รูปแบบการดำเนินการที่ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่มีประสิทธิผลของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 9
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่มีประสิทธิผล ในเขตตรวจราชการที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพ การปฏิบัติ ปัญหาและความต้องการในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ของรูปแบบเบื้องต้น และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ในการนำรูปแบบไปใช้ โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นสอบถามกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบและค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาสาระกับประสิทธิผลของการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้กับผู้เชี่ยวชาญ และประเมินรูปแบบเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคณะหนึ่ง และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบ โดยการประชุมกลุ่มสนทนา (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และนักวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปหลอมรวมประเด็น
ผลการวิจัยพบว่า
1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในระดับปานกลาง มีปัญหาระดับน้อย และต้องการให้มีการปรับปรุงการประชุม ต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ในระดับมาก ส่วนสภาพการส่งเสริมสนับสนุนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับมาก
2. ในการประเมินรูปแบบเบื้องต้น ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กลไกการดำเนินการ 4) วิธีดำเนินการ 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบการดำเนินการของงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา อาศัย 1) หลักความร่วมมือ หลักความรับผิดชอบ หลักการ มีส่วนร่วม หลักการประสานงานและแบ่งความรับผิดชอบ และหลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) มุ่งส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ 3) จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ให้การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ มีศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศตลอดทั้งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำ 4) ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม พัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้กิจกรรมการพัฒนาหลากหลาย ตลอดทั้งให้บริการข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง 5) จัดให้มีกิจกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้กิจกรรมและวิธีการประเมินที่เหมาะสม และนำผลงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาปรับปรุงแก้ไขและเผยแพร่ต่อไป และ 6) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ความสำคัญ สนับสนุนในด้านต่างๆ และยกย่องให้เกียรติคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วไป
ABSTRACT
The purpose of this research was to construct an operational model for promoting effective performance of the Educational Service Area Regional Board within the 9th Inspection Region in relevant to 1) the performance, problems, and needs of interventions to promote performance of the Education Service Area Regional Board within the 9th Inspection Region, 2) to construct a model and initially evaluate the model, and 3) the evaluation of the suitability, feasibility, and utilization of the operational constructed model. The study consisted of 3 phases as follows: first was to study the state of performance, problems, and needs, by using questionnaires to gather opinions from the superintendents and educational service area board; second was to construct a model and index of congruence between content and effective performance of educational service areas board according to experts' judgment, and then initially evaluate the model by another group of experts; third was to evaluate the model constructed by using focus group discussion technique with the educational service area board, personnel responsible for educational service area board performance and academics. The statistics used in data analysis included arithmetic mean, standard deviation, and content analysis.
The research findings were as follows :
1. The performance of educational service area board was found to be operated at a moderate level. The level of problems was at a low level. The needs of performance support in the meeting improvement and the provision of knowledge and skills in job performance were found to be ranked at a high level as well as the needs of support from the educational service area office.
2. For the initial evaluation of the model constructed, which consists of six components including 1) principle, 2) goal, 3) administration mechanics, 4) means for management, 5) evaluation, and 6) accomplishment condition, it was found that the suitability and utility of the model were at the highest level while the feasibility of the model was at a high level.
3. The evaluation of constructed model implementation based on experts' judgment revealed that the suitability and utility of the model were at the highest level while the feasibility were at a high level. The operational model for effective performance promoting Educational Service Areas Board was based upon 1) principles of cooperation, responsibility, participation, collaboration, sharing of responsibilities, and continuity in development, 2) a focus of support and full facilitation, 3) establishment of special unites to provide supports of resources of data and information including permanent supportive personnel, 4) participation of Board in administrative work in a suitable manner and the development of Board’s potentials through various activities as well as information provision service, 5) provision of evaluation of job performance of Board through appropriate assessment approaches and the presentation of Board's work to public, and 6) morale support and promotion of Board's work accomplishment to the public from the Office of Educational Service Areas.