การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา (A DEVELOPMENT OF INDICATORS OF LEARNING ORGANIZATION OF THE PRIVATE VOCATIONAL SCHOOLS)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา และเพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา จำนวน 192 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร และครู จำนวน 960 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้วผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ พลวัตแห่งการเรียนรู้การปรับเปลี่ยนองค์การ การให้อำนาจและสร้างความสามารถให้กับบุคลากร การจัดการความรู้ และการเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งทั้ง 5 องค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่านตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 20 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 52 ตัว จากการพิจารณาน้ำหนักขององค์ประกอบหลักของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษาจากองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ สามารถเรียงลำดับค่ามากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) การให้อำนาจและสร้างความสามารถให้กับบุคลากร 2) การจัดการความรู้ 3) พลวัตแห่งการเรียนรู้ 4) การปรับเปลี่ยนองค์การ 5) การเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผลการตรวจสอบความเที่ยงของโมเดลเชิงโครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานในการวิจัย พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this research were to develop indicators of Learning Organization of the Private Vocational Schools and to test the validity of the structural model of Learning Organization of the private vocational school with the empirical data. A group of 960 administrators and teachers from 192 private vocational schools was selected to participate in this study by a stratified random sampling technique. The data of the research were collected by rating scale questionnaire and analyzed by percentage, mean, standard deviation, chi-square, goodness of fit (GFI) and adjust goodness of fit – (AGFI). The results of this research revealed that : The five main factors consisted of learning dynamic, organization transformation, empowering and enabling people, knowledge management and adding technological power. The five factors had to be practiced via 20 variable minor factors and 52 learning organizational indicators. The 5 composite indicators of learning organization of the private vocational schools ranked in order of weight were as follows: 1) empowering and enabling people 2) knowledge management 3) learning dynamic 4) organization transformation 5) fulfill technological power. The result of the structural validity test of the model of Learning Organization of the private vocational schools with the empirical data by using Chi-square, the Goodness of Fit Index and the Adjusted Goodness of Fit Index was found that the model was significantly consistent with empirical data at .05 level.