สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานภาครัฐในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี Existing situations, problems and guide development of knowledge management of public under the office of chantaburi education service ...

Authors

  • เปรมศักดิ์ จินโจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา เปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาครัฐในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 495 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และสถานที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และสถานที่ตั้งของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง จำแนกตามขนาดโรงเรียน และจำแนกตามที่ตั้งของสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ

4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

5. แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี ได้แก่

5.1 ด้านการระบุความรู้ ควรสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้ จัดเก็บความรู้อย่างมีระบบงานต่อการสืบค้นและนำมาใช้งาน และสรรหาบุคลากรผู้รับผิดชอบส่งเสริมบุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์

5.2 ด้านการพัฒนาความรู้ ควรใช้กลวิธีและสื่อในการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ให้คลอบคลุมทุกกลุ่มและต้องขยายช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอผลงานและมีกิจกรรมอื่นๆ

5.3 ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ควรให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาวิชาการ สำนักงานเขตพื้นที่ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ต่อกัน

5.4 ด้านการเข้าถึงความรู้ ควรจัดการความรู้ที่เน้นเฉพาะส่วนของ ICT ให้ได้รายละเอียดขององค์ความรู้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

5.5 ด้านการสร้างความรู้ ควรระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการทำงานและหลังจากการทำงาน ซึ่งจะต้องมีหน่วยงานหรือบุคคลรับผิดชอบในการทำกิจกรรมสร้างความรู้

5.6 ด้านการแบ่งปันความรู้ ควรมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคลากรในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา แล้วนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกันระหว่างสถานศึกษา

5.7 ด้านการเรียนรู้ ควรเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของครู ให้มีทัศนคติทางบวกจากการทำงานและศึกษาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to evaluete the existing situations, problems, and guideline developing of knowledge management in the fundamental schools under the Office of Chantaburi, Educational Service Area. In this study, the data for research analysis were obtained from the 495 samples who work in the fundamental schools under the Office of Chantaburi Educational Service Area 1 and 2 by using the five-ranging scales questionnaire. The frequency, percentage, mathematic mean and standard deviation were used for descriptive statistics analysis. The t – test,  One-way ANOVA were used for statistics hypothesis.

The results of the study were as follows:

1. The situations of knowledge management, in the overall of analysis, on the fundamental schools under the Office of Chantaburi Educational Service Area was as high level, when the schools were classifyed by position, school size and location.

2. The problems of knowledge management, in the overall and aspects of analysis, on the fundamental schools under the Office of Chantaburi Educational Service Area was at moderate level, when the schools were classified by position, school size and location.

3. When the comparative analysis between the schools based on their position, school size and location were studied; the statistics significant differentials of knowledge managerial situations, overall level, on the fundamental schools under the Office of Chantaburi Educational Service Area were found no significant difference

4. Knowledge management problems, overall level classified by position, school size and location, 0X1 the schools were statistically significant difference.

5. The development guideline of Knowledge management on the fundamental schools under the Office of Chantaburi Educational Service Area were as follow.

5.1 Knowledge specifications; school should set her visions storing Knowledge easily to use and promoting personnel for computer- work, supporting the sharing and participating in Knowledge management.

5.2 Knowledge development; the schools should have good communication strategies and multi-channels to all segmented workers, for receiving and as exchanging idea.

5.3 Knowledge systematic management; knowledge conferences among the schools should be done for experience receiving, presenting and exchanging.

5.4 Knowledge access, two-way ICT should by done. The details of knowledge exchange should be perform.

5.5 Knowledge constructing, the schools should have brain-storming activities for exchanging experience among workers.

5.6 Knowledge sharing, the schools should have cooperation among educational institutions institutes for knowledge transferring and experience exchanging.

5.7 Knowledge learning, the teachers should change their learning and working attitude, and to find out the best way of working.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย