@article{ตู้ดำ_2022, title={บทบรรณาธิการ}, volume={17}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/257253}, abstractNote={<p>สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส “โควิด-19” ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดคำว่าความเป็นปกติใหม่ หรือ New Normal ขึ้น ความเป็นปกติใหม่เป็นการดำรงชีวิตรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากแบบแผนการดำรงชีวิตแบบเดิมที่คนในสังคมยึดเป็นวิถีปฏิบัติเนื่องจากมีสิ่งที่มากระทบ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส “โควิด-19” ซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อหาแนวทางวิถีชีวิตรูปแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ รวมทั้งการรักษาและฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก นำไปสู่การเรียนรู้เกิดการสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมทางสังคม ตลอดจนเทคโนโลยี เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การศึกษา การจัดการ การทำงาน อาหาร การรักษาสุขภาพ การสื่อสาร ฯลฯ การทำความเข้าใจความเป็นปกติใหม่จะช่วยให้มนุษย์เกิดความเข้าใจสภาวะความเป็นไปของสังคมที่มีลักษณะพลวัตไม่สามารถคาดเดาได้ดียิ่งขึ้น วารสารอินทนิลทักษิณสารเป็นหนึ่งในเวทีแลกเปลี่ยนความรู้นำเสนอแง่มุมใหม่ๆ ทางสังคม วารสารฉบับนี้ เป็นปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ยังคงประกอบด้วยบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีความหลากหลายโดยผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน สาระในวารสารฉบับนี้ประกอบด้วยบทความที่น่าสนใจทั้งสิ้น 10 บทความ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา การต่อรองและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของครูกะเทยในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภูมินามวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ : ลักษณะภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อ โลกทัศน์ที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งภาคใต้ : กรณีศึกษาบทเพลงของบิว กัลยาณี (กัลยาณี เจียมสกุล) วิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลของการใช้กลยุทธ์ภาษาเป้าหมายต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาอุดมศึกษาในบริบทที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงเพศชายในเพลงลูกทุ่ง :  การวิเคราะห์แวดวงความหมายต้นทางและปลายทาง กลวิธีทางภาษาในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อนวนิยายออนไลน์ในเว็บไซต์ “readAwrite” Website พระมหากรุณาธิคุณปกห่มประชาชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน : ศึกษาจากคำราชาศัพท์ในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2522-2533 และภาพลัษณ์ “ธรรมราชา” ในฉันท์สรรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากรและฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารอินทนิลทักษิณสารฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนปรากฎการณ์ทางสังคมให้นักวิชาการและผู้อ่านทุกท่านได้ศึกษาและค้นคว้าเพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่อไป</p> <p>สุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการยังคงมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อรักษาคุณภาพของวารสารให้อยู่ในมาตรฐานทางวิชาการ หากมีคำแนะนำหรือข้อติชมอันใด กรุณาส่งมาได้ที่กองบรรณาธิการ จักเป็นพระคุณยิ่ง</p>}, number={1}, journal={วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={ตู้ดำ ปาริฉัตร}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={5–6} }