ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน และการบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว RELATIONSHIPS BETWEEN TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS...

Authors

  • กัลยาณี บุตรดีวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนจากตัวแปรปัจจัยชีวสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและการบริหารโรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน การบริหารโรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสระแก้ว จำแนกตามขนาดของโรงเรียนวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร ประสบการณ์ การบริหารงานของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน การบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานประกอบด้วย การคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน การตรวจสอบและถ่วงดุลขนาดโรงเรียนและการมีส่วนร่วมสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนดังสมการในรูปคะแนนดิบ

effectiveness        = 1.256 + .247return power to people + .286check and balance .108school size

+.183participation

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to predict the equation of the effectiveness of schools from transformational leadership and school based management under the Office of Sakaeo Educational Service Area. The samples were 350 school teachers. The instruments were a set of five-levels rating scale. The statistical devices used in this study were mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis.

The research found that:

1. Transformational leadership of school administrators, school based management of school administrators and schools effectiveness under the Office of Sakaeo Educational Service Area classified by school size, educational of school administrators and experience of school administrators were at high level both totally and each aspects.

2. Transformational leadership of school administrators, school based management under the Office of Sakaeo Educational Service Area were correlated with the school effectiveness with statistically significant difference at .05.

3. Transformational leadership of school administrators, school based management in the aspect of return power to people, check-balance, school size and participation under the Office of Sakaeo Educational Service Area were predicted the effectiveness of the schools with equation in raw scores as;

effectiveness        = 1.256 + .247return power to people + .286check and balance .108school size

+.183participation

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย