การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาล โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(A MODEL DEVELOPMENT OF THE LEARNING CENTER IN THE HOSPITAL USING PARTICIPATORY ACTION RESEARCH APPROACH)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาลและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาล เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ตามแนวทางของ Kemmis & McTaggart (1990) และ Zuber-Skerritt (1992) ช่วงแรกเป็นการศึกษานำรองโดยใช้แบบสอบถาม ถามประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี และสัมภาษณ์ผู้บริหารของศูนย์การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หลังจากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์สร้างรูปแบบแล้วประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน มีปัญหาที่สำคัญ 8 ประเด็น ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ผู้วิจัยจึงเลือกมาเป็นประเด็นต้นแบบในการพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาล 2. รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาล มีองค์ประกอบ 2 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างของศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ การกำหนดสถานที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ และการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงาน 2) ด้านกระบวนการทำงานของศูนย์การเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มแกนนำเครือข่ายชุมชน การเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนมีโอกาสเข้าถึง โดยง่ายและสะดวกต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคล และการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการของชุมชน 3. ประสิทธิภาพของรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในโรงพยาบาล จากประเด็นต้นแบบอยู่ในระดับดีขึ้นไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 4 ประการ คือ 1) ผู้บริหารให้การสนับสนุนทั้งสถานที่และงบประมาณ 2) ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่รู้และมีวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) คุณค่าของความรู้สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง 4) รูปแบบของศูนย์การเรียนรู้มีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ABSTRACT
The purposes of this study were to identify community problems and develop a model for a learning center in a hospital and evaluate its effectiveness. This study was conducted through participatory action research (PAR) according to the action research spiral of Kemmis and McTaggart, (1990) and Zuber-Skerritt (1992). The quantitative data collection through questionnaire was used as a pilot study, then followed by the participatory action research.
The study revealed that, 1. The most important community problem is health environment. 2. The desired model for the learning center in the hospital was composed of two aspects: 1) the structure of learning center in a hospital including of; locating of the site of the learning center, and allocating of the operating units. 2) the process of learning center in a hospital were four steps; (1) creating community participation and network. (2) provide learning resource that is accessible and convenient people have accessible and convenient to learn (3) supporting to self-learning. (4) solving community problems. 3. The effectiveness of the model; the model of the learning center in the hospital proved to be highly effective according to critical success factors as followings: 1) policy of organization 2) motivation for learning and learning organization 3) value of activities for learning 4) dynamic change for learning.