ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์(RELATIONSHIP BETWEEN EMOTIONAL QUOTIENT AND TRANFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATIONS UNDER THE OFFICE OF SURIN EDUC)

Authors

  • นิตยา วิเศษยา

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ และแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสุรินทร์ มีความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งได้แก่ ความดี ความเก่ง และความสุข อยู่ในระดับปานกลาง

2. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่การสร้างแรงบันดาลใจ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในระดับมาก

3. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ ที่มีวุฒิการศึกษา และสถานภาพสมรสต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกันผู้บริหารที่มีประสบการณ์ทางการบริหารต่างกันและได้รับการฝึกอบรมต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน

4. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ ที่มีวุฒิการศึกษาประสบการณ์ทางการบริหาร การได้รับการฝึกอบรมในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา และสถานภาพสมรสที่ต่างกัน มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกัน

5. ความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ยกเว้นด้านแรงบันดาลใจและการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to find out the relationship between emotional quotient and transformational leadership of administrators under the Office Educational Service Area, Surin Province. The sample were 261 school administrators under the Office of Surin Educational Service Areas. The research Instrument were the emotional quotient questionnaire with 4 scale level and transformational leadership style questionnaire with 5 scale level statistical devices were percentage, mean standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and simple correlation.

The results of this research were:

1. School administrators in the dimension of goodness was rated at high level while the dimension of ability and happiness were rated at moderate level.

2. School transformational leadership of the administrators in the dimension of Inspiration motivation, Individualized consideration, Intellectual stimulation and Idealized Influence were rated at high level.

3. School administrators with difference in educational level, family status had non significance difference in emotional quotient, but with difference in working experience, training experience were significance difference in emotional quotient.

4. School administrators with the difference in educational level, working experience, training experience and family status were non significance difference in transformational leadership.

5. There were significance relationship between emotional quotient and transformational leadership of the school administrators under the Office Educational Service Area, Surin Province.

Issue

Section

บทความวิจัย