ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตภาคตะวันออก (RELATIONSHIP BETWEEN EMOTIONAL QUOTIENT OF ADMINISTRATOR AND SCHOOL ORGANIZATION CULTURE UNDER THE...)
Keywords:
ความฉลาดทางอารมณ์, วัฒนธรรมองค์การ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, ภาคตะวันออก, Emotional intelligence, School organizational culture, Secondary school, Eastern areaAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับวัฒนธรรมขององค์การในโรงเรียน และเพื่อพยากรณ์วัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก จากตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 4 ระดับ แบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีของแพตเตอร์สัน (Patterson, 1986, pp. 50-51) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาความฉลาดทางอารมณ์ เป็นรายด้าน ในองค์ประกอบด้านดี และองค์ประกอบด้านสุข อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนองค์ประกอบด้านเก่ง อยู่ในระดับมาก
2. วัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับดี และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความหลากหลายของบุคลากรการเป็นที่ยอมรับ ความซื่อสัตย์สุจริต การเสริมพลังความเอื้ออาทร ความมีคุณภาพความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ความมุ่งหมายของโรงเรียนและความไว้วางใจส่วนการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง
3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสุข (X3) สามารถทำนายวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก ได้ร้อยละ 14.7 ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ
Y = 2.734 + .405 X3
หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z = .383ZX3
ABSTRACT
The purposes of this research were to study the relationship between emotional quotient of school administrators and the school culture, and to predict the organizational school culture from the emotion variables in school administrators under the Office of Secondary Educational Service Area in Eastern region. The sample used in this study was 115 school administrators. The research instruments used four rating scales questionnaire of emotional quotient and a five scales questionnaire of school organizational culture. The statistical devices used were mean, standard deviation, Pearson product-moment coefficient, and stepwise multiple regression analysis.
The results showed as follows:
1. The level of emotional quotient of secondary school administrators was found, as a whole at the highest level. In view of the emotional quotient of each aspect, the smart element and the element of happiness were at the highest level, and artful elements were at the high level.
2. Organizational culture in secondary schools as a whole, each aspect was found at the high level. Ranking by mean average from high to low were: the diversity of personnel, integrity, empowerment, caring, quality, sense of belonging, school purposes, and trust respectively. However, the decision making aspect was at moderate level.
3. Emotional quotient of school administrators was positively related to organizational culture in secondary schools with statistically significant difference at the .01 level.
4. The factor of emotional quotient on happiness (X3) could predict the organizational culture of secondary schools at 14.7 percent. The regression equation in the form of raw scores was
Y = 2.734 + .405 X3
and in the form of standard score equations was
Z = .383ZX3