รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (A MODEL OF INTERNAL SUPERVISION IN BASIC EDUCATIONAL INSTITUTIONS)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 4 ขั้นตอน คือ
1) การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน
2) การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
4) การประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราดได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แบบสอบถาม ความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) แบบประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) แบบสอบถามการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานการประเมินประสิทธิภาพของคณะกรรมการมาตรฐานการประเมินทางการศึกษาโดยการประเมินหลังจากการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (One Group Posttest Only Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารการหาค่าดัชนีความสอดคล้องการหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 ด้านคือ
1) ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง
2) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงาน
3) ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ
4) ด้านการพัฒนาหลักสูตร และ
5) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ประกอบด้วย
1) การวางแผนร่วมกับครูในการให้ความช่วยเหลือ
2) การเข้าไปมีส่วนร่วมกับครูเพื่อช่วยเหลือ
3) การสรุปผลการช่วยเหลือและวางแผนตรวจสอบความช่วยเหลือร่วมกับครู
4) การวิเคราะห์ผลการช่วยเหลือร่วมกับครู
5) การสรุปและวิเคราะห์กระบวนการช่วยเหลือครูด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ประกอบด้วย
1) การพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์
2) การสร้างวินัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงาน
3) การกำหนดปัญหาและเป้าหมายการแก้ปัญหาร่วมกัน
4) การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
5) การสร้างแรงจูงใจเสริมแรงและสร้างขวัญกำลังใจด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย
1) การสำรวจความต้องการในการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2) การพัฒนาให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
3) การจัดกิจกรรมสัมมนาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครูด้านการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย
1) การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
2) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3) การวางแผนการดำเนินการใช้หลักสูตร
4) การดำเนินการบริหารหลักสูตร
5) การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
6) การสรุปผลการดำเนินการ
7) การปรับปรุง พัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรและด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย
1) การกำหนดเป้าหมายการวิจัย
2) การกำหนดวิธีการวิจัย
3) การรวบรวมข้อมูล
4) การวิเคราะห์ข้อมูล
5) การสรุปและเขียนรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
ABSTRACT
The objectives of this research were to study and develop a model of internal supervision in basic educational institutions. The research procedures consisted of 4 steps as follows: 1) To find basic needs in supervision of teachers; 2) To design a model of internal supervision in basic educational institutions; 3) To verify quality of model of internal supervision in basic educational institutions; and 4) To implement and present a model of internal supervision in basic educational institutions and evaluate the result. The sample was school principals and teachers under the Offices of Trat Educational Service Area selected by purposive sampling technique. Sources of data included: 1) Questionnatives for need of internal supervision; 2) Evaluation model of internal supervision in basic educational institutions; 3) Questionnatire for efficiency testing of internal supervision model in basic educational institutions. The experiment design was one group posttest only design. Data analysis was undertaken by means of document analysis, Items-Objective Congruence Index, and descriptive statistics.
The major findings were direct assistance, group development, professional development, curriculum development and action research. Direct assistance consisted of 1) planning with teachers; 2) participating with teachers; 3) collecting the results and support; 4) analysis the outcome of supporting; and 5) summarize the process of assistance. Group development consisted of 1) surveying teachers’ need of teaching techniques; 2) developing of child centered teaching technique; 3) seminar on the result of teaching; and 4) developing of teaching spirit. Curriculum development consisted of 1) preparing curriculum performance; 2) desinning school curriculum; 3) planning curriculum implementation; 4) curriculum administration; 5) supervising and evaluating; 6) summarizing curriculum administration; and 7) improving of curriculum administration. Action research consisted of 1) setting research objectives; 2) setting research methodology; 3) collecting data; 4) analyzing data; and 5) summarizing and writing a report.