ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก FACTORS AFFECTING THE DEVELOPMENT OF STUDENTS DISCIPLINE OF SECONDARY SCHOOL UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION IN THE ...

Authors

  • เอื้อมพร ลาโยธี

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการพัฒนาวินัยของนักเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การพัฒนาวินัยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก ด้วยปัจจัยจากนักเรียนเองปัจจัยจากกลุ่มเพื่อนปัจจัยจากทางบ้าน ปัจจัยจากระบบการบริหารโรงเรียน ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือข้าราชการครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานกิจการนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า

1. ปัจจัยจากการบริหารโรงเรียน ปัจจัยจากทางบ้านปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน

2. ปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน และปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาวินัยของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ปัจจัยจากนักเรียนเอง (X1) ปัจจัยจากทางบ้าน (X3) ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม (X5) ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน (X6) และปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน (X6) และปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน (X2) สามารถพยากรณ์การพัฒนาวินัยนักเรียนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 45.90 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการในรูปสมการคะแนนดิบได้ดังนี้

= 1.626 + .215(X1) + .162(X3) + .108(X5) + .098(X6) + .084(X2)

4. ปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน (X2) สามารถพยากรณ์การพัฒนาวินัยนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 8.3 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการ ในรูปสมการคะแนนดิบได้ดังนี้

= 2.102 + .122(X2)

5. ปัจจัยจากนักเรียนเอง (X1) ปัจจัยจากทางบ้าน (X3) ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน (X5) และปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม (X6) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมทั้ง 4 ปัจจัยเท่ากับ .536 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยรวมกันสามารถพยากรณ์การพัฒนาวินัยของนักเรียน ด้านวินัยต่อสังคมได้ 53.60 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการ ในรูปสมการคะแนนดิบได้ดังนี้

2 = 1.439 + .353(X1) + .236(X3) + .215(X5) + .130(X6)

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to determine the level of factors and the development of discipline, the correlation between factors and the development and the prediction of equation of the development of students discipline of secondary school under the Office of Basic Education commission in the eastern area. The sample consisted of 122 the teachers work as the leader of student affairs in the fourth level of secondary school under the Office of Basic Education in the eastern area in the academic year 2007. The research instruments were a set of 4 level rating-scale. The statistical devices used in this study were mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient and stepwise multiple analysis.

The results of the research were as follows:

1. The factors of school management, homes, the cooperation between parents and schools, students themselves, social and environmental conditions, and peer groups were rated at high level basic.

2. The factors of students themselves, the cooperation between parents and schools, social and environmental conditions and the development of students discipline had positively related with a the significant difference of .05

3. From the best prediction equation variables of factors in the aspects of students themselves (X1), homes (X3), social and environmental conditions (X6), the cooperation between parents and schools (X5) and peer groups (X2) could predict the development of discipline as a whole () at 45.90% and could cooperatively predict the development of discipline with the significant difference of .05 The raw data equation was shown as follows:

= 1.626 + .215(X1) + .162(X3) + .108(X5) + .098(X6) + .084(X2)

4. From the best prediction equation variables of factor in the aspects of friends group (X2) could predict the development of students self-discipline as a whole (1) at 8.30% and could predict the development of students self-discipline with the significant difference of .05 The raw data equation was shown as follows:

1 = 2.102 + .122(X2)

5. From the best prediction equation variables of factors in the aspects of students themselves (X1), homes (X3), the cooperation between parents and schools (X5) and social and environmental conditions (X6), could predict the development of students social-discipline as a whole (2) at 53.60% and could cooperatively predict the development of students social-discipline with the significant difference of .05 The raw data equation was shown as follows:

2 = 1.439 + .353(X1) + .236(X3) + .215(X5) + .130(X6)

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย