พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(THE MULTI-LEVEL FACTORS AFFECTING SUCCESS IN DEVELOPING STUDENTS’ ETHICS OF PROTOTYPE BUDDHIST SCHOOLS UNDER THE OFFICE OFBAS

Authors

  • นพรัตน์ ชัยเรือง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนค้นหาปัจจัยระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน ของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียน โดยมีความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมเป็นตัวแปรตาม ในระดับนักเรียน ประกอบด้วย พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ระดับห้องเรียนประกอบด้วย ความพึงพอใจของครูในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน และระดับโรงเรียนประกอบด้วย ความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียน 1,040 คน ครู 208 คน และผู้บริหารโรงเรียน 52 คน รวมทั้งสิ้น 1,300 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบวัดรวม 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS for the Windows และวิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL 8.72

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง

2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่าพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียน การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวก เพศหญิงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ส่วนสถานภาพทางครอบครัวของบิดามารดานักเรียน รายได้ของผู้ปกครองนักเรียน และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน

3. ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่า ความพึงพอใจ ของครูในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากตัวแปรปัจจัยคุณภาพการสอนของครูมากที่สุด รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคมของครู ส่วนตัวแปรอื่นๆ เช่น อายุของครู ความพึงพอใจของครูต่อการปฏิบัติงาน และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของครูมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกทั้งสิ้น ขณะที่ระดับการศึกษา ประสบการณ์ของครู กิจกรรมและบรรยากาศกระบวนการพัฒนาจริยธรรมไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อความพึงพอใจของครูในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน

4. ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่าความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากตัวแปรปัจจัยเดียว คือ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ขณะที่ตัวแปรวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก ส่วนวัฒนธรรมโรงเรียน บรรยากาศโรงเรียน นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจริยธรรม ไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรม และคุณลักษณะลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to examine the levels of success in developing students ethics, and to investigate factors relating to students, classrooms, schools that affected the success of developing students’ ethics in prototype Buddhist schools under the Office of Basic Education Commission. Specifically, this study aimed at examining 3 levels of causal factors influencing the success of ethical development, which included the student, classroom, and school levels, Regarding the student level, it focused on student’s ethical behavior. For classroom level, the main emphasis was placed on the teachers’ level of satisfaction in developing students’ ethics, Also, at classroom level, it consisted of the administrators’ abilities in developing students’ ethics and students’ desired attributes. There are 1,300 subjects participating in this study, including 1040 students, 208 teachers, and 52 school administrators. These subjects were selected by the multi-stage sampling technique. The instruments use in this study included 3 questionnaires and measurement inventories. Data analysis was conducted using the SPSS for the Windows. The program of LISREL 8.72 was also operated to analyze multi-levels of path Analysis.

The results of this study were as follows:

1. The level of success of developing students’ ethics in prototype Buddhist schools under the Office of Basic Education Commission was found at a relatively high level.

2. Regarding factors at student level, it was revealed that students’ ethical behaviors were directly and positively influenced by their future-oriented aspect and self-control. The factors including students’ upbringing, social supports, and environment were ranked second that directly and positively shaped students’ ethical behaviors. Also, it was found that a gender factor, especially being female, had a positive effect on students’ ethical behaviors. Finally, it was shown that students’ socio-economic background, the parents’ amount of income, and the use of ethical reasons had no influence on their ethical behavior.

3. Considering factors at classroom level, it was found that the teachers’ levels of satisfaction in developing students’ ethical behaviors were positively and largely affected by a factor pertaining to the quality of teaching. The second factor influencing the teacher levels of satisfaction was the social supports. Other variables, such as teacher’s age, their satisfactory level to ward their job performance, and their ethical behaviors had an indirectly positive influence on their levels of satisfaction. However, the teachers’ educational levels, experiences, activities and atmosphere in developing students’ ethical behaviors did not influence their levels of satisfaction.

4. With regard to factors at school level, abilities in developing students’ ethical behaviors and students’ desired attributed were positively influenced their ethical behaviors. Also, it was found that the administrators’ visions and leadership had an indirectly positive influence on their abilities in developing students’ ethical behaviors and students’ desired attributes. Finally, it was shown that factors including school culture, atmosphere, policies and strategic plans in ethical development had no influence on administrators’ abilities in developing students’ ethical behavior and students’ desired attributes.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย