การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(A DEVELOPMENT OF THE KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL FOR ACADEMIC ADMINISTRATION IN BASIC EDUCATION SCHOOL BY PARTICIPATORY ACTION RESE)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แนวคิดของเคมมิส และแม็คแทกการ์ท ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูจำนวน 8 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน ของโรงเรียนวัดท่าเรือ “อุตสาหะวิทยาคาร” ซึ่งได้มาจากการสุ่มตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์วิทยา
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้และการนิเทศการสอน 2) ด้นกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การระบุความรู้ การพัฒนาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้ 3) ด้านปัจจัยที่สนับสนุนให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำกลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยี โครงสร้างและการวัดผลประสิทธิผลจากการนำรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไปใช้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบริหารคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ทีมครูจัดการความรู้งานวิชาการ (ครู KM ทีมงานวิชาการ) ในทุกขั้นตอน ผู้บริหารสนับสนุนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ครูนำการจัดการความรู้ไปพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และนักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงาน
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop a knowledge management model for academic administration in a basic education school using participatory action research. This research utilized the participatory action research (PAR) according to the action research spiral of Kemmis & Me Taggart (1988). Three administrators, 8 teachers, and 3 basic education commission school were the informats this study: Wattharausahavitayakal school. Data were collected by document analysis in-depth interview, and participation observation. They were analyzed by phenomenological.
The result of the study revealed as follows : A development of the knowledge management model for academic administration in basic education school by participatory action research consisted of 3 major components: 1) academic administration in basic education school consisted of developing the learning process. i.e. activities knowledge management planning, learning process management, and learning supervising. 2) knowledge management process consisted of knowledge identification, knowledge development, knowledge organization, knowledge access, knowledge creation, knowledge sharing, and learning. 3) knowledge management enablers consisted of leadership, strategy, culture, technology. Infrastructure, and measurements. The effective of the model management was that it can changed the participative management of the administrators, academic KM team teachers in every step. The administrators supported the knowledge sharing and using technology in learning and teaching. Teachers used knowledge management process to developing learning process and students were able to think, analyze, and synthesis and knowledge sharing in working.