดังกล่าว ผลจากการศึกษาพบว่าภาพสะท้อนสังคมไทยที่เหมือนกัน คือ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมการแสดงความเคารพ และวัฒนธรรมการกิน และภาพสะท้อนสังคมไทยที่แตกต่างกัน คือ ด้านเทคโนโลยีและเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยปรากฏเฉพาะในบทละครรำสามก๊กของขุนเสนานุชิต(เจต)เท่านั้น ได้แก่ การหนังสือพิมพ์ การไปรษณีย์โทรเลข โรงสีข้าว และการระบาดของอหิวาตกโรค</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/274022
ที่ใดมีรัก ที่นั่นอาจมีลวง: มายาคติเกี่ยวกับความรักของชนชั้นกลาง ในรวมเรื่องสั้น “รักในลวง”
2024-11-11T16:28:14+07:00
ภูริณัฐ พฤกษ์เนรมิตร
hanma_bagi@hotmail.com
<p> บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามายาคติเกี่ยวกับความรักที่ของชนชั้นกลางปรากฏอยู่ในรวมเรื่องสั้น รักในลวง ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ ศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสารโดยใช้แนวคิดมายาคติประกอบการศึกษา นำเสนอผ่านการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ความรักที่ปรากฏในรวมเรื่องสั้นเต็มไปด้วยความฉาบฉวย และความอิหลักอิเหลื่อเพราะการพยายามจะรักโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่กำลังรักอาจเป็นเพียง ‘ภาพมายา’ ที่ถูกสร้างให้คล้ายคลึงกับ ‘ความรัก’ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นการต่อสู้ของตัวละคร ที่ต้องการขยับบรรทัดฐานของสังคมและวัฒนธรรมขึ้นให้กว้างขวางพอที่จะสามารถแสดงรูปแบบความรักของตนเองออกมาได้อย่างอิสระ เรื่องสั้นยังชี้ชวนให้เกิดการตั้งคำถามกับมายาคติ เพื่อเผยให้เห็นความจริงและความลวงจากกลุ่มของชนชั้นกลางในสังคม ประกอบร่างเป็นความรู้สึก ‘จริง’ ให้กับบางสิ่งที่อาจกำลัง ‘ลวง’ อยู่ในนามของ “ความรัก”</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารอินทนิลทักษิณสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ