วิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
  • ภัทรกันย์ พรหมเกตุ
  • สืบศักดิ์ กลิ่นสอน ที่ปรึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

คำสำคัญ:

วิธีการผลิต, กาแฟ, โรบัสต้า, หาดใหญ่, สงขลา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรด ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก และการประชุมระดมความคิด ผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวนรวม 20 คน การตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่า วิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรดให้ความสำคัญกับหลักการต่อไปนี้ (1) เกษตรผสมผสาน สวนสมรมของเกษตรกรมีความต่างระดับของเรือนยอด 4-5 ระดับเกษตรกรปลูกกาแฟพันธุ์ โรบัสต้าร่วมกับไม้ผลชนิดอื่น เช่น หยี ทุเรียน ลองกอง ต้นกาแฟอาศัยร่มเงาของไม้ผลเหล่านี้ในการเจริญเติบโต (2) เกษตรประณีต หมายถึงการดูแลพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งมีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ในที่นี้ กาแฟเป็นพืชที่มาทีหลัง เกษตรกรบริหารพื้นที่ทางการเกษตรขนาดเล็กให้สามารถปลูกกาแฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มแปลงที่ดิน (3) เกษตรธรรมชาติ เกษตรกรเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำฝนในการดูแลสวนเกษตรและบำรุงดิน (4) หลักความพอเพียง เกษตรกรแบ่งกาแฟที่ผลิตได้ เก็บไว้บริโภคเองในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย และจำหน่ายส่วนที่เหลือเพื่อเพิ่มรายได้โดยไม่ได้มุ่งหวังกำไรเกินควร (5) หลักพึ่งตนเอง เกษตรกรใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อาศัยแรงงานคน และใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ในท้องถิ่น วิถีการผลิตกาแฟของเกษตรกรบ้านควนขี้แรดตามหลักการทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นฐานสำหรับ ความมั่นคงทางอาชีพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

References

กรมวิชาการเกษตร. (2563). ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.doa.go.th/hort/?p=192.

จุฑาธิป ประดิพัทธนฤมล, หนึ่งฤทัย ศรีสุกใส, สุดารัตน รัตนพงษ, และนันทพันธ คดคง. (2564). การจัดการความรูและสงเสริมศักยภาพเกษตรกรผูปลูกกาแฟเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา ตําบลชมพู อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก, วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(3), 13-29.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (ม.ป.ป.). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html.

ธวัชชัย เพ็งพินิจ, ชวลิต สวัสดิ์ผล, นที เพชรสุทธิธนสาร และ พิมพ์ชนก วัดทอง. (2562). เกษตรประณีต : องค์ความรู้และการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ, วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4(2): 209-224.

นวรัตน์ โพธิ์คีรี, สาวิตรี รังสิภัทร์ และ พัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร, วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 36(2), 43-52.

นาคพล เกินชัย. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม : วิธีวิทยาการวิจัยแบบที่สาม, วารสารธรรมทรรศน์. 16(2): 297-314.

วราภรณ์ วิทยาภรณ์, วีระพงศ์ วิรุฬห์ธนกฤษณ์, ฐิติวรฎา ใยสาลี และปรียานิตย์ ตั้งธานาภักดี. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผงเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟจากชุมชนบ้านบ่อสี่เหลี่ยม อำเภองาว จังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). อุตสาหกรรมกาแฟ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก http://fic.nfi.or.th/foodsectordatabank-detail.php?id=17.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (ม.ป.ป.). Sustainable Agriculture Products ผลลัพธ์การผลิตสู่การบริโภคที่ดี… จากกระบวนการเกษตรยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/sustainable-agricultural-product/.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2562). พลวัตการทำเกษตรไทย และนัยต่อผลตอบแทนและความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2019/14/.

สมาคมกาแฟไทย. (2563). Thai Fine Coffee ยกระดับกาแฟไทยอย่างยั่งยืน. สมุทรปราการ: พงษ์วรินการพิมพ์.

สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2563). สินค้ากาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://api.dtn.go.th/files/v3/5f745497ef414010304bd1dd/download.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). เกษตรธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก https://www.opsmoac.go.th/sustainable_agri-sustainable_agri-preview-382891791797.

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ, ศรีประไพ อุดมละมุล, นุลอัฟฎา สาและ, มัสวิณี สาและ และ นินุสรา มินทราศักดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากลุ่มผลิตโกปี๊ (กาแฟโบราณ) อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.patong-sao.go.th/develop_plan.

อรวรรณ ฌานศรี และรัดเกล้า เปรมประสิทธ์. (2560). ทิศทางการพัฒนาภาคการเกษตรไทยกับการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 ประจำปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จากhttp://www.socsci.nu.ac.th/socant2017/downloads/proceeding/052.pdf.

Babatunde, R.O. and Qaim, M. (2009). Patterns of income diversification in rural Nigeria: determinants and impacts, Quarterly Journal of International Agriculture. 48(4): 305–320.

Berger, P.L. (1966). Invitation to Sociology. A Humanistic Perspective. New York: Anchor Books.

Hsieh, H.F., & Shannon, S.E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis, Qualitative Health Research. 15(9), 1277-1288. Retrieved on June 19, 2021, from: https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/1049732305276687.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-22