รูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ (THE MODELS OF PERFORMANCE-BASED BUDGETING IN PUBLIC BASIC EDUCATION SCHOOLS)

Authors

  • สุริสา บุญโชติหิรัญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบรูปแบบ 2) สร้างรูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่นำไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) 3) ตรวจสอบรูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่นำไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเชิญผู้ปฏิบัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐมาร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน รวม 8 ด้านคือ 1. การวางแผนและจัดทำงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนงบประมาณ โดยคณะกรรมการวางแผนพัฒนาจัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง 3 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การควบคุม ติดตามและประเมินผล จัดทำเป็นรายงานสรุปและนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์ต่อไป 2) ด้านการคำนวณต้นทุนกิจกรรมเก็บข้อมูลจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงินภาครัฐ (GFMIS) ครอบคลุมเงินในและนอกงบประมาณ โดยจำแนกเป็น 5 งบรายการ คือ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่นๆ 2. ด้านการอนุมัติงบประมาณ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี กำหนดเกณฑ์ในการอนุมัติงบประมาณที่มีความชัดเจน การอนุมัติงบประมาณคำนึงถึงผลลัพธ์ ผลผลิต การควบคุมกำกับ ติดตามผลการอนุมัติงบประมาณโดยคณะกรรมการและนำการรายงานผลปีที่ผ่านมาประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3. การบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง ดำเนินการตามขั้นตอนโปร่งใส ตรวจสอบได้ติดตามและประเมินผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดทำรายงานผลการดำเนินการ 2) ด้านการบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณโดยการกำหนดนโยบายการเงินและควบคุมงบประมาณสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีการจัดทำบัญชีต้นทุนตามกิจกรรม (Activity-Based Costing) 3) ด้านการบริหารสินทรัพย์ โดยคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ในการบริหารสินทรัพย์ 4. การติดตามประเมินผลงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการรายงานการเงินและผลการดำเนินงาน โดยการจัดทำรายงานการเงิน งบดุลและงบรายรับรายจ่ายทุกเดือน งบดุล งบกำไร ขาดทุน ทุกไตรมาส การประเมินผลก่อนเริ่ม ขณะดำเนินการ หลังดำเนินการ 2) ด้านการตรวจสอบภายใน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีการกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบภายในที่ชัดเจน การปฏิบัติเชิงเปรียบเทียบกับองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ประเมินผลโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน (Performance Audit) มีการรายงานผลการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

ABSTRACT

The study was designed to develop the models of performance-based budgeting in public basic education schools. The methodology of the study comprised three following steps; 1) analyzing the documents concerning the performance-based budgeting; 2) designing and developing the models of performance-based budgeting by Delphi Technique from eighteen experts; and 3) Checking the models of performance-based budgeting by focus group technique from eight administrators. The statistical devices used for this study were percentage, median and interquartile range.

The results revealed four steps of eight aspects of performance-based budgeting as follows; 1. Budget Planning & Preparation; 1) Budget planning by committee to plan strategies in planning the budget for the range of three years by co-operative control following evaluation and summary of used information; 2) Activity-based costing analysis of documents from GFMIS covering budget for 5 programs which were programs for staff, operation, supporting, investing and other expenditure; 2. Budget Adoption: To endorse budget by school committee using information technology, set criterion for transparent grant of budget to endorse budget in order to result with output control by committee and finally use report from last year in considering new budget; 3. Budget Execution; 1) Procurement management with honest and follow up by reports; 2) Financial management and Budget control by making policy to control budget according with policy of office control by activity-based costing; 3) Asset management by committee to set up policy and strategy; 4. Monitoring and Evaluation; 1) Quarterly financial and performance reporting; 2) Internal audit discussion by committee and benchmarking with successful organization, evaluation by performance audit and report to the office of basic education committee.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย