การสร้างรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (A Servant Leadership Model of The Basic Education School Administrations)

Authors

  • วิระเวก สุขสุคนธ์
  • ภารดี อนันต์นาวี

Keywords:

ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, Servant Leadership

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน 3) ตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้บริหารสถานศึกษาด้วยการสนทนากลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

 ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสร้างจากผู้เชี่ยวชาญมี 3 ส่วน ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่  ส่วนที่ 1 ตนเอง ประกอบด้วย 1) ด้านการฟัง 2) ด้านการตระหนักรู้ 3) ด้านการสร้างมโนทัศน์ 4) ด้านการมองการณ์ไกล ส่วนที่ 2 ความสัมพันธ์ ประกอบด้วย 5)   ด้านการเห็นอกเห็นใจ 6) ด้านการเยียวยารักษา 7) ด้านการโน้มน้าวใจ 8) ด้านความรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนที่ 3 หน้าที่/ทรัพยากรประกอบด้วย 9) ด้านการอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน และ 10) ด้านการสร้างกลุ่มชน

2. รูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจสอบโดยผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 ส่วน ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ตนเองประกอบด้วย 1) ด้านการฟัง 2) ด้านการตระหนักรู้ 3)ด้านการสร้างมโนทัศน์ 4) ด้านการมองการณ์ไกล ส่วนที่ 2 ความสัมพันธ์ประกอบด้วย 5)ด้านการเห็นอกเห็นใจ 6)ด้านการเยียวยารักษา 7) ด้านการโน้มน้าวใจ 8) ด้านความรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนที่ 3 หน้าที่ /ทรัพยากรประกอบด้วย 9) ด้านการอุทิศตนเพื่อพัฒนาคนและ10) ด้านการสร้างกลุ่มชน

ABSTRACT

The study was designed to develop a servant leadership model of the basic education school administrators. The methodology of the study comprised three steps; 1) analyzing the documents concerning       servant leadership; 2) designing a servant leadership model of the basic education school administrators using Delphi Technique; and 3) checking a servant leadership model by focus group technique. The statistics used were percentage, median and interquartile range.

The results revealed by experts have  3 part (ten aspects) of servant leadership were as follows: part one self:1) listening, 2)awareness,3) conceptualization, 4) foresight; part two relationship: 5) empathy,6) healing,7) persuasion 8) stewardship; and part three task/resources: 1) commitment to the growth of people 2) building community. The results of servant leadership revealed by school administrators have 3 parts (ten aspects) of servant leadership were as follows: part one; self: 1) listening, 2) awareness, 3) conceptualization, 4) foresight; part two relationship: 5) empathy, 6) healing, 7) persuasion 8) stewardship; and part three task/ resources: 1) commitment to the growth of people 2) building community.

 

Downloads

Published

2014-10-01

Issue

Section

บทความวิจัย