การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก(THE ADMINISTRATOR’S USE OF POWER AND SATISFACTION OF TEACHERS IN ELEMENTARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF NAKHONNAYOK EDUCATIONAL)

Authors

  • รักชนก คำวัจนัง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกด้านการใช้อำนาจระหว่าง .57-.90 ค่าความเชื่อมั่น .98 และมีค่าอำนาจจำแนกด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ระหว่าง .42-.86 ค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุตัวแปรแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ อำนาจการบังคับ

2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผลตอบแทน ความคาดหวัง และวีการสู่จุดมุ่งหมาย ตามลำดับ

3. เปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามเพศและขนาดโรงเรียน พบว่า ข้าราชการครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านอำนาจการบังคับ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูเพศหญิงมีความคิดเห็นสูงกว่าข้าราชการครูเพศชาย ส่วนข้าราชการครูที่สังกัดขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นอำนาจการให้รางวัล และอำนาจอ้างอิง ที่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

4. เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน พบว่า ข้าราชการครูที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านความคาดหวังมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูเพศชายมีความพึงพอใจมากกว่าข้าราชการครูเพศหญิงส่วนข้าราชการครูที่สังกัดขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

5. การใช้อำนาจที่ส่งผลความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก คือ อำนาจเชี่ยวชาญ (X5) และอำนาจการให้รางวัล (X1) ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูได้ร้อยละ 57.10 โดย สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังสมการมาตรฐาน คือ

= 0.47ZX5 + 0.36 ZX1

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study the administrator’s use of power and job satisfaction of teachers in elementary schools under the office of Nakhon Nayok Educational Service Area. The sample in this study consisted of 265 teachers in elementary schools under the office of NaKhon Nayok Educational Service Area. The instrument used for collecting the data was a rating scales questionnaire, with discrimination use of power value was between .57-.90 and reliability value of .98. Besides, its discrimination job satisfaction value regarding elementary schools teachers’ job satisfaction was between .42-.86 and reliability value of .96. The statistics used were mean, standard deviation. t-test, One-Way ANOVA, Stepwise-Multiple Regression Analysis.

The findings revealed as follow.

1. The administrator’s use of power and satisfaction of teachers in elementary schools under the Office of Nakhon Nayok Educational Service Area, in six aspects was found to be at the high level. But the coercive power was found to be medium level

2. The job satisfaction of teachers in elementary school under the Office of Nakhon Nayok Educational Service Area, as a whole, was found to be at the high level. It could be ranked from high low as follows: valence, expectancy, and instrumentality.

3. When compared the opinion of teachers on the administrator’s use power, it was found that, overall, there was no significant difference. But when compared in each aspect, there was a difference at a level of .05 with the aspect of coercive power. It was also found that there is a significant difference at a level of .05 with two aspects reward power and referent power when compared the opinion of teachers from different school sizes.

4. When compared the job satisfaction of teachers in elementary schools, overall there was no significant difference. But when compared in each aspect, there was a significant difference at a level of .05 with the expectancy. It was also found that there was no significant difference of teachers’ job satisfaction from difference school sizes.

5. Administrator’s use of power affected teachers’ job satisfaction on expert power (X5), and on reward power (X1), were found to be co-predictors of job satisfaction at 57.10%. Which statistically significant at a level of .01. This could be transformed into the following equation:

= 0.47ZX5 + 0.36 ZX1

Issue

Section

บทความวิจัย