ความพึงพอใจและแนวทางสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (Satisfaction and responsive Satisfaction on Job Performance of Private school...)

Authors

  • มณชยา ศานติ์สุทธิกุล
  • คุณวุฒิ คนฉลาด
  • สุเมธ งามกนก

Keywords:

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, โรงเรียนเอกชน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความพึงพอใจและแนวทางสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติของครูโรงเรียนเอกชน จำแนกตามเพศสถานภาพบุคคล เงินเดือน และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อหาแนวทางการตอบสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ระหว่าง .21-.66 ค่าความเชื่อมั่น .93 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที        

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจในการปฏิบัติของครูเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน จำแนกตามเพศ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูเพศชายมีความคิดเห็นสูงกว่าครูเพศหญิง 3) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน จำแนกตามสถานภาพบุคคล โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน         สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนก ตามเงินเดือนโดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านเงินเดือนและสวัสดิการมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีอัตราเงินเดือนมากมีความคิดเห็นสูงกว่าครูที่มีอัตราเงินเดือนน้อย 5) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน จำแนกตามประสบการณ์ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 6) แนวทางในการสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญแก่ครูทุกด้าน มีการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินอย่างเป็นระบบ ชมเชยและให้รางวัลผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างวัฒนธรรมองค์การแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน จัดโครงการผลิตสื่อและจัดสวัสดิการให้แก่ครู

ABSTRACT

The purposes of this research were to study satisfaction and responsive satisfaction of teachers in elementary schools under the Office of Chonburi Educational Primary  Service Area 3. The sample of this study consisted of 332 teachers. The instruments used for collecting the data was a rating-scales questionnaire with discrimination value being .21-.66 and its reliability value of .93. The statistical devices used were mean, standard deviation and t – test

The findings revealed as follows.      

1. The teacher’s satisfaction was found at the high level. But the salary and welfare was found at moderate level.               

2. The job satisfaction of teachers as  classified by gender was found non-significant difference, but the aspect of working environment was found significant difference at .05 level.

3. The job satisfaction of teachers as a whole and each aspect were found nonsignificant differences.

4. The job satisfaction of teachers as classified by salary and overall were nonsignificant differences, but on the aspect of welfare and salary were found significant difference at .05 level.

5. The job satisfaction of teacher as classified by experiences and overall were nonsignificant  differences.                             

6. The responsive satisfaction of teachers were as follows: recognition of teacher, continuous supervision, systematic evaluation, praise and rewards, create school culture and participative management, clear vision, production of teaching media, and teacher welfare.           

Downloads

Published

2014-10-01

Issue

Section

บทความวิจัย