คุณภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา (Quality, Situations Problems and Guidelines for Developing Services Quality of registrar’s office, Burapha University)

Authors

  • สมชาย คิดประดับ
  • คุณวุฒิ คนฉลาด
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

คุณภาพ, ปัญหา, แนวทางพัฒนาการให้บริการและงานทะเบียนและสถิตินิสิต, Quality, Problem, Tendency to development

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง คุณภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิตเพื่อเปรียบเทียบปัญหาคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิต จำแนกตามระดับการศึกษาและกลุ่มสาขาวิชา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2552 จำนวน 376 คน ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ เก็บตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน t-test, One-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)                            

 ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิต กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพของงาน มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงาน และด้านสถานที่  ตามลำดับ

2. ปัญหาของการบริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิตกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพของงาน มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสถานที่ด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงาน และด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ตามลำดับ

3. บัณฑิตที่ศึกษากลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิตของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาในภาพรวม ด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานและด้านสถานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบัณฑิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนและสถิตินิสิตของกองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพาภาพรวมและด้านต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน         

Abstract

The purposes of this research were to investigate the graduates towards the service quality of the Office of Registration; to compare the graduates’ satisfaction towards the service quality of the Office of Registration, classified by education level and major subject group; and to examine suggestions for developing the service quality of the Office of Registration. The sample, derived by means of Yamane’s of a population and stratified random sampling method, consisted of 376 Bachelor’s Degree and Master’s Degree graduates in the academic year of 2009. A questionnaire was used as an instrument  to collect data. Statistical devices employed for data analysis included frequency, standard deviation, and           inferential statistics, e.g. t-test, One-way ANOVA, as well as Scheff’s Method was used to test the differences in pairs when the differences were found.

The findings revealed that

1. The graduates’opinions towards the service quality of the Office of Registration, Academic Services  Division, Burapha University, in general, were found at a high level.  When considering in each particular aspect, the aspect of efficiency was rated the highest, followed by the quality of service provision, improvement and alteration, and place, respectively.

2. The graduates’opinions towards the problem levels of the            service provision of the Office of Registration, in general, were found at a low level. When considering in each  particular aspect, the aspect of efficiency were rated the highest, followed by place, improvement and alteration, and place, respectively.

3. The results of hypotheses testing also revealed that graduates of different major subject groups had different opinions towards the service quality of the Office Registration, in general, in the aspects of improvement and alteration, and place at the significance level of .05. However, nosignificant differences were found among the opinions of the graduates with different education levels, both in general and in each particular aspect.

Downloads

Published

2014-10-01

Issue

Section

บทความวิจัย