การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน AN ANALYSIS OF FACILITATING FACTORS AND RESTRAINING FACTORS TOWARDS IMPLEMENTATION FOR BASIC ...

Authors

  • สมัยพร แหล่งหล้า

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งศึกษาสภาพการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา ซึ่งดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ศึกษาจากกรณีศึกษา 3 โรงเรียน ซึ่งเป็นตัวแทนของโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ แล้วนำผลการวิจัยที่ได้ทั้ง 2 ส่วนมาสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษา ข้อค้นพบเชิงปริมาณ พบว่า โรงเรียนทั้ง 3 ขนาด ส่วนใหญ่มีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติครบทุกนโยบาย แต่ในโรงเรียนขนาดเล็กไม่สามารถนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติได้ครบทุกด้านมากที่สุด และนโยบายที่มีการดำเนินการน้อยที่สุด คือการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ ในข้อค้นพบเชิงคุณภาพพบว่า โรงเรียนทุกขนาดมีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ แต่ไม่ครบทุกด้านขึ้นอยู่กับความพร้อมและบริบทแวดล้อมของสถานศึกษานั้น

2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ ในกลุ่มปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ประกอบด้วยผู้บริหารมีเจตคติที่ดี มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเข้าใจในเป้าหมาย ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้การสนับสนุนบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ ในกลุ่มปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม ประกอบด้วยผู้ปกครอง และชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินการในด้านต่างๆ ของโรงเรียน และผู้ปกครองมีเจตคติที่ดีต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปปฏิบัติในโรงเรียน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี คือ การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารทำให้การนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในโรงเรียนมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านการเมือง ประกอบด้วย รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดให้โรงเรียนต้องนำนโยบายมาปฏิบัติอย่างชัดเจน กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและมีการสนับสนุนที่ชัดเจนและจริงจังในการจัดให้มีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในโรงเรียน

3. ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ ในกลุ่มปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านงบประมาณ คือ โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา งบประมาณสำหรับการดำเนินงานด้านวิชาการตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ โรงเรียนมีครูอาจารย์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการ ต่างๆ ปัจจัยด้านวัสดุ คือ โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร คือ การดำเนินงานต่างๆ ไม่สนับสนุนการทำงานเป็นทีมและขาดการร่วมคิดร่วมทำ ในกลุ่มปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง เช่น นโยบายการปรับลดอัตรากำลังของภาครัฐ ส่งผลให้ครูไม่เพียงพอที่จะจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยผู้ปกครองและชุมชนมีฐานะไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษากับโรงเรียน ภาวะเศรษฐกิจของชุมชนตกต่ำ ไม่สามารถให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่โรงเรียนได้ และรัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณที่ตอบสนองความต้องการของโรงเรียน

 

ABSTRACT

The research was focused on how the educational policy is applied in schools under the Office of the Basic Education Commission in order to find out facilitating factors and restraining factors. It was conducted in the schools on the basis of quantitative research and qualitative research. The quantitative research was used questionnaires to obtain the information and the qualitative research studied the case studies in three schools-small size, middle size and big size. The result of those methods are synthesized. The findings were found that:

1. In the quantitative research, it was found that most policies have been used in all sizes of the schools. However, some basic policies could not be perfectly used in the small size of schools and the least policy used was the learning process for exceptional children. In the qualitative research, it was found that basic educational policies have been used in all sized of schools but not every step. It was depended upon the suitability and the circumstances of the schools.

2. Main factors which support the implementation of basic educational policy-internal factors; the leadership includes the attitudes of the administrators, the administrator should be determined to follow the basic educational policy, understand the purposes and consider the significance of the policy, as well as encouraging the staffs to potentially succeed along the educational development scheme. In terms of external factors, the research was concerned about the social factors which were consisted of parents and community. The supportive attitude of parents can play an important role for basic educational policy. Besides, technology was also a factor which helped in communicating and reducing time consumption in the educational system. The progress of computer development also played a part in improving the educational quality. Political factors were also considered as the one supporting the schools to follow the basic educational policy.

3. Restraining factors towards implementation for basic educational policy; internal factor; budget factors-insufficiency of budget from the government affected the quality of school education such as the lack of staffs and teachers, the shortage of budget for managing and inefficiency of school equipments. Organizational structure factors such as the lack of cooperation or teamwork was also a part of the problem in the system. External factors; political factors liked some government policy can restrict the quality of education. For instance, decision of reducing the educational budget can lead to the lack of staffs and teachers. Financial factors were a part of problem in development, for example, low-income-parents cannot cooperate and support the schools’ policies. The financial crisis in the country also made a big impact to the government in terms of supplying the suitable budget to the schools.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย