องค์ประกอบการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (PROCESSINONAL DEVELOPMENT COMPONENTS OF TEACHERS IN LARGE PRIMARY SCHOOLS IN BANGKOK METROPOLIS AND SUBURBAN AREA)

Authors

  • สถาพร สถาพร จำรัสพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาวิชาชีพครู ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วยขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดกรอบความคิดการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบโดยวิธีการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 649 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการแสดงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบต้นแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ โครงสร้างและบริบทของโรงเรียน รูปแบบการพัฒนา การพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วม และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าทุกองค์ประกอบมีความสำคัญระดับ 3.99 ขึ้นไป ยกเว้นองค์ประกอบเรื่องรูปแบบการพัฒนาที่มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.90 เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องการประเมินผลมากที่สุด

เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ด้วยการ Rotate Component Matrix พบว่า การจับกลุ่มขององค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากองค์ประกอบต้นแบบที่ 5 ตัวแปร องค์ประกอบการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการวิจัยในครั้งนี้มี 8 องค์ประกอบ คือ

1. องค์ประกอบด้านการประเมินผล

2. องค์ประกอบด้านการพัฒนาตนเอง

3. องค์ประกอบด้านโครงสร้างและบริบทของโรงเรียน

4. องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำของครู

5. องค์ประกอบด้านโอกาสในการเรียนรู้

6. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม

7. องค์ประกอบด้านการกำหนดวิสัยทัศน์

8. องค์ประกอบด้านการใช้การวิจัยเป็นฐาน

งานวิจัยเรื่องนี้จึงได้ข้อสรุปของการวิเคราะห์ใหม่ว่า ในการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ควรให้น้ำหนักความสำคัญ เรื่อง การประเมินผลการพัฒนาวิชาชีพครูมากที่สุด และให้น้ำหนักความสำคัญเรียงลำดับจากมากไปสู่น้อยจากเรื่องการพัฒนาตนเอง โครงสร้างและบริบทของโรงเรียน ความเป็นผู้นำของครูโอกาสในการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การกำหนดวิสัยทัศน์ และการใช้การวิจัยเป็นฐาน

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to find out the suitable components for professional development of teachers in large primary schools in Bangkok Metropolis and Suburban Area. The questionnaire was used for gathering the data in 2551 BE. The sample was teachers in the large primary schools in Bangkok Metropolis and Suburban Area.

The research results indicated that in the original 5 components: the structure and school context, models of teacher professional development, personal development, participation, and evaluation. The teachers weighted each component at 3.99 from 5 excepts in the component of teacher professional development, they weighted this component at 3.90. The most important component was evaluation of teacher professional development.

The researcher reanalyzed the 5 components by Rotate Component Matrix 8 new cluster of components were found as follows:

1. Evaluation of professional development

2. Self-development

3. Structure and school context

4. Teacher leadership

5. Opportunity of learning

6. Participation

7. Vision setting

8. Research-based

The research revealed that when to develop professional development in large primary schools in Bangkok Metropolis and Suburban Area should consider the new cluster of components instead of the original components, for example the large primary school in Bangkok Metropolis and Suburban Area as the first priority.

 

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย