ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด(RELATIONSHIP BETWEEN THE POWER OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND JOB SATISFACTION OF TEACHERS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF TRAT BASIC EDUCATION

Authors

  • นันทิยา บัวตรี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้อำนาจของผู้บริหาร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด ซึ่งสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีวิเคราะห์ความแตกต่างนัยสำคัญทางสถิติน้อยที่สุด (Least Significance Difference: LSD) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนและ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราดโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในระดับสูง

3. ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราดเรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนด้านอำนาจการพึ่งพา ด้านอำนาจการให้รางวัล และด้านอำนาจตามกฎหมาย ได้สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราดที่ดีที่สุดในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้

=  1.847 + .271(X7) + .147(Xt) + .091(X3)

 

ABSTRACT

The purposes of the study were to study the power of school administrators and job satisfaction of teachers in schools as well as to study the relationship between the power of school administrators and job satisfaction of teachers in schools under the office of Trat Basic Education Service Area that can predict the job satisfaction of teachers. The sample used for the study was 308 teachers in school under the Office of Trat Basic Education Service Area. The instruments used for the study was a rating scale questionnaire. Statistics used for analyzing the data were, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, Least Significance Difference: LSD, simple correlation and stepwise multiple Regression.

The summary of the findings were as follows:

1. The power of school administrators and job satisfaction of teachers in schools under the Office of Trat Basic Education Service Area were ranked at a high level

2. The power of school administrators had a positive correlation with the job satisfaction of teachers in schools under the Office of Trat Basic Education Service Area at a high level.

3. The best factors that could predict the job satisfaction of teachers were connection power (X7), reward power (X1) and legitimate power (X3) that could be written in the form of following equation.

=  1.847 + .271(X7) + .147(Xt) + .091(X3)

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย