การศึกษาการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารโรงเรียนกิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด(THE STUDY OF COMMUNITY PARTICIPATION IN EDUCATIONAL ADMINISTRATION AND GUIDELINES FOR PARTICIPATIVE DEVELOPMENT OF SCHOOLS IN

Authors

  • นันทิยา บัวตรี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีร่วมส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนและสถานภาพของสมาชิกในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปฏิบัติการสอน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชนคณะกรรมการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบค่าที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สาระจากการสนทนากลุ่มผลการวิจัยปรากฎดังนี้

1. การศึกษาการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเกาะช้าง และโรงเรียนเกาะช้างใต้พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

4. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นมีส่วนร่วมจัดทำแผนจัดตั้งงบประมาณ รวมทั้งการติดตาม ควบคุมกำกับการประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนและพิจารณาเห็นชอบกับโครงการที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติการประจำปี

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to evaluate participation and guidelines for participative development of community in educational administration of schools in Kobchang sub-district, the Office of Trat Educational Service Area as classified by school location and social status, as well as to find out the guidelines for participative development of schools. The samples of the study were 240 teachers, parents, community leader, school committees under the Office of Trat Educational Service Area. The data collecting tool was a five-level rating scale questionnaire. The Statistical devices were mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and content analysis from focus group discussion.

The findings were as follows

1. The level of community participation in educational administration and guidelines for participative development of schools in Kohchang sub-district under the Office of Trat Educational Service Area was rated at a moderate level.

2. The community participation in educational administration of schools as a whole in Kohchang sub-district under the Office of Trat Educational Service Area, classified by school location were significant different at .05

3. The community participation in educational administration of school as a whole in Kohchang sub-district under the Office of Trat Educational Service Area classified by social status were significant different at .05

4. The guidelines for participative development of schools in Kohchang sub-district under the Office of Trat Educational Service Area were; The schools should encourage the community to participate in local curriculum development, proposed the budget plan, control and follow up the annual budget, participate in personal working evalution, and approve the annual action-plan.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย