@article{บุญรอด_พุฒิโชติ_จีนนุ่น_เต็มรัตนะกุล_2022, title={การต่อรองและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของครูกะเทย ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ }, volume={17}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/255891}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของดุษฏีนิพนธ์นี้คือ 1) ศึกษาบริบทเงื่อนไขของครูกะเทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาการต่อรองและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของครูกะเทยในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่เกิดมามีเพศสรีระเป็นชาย แต่มีเพศวิถีแบบผู้หญิง ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) การสัมภาษณ์แบบ เชิงลึก 2) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และ 3) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ครูกะเทย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเผชิญกับบริบทและสถานการณ์ ทั้งจากกระบวนการทางสังคม มาตรฐานวิชาชีพครู ที่คาดหวังต่อการแสดงบทบาทความเป็นครู รวมถึงบริบทความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม จารีตและหลักปฏิบัติทางศาสนาในพื้นที่ โดยเฉพาะในสังคมมุสลิม ที่ส่งผลให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ถูกเบียดขับ ไม่สามารถแสดงออกซึ่งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองได้ ดังนั้นการต่อรองและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของครูกะเทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีความซับซ้อน ถูกกดทับ ต้องเร้นกาย อยู่ในเงามืด เก็บกดซ่อนตัวตนและอัตลักษณ์ไว้ภายใน หาทางประนีประนอมและต่อรองเพื่อให้ตัวเองอยู่ในสังคมได้ เลือกปิดบังตัวตน กลัวว่าจะต้องถูกขับออก จนกลายเป็นคนนอกสังคม ยอมโอนอ่อนทำตามสิ่งที่สังคมคาดหวัง และในขณะเดียวกัน ครูที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิสูง มีความมั่นคงทางอาชีพ สามารถแสดงออกซึ่งเพศวิถีของตนเองได้ กระบวนการสำคัญที่สุดในการต่อรองและสร้างพื้นที่ทางสังคม คือ การใช้โรงเรียนเป็นพื้นที่หลักเพื่อใช้ความรู้ความสามารถที่โดดเด่น เป็นใบเบิกทางไปสู่การยอมรับจากสังคม</p>}, number={1}, journal={วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={บุญรอด ษมาวีร์ and พุฒิโชติ อนินทร์ and จีนนุ่น พัชลินจ์ and เต็มรัตนะกุล ธนภัทร}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={37–62} }