ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานครูโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครระยอง (The Relationship between Related Factors and Organizational Commitment of Teachers in Rayong Municipal Schools)
Keywords:
ความผูกพันต่อองค์การ, Organizational commitmentAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการทำนายความผูกพันต่อองค์การของพนักงานครู และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง ตามแนวคิดของมาวเดย์ สเตียร์และพอร์เตอร์ (Mowday, Steer & Porter, 1982, pp.28-43, อ้างถึงใน ศิริพร นาคสุวรรณ, 2548, หน้า 2) ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรทำนาย 5 ตัวแปรคือ คุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัวแปรคือ ความผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยองจำนวน 152 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำแนกเป็น 5 ด้าน ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาในแต่ละด้านมีค่าดัชนีความสอดคล้อง รายข้อตั้งแต่ .60 – 1.00 และความเชื่อมั่นของการวัดตัวแปรแต่ละตัวมีค่าตั้งแต่ .81 - .95 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการงาน ความพึงพอใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การในระดับปานกลางและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .41, .52, .44, .66 และ .48 ตามลำดับ ตัวแปรทำนายทั้ง 5 ตัวแปรร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 44 โดยบรรยากาศองค์การส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยองเขียนในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Y = 1.491 -.011 QJ + .095 SA -.121 CA + .709 WE**+ .045 LE
Z = -.010 QJ + .104 SA -.140 CA + .656 WE** + .051 LE
ABSTRACT
The purposes of this research were to find score weight of each factor which contributed to organizational commitment. The sample consisted of 152 teachers from Rayong municipal schools who were selected by stratified random sampling technique.
The questionnaires were employed to collect data have high content validity through the panel of experts’ judgment (IOC > 0.60) and five sub questionnaires were high reliability of Cronbach’s alpha coefficient which range from .81 to .95. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and multiple regressions.
The results indicated that the 5 factors; quality of life in work, job satisfaction, organizational culture, organizational climate, leadership related positively with high magnitude and statistical significance to organizational commitment. All factors explained the variance of organizational commitment at medium level (R2= 44%). Only organizational climate contributed to organizational commitment with statistically significant (β =.656, α =.656). The equations displayed the prediction of organizational commitment for Rayong municipal teachers by 5 factors were: In term of raw scores and in term of standardized scores.
Y = 1.491 -.011 QJ + .095 SA -.121 CA + .709 WE**+ .045 LE
Z = -.010 QJ + .104 SA -.140 CA + .656 WE** + .051 LE