ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (THE CAUSAL RELATIONSHIP OF FACTORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF HOMESCHOOL MANAGEMENT)

Authors

  • มณฑา จำปาเหลือง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาและนักวิชาการศึกษาทั้งในระดับเขตพื้นที่และระดับกระทรวงสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มครอบครัวที่จัดการศึกษา โดยครอบครัว สมาชิกบ้านเรียนและสมาชิกร่วมเรียนรู้ของสมาคมบ้านเรียนไทย จำนวน 444 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านความพร้อมของครอบครัว ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านแผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ปัจจัยด้านความร่วมมือและสนับสนุนจากภาครัฐ และประสิทธิผลการจัดการศึกษาโดยครอบครัว มีตัวแปรสังเกตได้ 19 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการหาค่าสถิติพื้นฐาน การตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากค่าที่คำนวณได้ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ = 199.30; ที่องศาอิสระ = 92; ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ = 2.1; ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน = 0.95; ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว = 0.91; ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ = .99; ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ = 0.05; ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.04; ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือ = 0.03; ตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองสามารถใช้อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิผลการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้ร้อยละ 81 รวม 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการผลิตผู้เรียน ความสามารถในการปรับตัวของพ่อแม่ และความพึงพอใจของพ่อแม่ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรประสิทธิผลการจัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านความพร้อมของครอบครัว 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) ปัจจัยด้านผู้เรียน 4) ปัจจัยด้านแผนการจัดการศึกษา และ 5) ปัจจัยด้านความร่วมมือแลการสนับสนุนจากภาครัฐ

Abstract

The purposes of this study were to develop and to validate the causal relationship of factors affecting the effectiveness of homeschool management. The sample consisted of educational administrators and academic groups in the Office of Educational Service Area and in the Ministry of Educational, family groups of homeschool, homeschool learning members, and the Thai Homeschool Association, totally 444. The variables consisted of the six latent variables, namely: readiness of family, motivation, students of homeschool, educational program, cooperation from the government, and homeschool effectiveness. Also, nineteen observable variables were also included. The instrument was a questionnaire constructed by the rescarcher. The data was collected by observation and an indepth interview. The SPSS program by means of descriptive statistics was used for analyzing the data. Finally, LISREL 8.8 student and LISREL 8.5 program were used to measure the causal relationship model of factors affecting the effectiveness of homeschool management. The research results indicated that the causal relationship of factors affecting the effectiveness of homeschool management was consistent with the empirical data. The validation of model was indicated by c2 = 199.30; df = 92; Relative – Chi-square = 2.1; GFI = 0.95; AGFI = 0.91; CFI = .99; RMSEA = 0.05; SRMR = 0.04; RMR = 0.03; The variables in the adjusted model accounted for 81 percent of the variance of the effectiveness homeschool management on ability of students  production, adaptability of parents and satisfaction of parents. The variables having statistically significantly direct and indirect effects on the effectiveness homeschool management were: 1) readiness of family, 2) motivation, 3) students of homeschool, 4) educational program of homeschool, and 5) cooperation from the government.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย