การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(The Development of Participative Model for Educational Administration of Provincial Administrative Organization)

Authors

  • นายเดชา พวงงาม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่มีความเหมาะสมและเป้รนไปได้และ (3) เสนอแนะการนำรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์

กลุ่มประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้ง 75 แห่ง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 225 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการเชิงลึก ได้แก่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องรวม 75 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนารูปแบบ 20 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบความตรงของรูปแบบ 5 คนและกลุ่มตัวอย่างผู้เกี่ยวข้องที่ใช้ในการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต สนทนากลุ่ม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และค่าความต่างของฐานนิยมและมัธยฐานเป็นสถิติในการวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีส่วนร่วมจัดการศึกษาใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจัดการศึกษาด้วยตนเอง การร่วมจัดการศึกษา และการสนับสนุนการจัดการศึกษา ปัจจุบันร่วมในการจัดการศึกษาในระดับน้อยยกเว้นด้านการบริหารงานวิชาการและการบริหารงบประมาณที่มีส่วนร่วมระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ ระเบียบงบประมาณไม่เอื้อ ระบบงานประสานความร่วมมือไม่ชัดเจน ขาดข้อมูลความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษา และอบจ. ยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา การแก้ปัญหาต้องจัดให้มีการทบทวนระเบียบว่าด้วยงบประมาณของ อบจ. จัดระบบความร่วมมือให้เป็นที่รับรู้ของผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการศึกษาความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา สร้างความเข้าใจและชี้เหตุผลความจำเป็นที่ อบจ. ต้องร่วมจัดการศึกษา (2) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องการให้ อบจ. มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระดับมาก มีความต้องการในภาพรวม เกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษา การจัดระบบงานความร่วมมือ การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด การเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาของ อบจ. และสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น เสนอแนะให้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนและประชาชน สนับสนุนงบประมาณตามภารกิจทั้ง 4 ด้านโดย อบจ. ต้องเป็นผู้ประสานการศึกษาระดับจังหวัด (3) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ อบจ. เป็นรูปแบบวิธีการ พัฒนาขึ้นตามภารกิจด้านการศึกษาของ อบจ. และความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม หลักความต้องการจำเป็น หลักภารกิจและกฎหมาย หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และหลักยุทธศาสตร์ มีเป้าประสงค์ให้เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการในการพัฒนาจังหวัดเป็นสำคัญ มีตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการใน 3 ยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจังหวัด การร่วมจัดการศึกษาตามความต้องการของประชาชน และการสนับสนุนการจัดการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ เด็ก เยาวชน และประชาชน และมีกลไกการขับเคลื่อนทั้งการจัดการและเงื่อนไขความสำเร็จที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องจัดการ รูปแบบนี้มีความตรงที่ IOC เท่ากับ .80-1.00 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก และ (4) การนำรูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปใช้ต้องจัดโครงสร้างการบริหารและระบบงานความร่วมมือ ให้มีคณะองค์กรรับผิดชอบในการประสาน โดยให้กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานการจัดการศึกษา สร้างค่านิยมร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาจังหวัด ติดตามประเมินผลความร่วมมือและจัดการความเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

คำสำคัญ: การพัฒนา, รูปแบบการมีส่วนร่วม, การจัดการศึกษา, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

Abstract

The aims of this research were to (1) study the activities, problems and needs on educational administration participation of provincial administrative organization (2) develop participative model for education administration of provincial administrative organization and (3) propose how to implement participative model for education administration of provincial administrative organization. The population was the provincial education stakeholder participation of 75 Evince, The sample were divided by the research objectives: the sample for studying the activities, problems and needs on educational administration participation of provincial administrative organization were 225 provincial administrative organization administrators, the informants for dept studying of the activities, problems and needs on educational administration participation of provincial administrative organization were 75 education administrators, the experts for model seminar were 20 experts, 5 experts for model verifying of content validity, and 400 stakeholders for model verifying of model appropriateness and possibility. Data was collected by mean of questionnaire, interview, observation, focus group and model seminar. Quantitative data was analyzed by the package computer program and the frequency, percentage, mean, standard deviation, mode and median were used for statistical analysis and the qualitative data was verified by triangulation technique, content analysis and analytic induction method.

The research results were (1) The three participative aspects of provincial administrative organization in educational administration were education self management, education co-operative management and education support. The participative level was at the least except academic management and fiscal management at the moderate. The important participative problems were unsupported fiscal law, unclear participative system, lack of education needs and unaware of education of the provincial administrative organization and their suggestion to solve the problems were to improve fiscal law, to make new and accepted participative system, find out school needs and inform the necessary in education management of the provincial administrative organization. (2) Stakeholders’ needs of the provincial administrative organization in educational administration were at the most, especially need on school fiscal support, participative system. education needs for provincial development, the provincial administrative organization readiness for education management and make more participation. Their suggestions were to support systematic education management, to be based on education needs, to be learners and peoples usefulness by supporting education fiscal 4 main aspects of manage­ment and responsibility for provincial duties of education for provincial development. (3) The Participative Model for Education Administration of Provincial Administrative Organization was the methodology model, based on provincial administrative organization's education duties and stakeholders’ need.  Five principles used in this model were the principles of: participation, needs, laws, good governance and strategy. It composed of 3 mains relative parts goal, strategy and management. Model goals were to educate people for provincial development, with 3 mail strategies: education management for province development; education co operation for to meet the people' need and education support to improve youth and people quality and (4) How to implement the Participative Model for Education Administration of Provincial Administrative Organization, was based on 6 main methods: to build administrative structure and system; to promote co-operative committee; to have provincial participative office; to build participative shared value; to evaluate the cooperation continuously and to manage administrative risk.

Keyword : The Development, Participative Model, Educational Administration, Provincial Administrative Organization

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย