@article{พรหมมาศ_2022, title={ภูมินามวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ : ลักษณะภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อ }, volume={17}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/255893}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรายชื่อวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากหนังสือ ต้นเจ้าพระยา “วัดวานุกรม” ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 90 วัด (ข้อมูลเมื่อปีพุทธศักราช 2562) ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาโครงสร้างทางภาษาที่ปรากฏจะทำให้สามารถวิเคราะห์ที่มาของภาษาที่ใช้ ในการตั้งชื่อได้อย่างชัดเจน โดยที่มาของภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดจะปรากฏรูปแบบของที่มาภาษา 8 ลักษณะ ได้แก่ ชื่อวัดที่มาจากภาษาไทย, ชื่อวัดที่มาจากภาษาไทย+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาเขมร+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาสันสกฤต+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลี+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต+ภาษาอื่น, ชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลี และชื่อวัดที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต นอกจากนี้ ยังพบว่าที่มาของภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อวัดปรากฏที่มาของชื่อวัด 9 ที่มา ได้แก่ ได้แก่ การตั้งชื่อตามชื่อบ้านนามเมือง, การตั้งชื่อตามประวัติความเป็นมาหรือตำนานของวัด, การตั้งชื่อตามความหมายที่เป็นมงคล, การตั้งชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์, การตั้งชื่อตามนามผู้สร้าง ผู้อุทิศ ผู้บูรณะ หรือผู้ดำเนินการ, การตั้งชื่อตามสิ่งสำคัญภายในวัด, การตั้งชื่อตามที่ได้รับพระราชทานนามจากพระมหากษัตริย์, การตั้งชื่อตามความเชื่อและประเพณีพิธีกรรม และไม่ปรากฏที่มา</p>}, number={1}, journal={วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={พรหมมาศ ชนิกา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={63–90} }