การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมนำ ความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • นายฤกษ์ชัย พลศรี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโรงเรียน ให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประเมินผลการพัฒนาโรงเรียน เป้าหมายของการพัฒนา ได้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรและการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดโรงเรียนบ้านโนนสว่าง จำนวน 353 คน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นแผนพัฒนาจำนวน 3 ด้าน 3 โครงการ 13 กิจกรรม ได้แก่

1.1 โครงการพัฒนาครู และบุคลากรประกอบด้วย 6 กิจกรรมได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน 3) กิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบการสร้างคนดีเหนือสิ่งอื่นใด 4) กิจกรรมแบบอย่าง 5) การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาลูกเสือเนตรนารี และ 6) กิจกรรมประชุมทบทวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาลูกเสือ-เนตรนารี

1.2 โครงการพัฒนานักเรียนประกอบด้วย 4 กิจกรรมได้แก่ 1) กิจกรรมการสอดแทรกและบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงในหลักสูตรและการสอน 2) กิจกรรมการสอนแทรก และบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) กิจกรรมการสอดแทรกและบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี 4) กิจกรรมจัดนิทรรศการแสดงวิถีชีวิตและคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.3 โครงการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาประกอบด้วย 3 กิจกรรมได้แก่ 1) กิจกรรมการวางแผนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา 2) กิจกรรมทางวิชาการ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเนื้อหาและหลักสูตรที่มีการสอดแทรก และบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กำหนดไว้ 3) กิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

2. ผลการประเมินการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามลักษณะองค์ประกอบ 3 ด้านดังนี้

2.1 ผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน่าพอใจ

2.2 ผลการพัฒนานักเรียน พบว่า นักเรียนเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนทุกคนหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ไม่ก่อปัญหาการทะเลาะวิวาทและมีคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน่าพอใจ

2.3  ผลการพัฒนาด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนนำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการ และประยุกต์ใช้ในการบริหารงานวิชาการ งานบุคลากร งานการเงิน งานบริหารทั่วไปและความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าพอใจ

 

Abstract

The purposes of this research were to examine the development of school of be moral leading knowledge institution based on the sufficiency economic principle and to evaluate the practical implementation of this principle the primary factors examined pertaining to school development were the students, faculty school personnel, and school administration practices This study was conducted by means of Pastipatory action research at Baan Non Sawang School with 353 students in the first term of 2551 academic year.

The results of research were as follows:

1. The examination of the school development as a moral leading knowledge institution based on sufficiency economic principle was threefold, comprised of three project areas and thirteen activities:

1.1 Teacher and personnel development project couprised of six activities :) conducting workshop, 2) visitation and study tour, 3)teaching and learning activities by cultivating good citizenship, 4) conducting modeling activities, 5)scouting development activities meetings, and 6) conducting meetings to review and evaluate the scouting

Development activities

1.2 student development comprised of four activities: 1 Conducting activities to integrate the sufficiency economic principle as part of the curriculum and instruction 2) organizing intervened activities and the sufficiency economic principle in student's nurturing system, 3) organizing intervened activities and the sufficiency economic principle integrated into student development and scouting activities , and 4) organizing the events to showcase the sufficiency economic principle in everyday life.

1.3 School management development project comprised of three activities: 1 Conducting meetings to plan the introduction of sufficiency economic principle into school curriculum and daily practicum, 2) professional development activities based on specified sufficiency economic principle, and 3) implementing project tangeting the relationship between school and surrounding

2. The results of evaluation of school development as amoral institution based on sufficiency economic principle revealed as follow:

2.1 The teacher and personnel development were found that they were good exemplary personnel who earned knowledge, abilities, and understanding the implementation of sufficiency economic principle in teaching and learning activities.

2.2 The student development indicated that they showed remarkable progress on behavior aid discipline, as well as dressing and wersall attitude towards their peers, showing predisposition towards moral decisions based on a sound understanding of sufficiency economic principle

2.3 school management indicated that the school could be able to apply the sufficiency economic principle and successfully integrated in the aspeets of academic, finance, and general administration.

Issue

Section

บทความวิจัย