ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(MULTI-LEVEL FACTORS AFFECTING THE SUCCESS OF IMPLEMENTATION OF DECENTRALIZATION POLICY ON BASIC EDUCATION SCHOOL)

Authors

  • พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจประเภทที่หนึ่งผู้บริหารและศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 885 คน ตัวแปรระดับสถานศึกษา จำนวน 6 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้าได้แก่ ภาวะผู้นำ ของผู้บริหาร สมรรถนะของสถานศึกษา การยอมรับของบุคลากร กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วมการกระจายอำนาจในการบริหาร และกลุ่มตัวแปรผลผลิต เป็นตัวแปรตามคือ ความสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติ ตัวแปรระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 7 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้า ได้แก่ ลักษณะของนโยบายมาตรฐานนโยบาย ทรัพยากรนโยบาย กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ขององค์กรการบริหารแบบมีส่วนร่วม การกำกับติดตามประเมินผล กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษา

ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลพัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า c2 เท่ากับ 32.52 ที่ df เท่ากับ 59 ค่า p เท่ากับ 1 ค่า GFI เท่ากับ 1 ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติของสถานศึกษาได้ร้อยละ 86 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การกระจายอำนาจในการบริหารส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสมรรถนะของสถานศึกษาการยอมรับของบุคลากร และการบริหารแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างระดับปรากฎว่ากลุ่มตัวแปรผลผลิตคือความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลต่อกลุ่มตัวแปรป้อนเข้า กลุ่มตัวแปรกระบวนการและกลุ่มตัวแปรผลผลิตระดับสถานศึกษา การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างระดับ ปรากฏว่ากลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจในการบริหารระดับสถานศึกษา

 

ABSTRACT

The purpose of research were to Multilevel Casual Model of factors affecting the success of implementation of decentralization policy on basic education school under the office of basic education commission, based on the concepts of decentralization policy, system theory and education structure. This research focused on the study of casual factors in two levels: school level and educational area level. The sample, classified by multi-stage random sampling, consisted of 499 teachers and education committee, and classified by simple random sampling consisted of 386 administrator and supervisor in education area office. School factors consisted of; 1) Input factors : leadership, capacity of school, perception 2) Process factors : participate administration, decentralization administration and 3) Output factors : Success of implementation of decentralization policy. District factors consisted of; 1) Input factors: policy specification, policy standard, policy resource 2) Process factors, organization relationship, participate administration, evaluation 3) Output factors: district concentrated. Data were collected by 2 types of questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, using SPSS. LISREL 8.54 to develop and validate the causal relationship model and HLM 6.04 (Student Edition) for multi-level analysis

Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be: c2 = 32.52, df = 59, p = 1, GFI = 1, RMSEA = .00 The variables in adjusted model accounted for 86 percent of the variance in affecting the success of implementation of decentralization policy. Variables having a statistically significant direct effect on affecting the success of implementation of decentralization policy were decentralization administration. Variables having a statistically significant indirect effect were: 1) leadership 2) capacity of school 3) perception and 4) participate administration. There were interactions between school level and district level, these were between output factor: district concentrated and input factors, process factors, output factors on school level. There were interactions between output factor: district concentrated and participate administration and decentralization administration.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย