การพัฒนารูปแบบการวางแผนการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนบ้านทุ่งกราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (DEVELOPMENT OF PLANNING MODEL CONCERNING TO ACADEMIC ADMINISTRATION OF BAN THUNGRAD SCHOOL UNDER THE OFFICE OF CHONBURI ELEMENTARY...)

Authors

  • อดิพงษ์ สุขนาค
  • ชัยพจน์ รักงาม

Keywords:

รูปแบบการวางแผน, การบริหารงานวิชาการ, Planning model, Academic administration

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนบ้านทุ่งกราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 19 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการวางแผนบริหารงานวิชาการจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งกราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ขั้นตอนการวางแผนบริหารงานวิชาการประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการค้นหาโอกาสและการพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น การแปลโอกาสให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การเลือกแนวทางที่ดีที่สุดและกำหนดจุดมุ่งหมาย การตรวจสอบแบบการทบทวน และรูปแบบแนวทางการปฏิบัติในการวางแผนบริหารงานวิชาการ จำนวน 50 รูปแบบ จำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา มีจำนวน 8 รูปแบบ 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา มีจำนวน 12 รูปแบบ 3) ด้านการนิเทศการศึกษา มีจำนวน 13 รูปแบบ 4) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา มีจำนวน 7 รูปแบบ 5) ด้านพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีจำนวน 10 รูปแบบ

2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการวางแผนบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนบ้านทุ่งกราด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ทั้ง 50 รูปแบบ มีแนวทางดำเนินการในการปฏิบัติ และมีตัวชี้วัด (KPI) เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ABSTRACT

The purpose of this research was to develop a planning model of academic administration in Ban Thungrad School under the Office of Chon Buri Elementary Educational Service Area 3. The research methodology composed of 2 steps as follow: 1) document study and Delphi Technique was used with 19 experts interviewed 2) verify the appropriateness and the possibility in practice for planning model from teachers and personnel at Ban Thungrad School.

The findings were as follows:

1. The 5 steps for planning model methodology in academic administration were identify goals, search for opportunities and existing problems, convert opportunities to available courses of action, select best course and set objectives. Then review planning model for developing for academic administration. The planning model was classified into 50 models and grouped into 5 aspects as follows: 1) learning process for 8 models, 2) school curriculum development for 12 models 3) educational supervision for 13 models 4) the development of internal quality assurance and educational standards for 7 models and 5) innovation and technology for education development for 10 models.

2. The appropriateness and possibility result related to planning model used in academic administration of all 50 models was valid and key performance indicators (KPI) were practical as guidelines.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย