ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา (Ethical Leadership in School Administration)

Authors

  • สุรัตน์ ไชยชมภู

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, Leadership, Ethical Leadership

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถ และความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient: IQ) ผู้บริหารมืออาชีพต้องมีความฉลาดทางศีลธรรมหรือจริยธรรม (Moral Quotient: MQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) จึงจะสามารถยืนหยัดในโลกของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นความหวังของการเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะผู้บริหารเป็นทั้งหัวและหน้าตาของโรงเรียนที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในและนอกสถานศึกษา พฤติกรรมผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารย่อมส่งผลต่อคุณภาพของครูและคุณภาพผู้เรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบทความที่เสนอนี้ผู้เขียนได้เสนอเรื่องภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวแบบความประพฤติปฏิบัติที่ดีทางจริยธรรม เป็นที่ยอมรับแก่ผู้ตามหรือลูกน้องทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความน่าไว้วางใจ ความยุติธรรมและความเอาใจใส่ ผนวกเข้ากับแนวคิด หลักการทางวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การงบประมาณ และการบริหารทั่วไป เพื่อนำไปสู่แนวทางในการปรับปรุงสถานศึกษาโดยการใช้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งสามารถจำแนกแหล่งที่มาของผู้นำเชิงจริยธรรมได้ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ต้องเอาใจใส่และนำไปสู่การกระตุ้นความต้องการของแต่ละบุคคล กระตุ้นให้เกิดปัญญาและค้นหาวิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ เพื่อการปรับปรุงการทำงาน และความสามารถในการตัดสินใจ

Abstract

        The development of moral or ethical leadership and school administrators’ knowledge and competency are parallel. It is to be said that the professional administrator would also have moral quotient: MQ, emotional quotient: EQ, and intelligence quotient: IQ. If all the school administrators had all these characteristics, they would be able to exploit the fast changing world. They would be the role model as figurehead both in and out of school. Moreover, ethical leadership of the school administrator by itself would affect the quality of both teachers and learners. In this proposed article, the target was school administrators who demonstrated ethical administrator performance as a good role model. In order to be accepted by the teachers and personnel who were under their principalship and management, the administrators might show their own loyalty sincerity, trustworthy, fairness and empathy to those followers. Including academic principle of human resource development, budgeting and general administration, school administrators as ethical leaders have to focus on how to motivate the school teachers and personnel through their own initiatives and wisdoms.

 

 

Downloads

Published

2014-10-01

Issue

Section

บทความวิชาการ