การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (DEVE LOPMENT OF HEALT H PROMOTION MODEL IN HEALTH PROMOT ING SCHOOL)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพวิธีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ
1) การทำความเข้าใจสถานการณ์การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยทำการวิเคราะห์จากเอกสาร
2) การศึกษาข้อมูลสถานการณ์การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีการเชิงปริมาณจากการสำรวจความคิดเห็นคณะครู 48 คน และนักเรียน 360 คน
3) ศึกษาการมีส่วนร่วมและกลยุทธ์ในการดำเนินการงานสร้างเสริมสุขภาพของโรงเรียน และชุมชนจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 48 คน โดยทำการสัมภาษณ์ระดับลึก การจัดกลุ่มสนทนาและการสังเกต
4) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน
5) การปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจากการสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา 340 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 340 คน นักเรียนแกนนำ 680 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 340 คน
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 1) ก่อนเตรียมการมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และความคิดเห็นร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ 2) เตรียมการ มีการกำหนดโครงสร้าง ผู้รับผิดชอบ กำหนดบทบาทหน้าที่ภารกิจ การวางแผนและการจัดทำแผนพัฒนา โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม 3) ดำเนินการ มีการกำหนดนโยบาย สร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสร้างแกนนำนักเรียน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ พัฒนาทักษะส่วนบุคคล การบริการสุขภาพสุขภาพสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข็มแข็ง และกำกับติดตามประเมินผล โดยผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ 4) หลังดำเนินการ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และสมาชิกในชุมชนมีการพัฒนาสุขภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาครู นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นด้วยกับรูปแบบในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพไปใช้ควรปรับให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษามีการสร้างเครือข่ายและกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ABSTRACT
The study aimed to develop the health promoting school by studying the situation and the involvement of community to promote health together with the strategies for conducting the health promotion in health promoting schools where were excellent in the practice as the database for developing the model. There were 5 stages for conducting the research: 1) Understanding the practice situation in health promoting school by studying the documents. 2) Studying the information in health promoting school by the quantitative approach via the survey from 48 teachers and 360 students. 3) Studying the involvement and strategies of school and community from the 48 main data givers by depth interviews, discussion and observation. 4) Developing the health promotion model from the interview with 15 experts. 5) Improving the model after sending the questionnaires to sound the opinions of 340 school administrators, 340 teachers in health promoting schools, 680 leader students and 340 basic education committees.
The study revealed that the health promotion model in health promoting school consisted of 4 stages:
1) pro- preparation: providing the Knowledge, understanding realization and opinions of concerned in the health promotion development. 2) Preparation: setting the structure, assigning responsible persons, duties and missions, planning and making the development plan by every concerned. 3) Conduction : setting the policy, encouraging the involvement and network, developing leader students, creating the health friendly environment, improving the personal skills in the health service, strengthening community activities, following up and evaluation by concerned. 4) After conduction : students, teachers, guardians and community members continue to develop health consistently and avoid the risk behavior.
The result of the appropriateness and feasibility of model found the school administrations, teachers, students and basic education committees agreed with the model at the high level in every factors while giving the suggestion that the model should be used by adjusting to the context of school and setting the networks together with following up and evaluating the result continually.